รับสัญญาณภาพมาจากต่างประเทศ...เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในประเทศไทยหรือไม่???


การรับภาพและเสียนั้น หากที่จอเครื่องรับโทรทัศน์ไม่ปรากฏเครื่องหมาย “UBC” แสดงว่าเป็นการรับภาพและเสียงจากต้นกำเนิดโดยตรงคือจาก “ESPN”หรือ “STAR SPORTS” หรือ “CNN” และเป็นไปได้ว่าเป็นการรับภาพและเสียงจากประเทศอื่น จึงเจือสมกับทางนำสืบของจำเลยที่ 2 ที่ว่า จำเลยทั้งสองได้รับสิทธิการแพร่เสียงแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ช่อง “ESPN”ช่อง “STAR SPORTS” และช่อง “CNN” มาจากนายเลาว์บาร์กหมิงที่ประเทศมาเลเซียโดยจ่ายค่าตอบแทนให้นายเลาว์บาร์กหมิงจำนวน 3,598.20 ริงกิต หรือ 40,660 บาท สำหรับการรับสิทธิการแพร่เสียงแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ดังกล่าวในปี 2546 ที่เกิดเหตุจากพยานหลักฐานดังกล่าว กรณีย่อมมีเหตุผลให้เชื่อว่าจำเลยทั้งสองได้รับสิทธิการแพร่เสียงแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ช่อง “ESPN” ช่อง “STAR SPORTS” และช่อง “CNN” มาจากนายเลาว์บาร์กหมิงที่ประเทศมาเลเซีย

กรณีผู้ประกอบการเคเบิล TV ซึ่งทำการรับสัญญาภาพมาจากต่างประเทศ แล้วนำมาเผยแพร่ให้แก่สมาชิกในประเทศไทย โดยมีรช่องรายการในเคเบิลได้แก่ “ESPN” “STAR SPORTS” และ “CNN” ตรงกับช่องรายการที่ true visions” เป็นผู้ได้รับสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย การกระทำของเคเบิล TV ดังกล่าว เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 หรือไม่.....


            มาตรา ๒๙ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานแพร่เสียงแพร่ภาพอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราช บัญญัตินี้โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕ (๕) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
            (๑) จัดทำโสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
            (๒) แพร่เสียงแพร่ภาพซ้ำ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
            (๓) จัดให้ประชาชนฟังและหรือชมงานแพร่เสียงแพร่ภาพ โดยเรียกเก็บเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นในทางการค้า

            มาตรา ๖๙ ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามมาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๕๒ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
            ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


ปรากฏว่ากรณีนี้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 29 (2) ปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 400,000 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้บังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 และ 30 (ที่ถูก มาตรา 29) ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 ให้จ่ายค่าปรับฐานละเมิดลิขสิทธิ์ตามคำพิพากษากึ่งหนึ่งให้แก่โจทก์ร่วมที่ 3 หรือผู้เสียหายที่ 1 กับโจทก์ร่วมที่ 4 หรือผู้เสียหายที่ 2 และให้ริบของกลางทั้งหมด

แต่เมื่อมีการอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ศาลได้วินิจฉัยและวางแนวทางในเรื่องดังกล่าวไว้เป็นที่น่าสนใจและเป็นแนวทางการศึกษา ...ผมจึงคัดลอกและนำคำพิพากษาฉบับดังกล่าวมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  7429/2553

          โจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศภาคีในอนุสัญญากรุงเบิร์น กับเป็นประเทศภาคีในความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า อันเป็นอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ได้ทำและนำออกสู่สาธารณชนซึ่งรายการกีฬาทางโทรทัศน์ช่อง “ESPN” กับ “STAR SPORTS” และรายการข่าวทางโทรทัศน์ข่าว “CNN” ตามลำดับ โดยการแพร่เสียงแพร่ภาพทางโทรทัศน์ จึงเป็นผู้สร้างสรรค์ซึ่งมีลิขสิทธิ์ร่วมกับบริษัทยูบีซี (UBC) ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นทรูวิชันส์ (true visions) ทำ ความตกลงการมีสิทธิเด็ดขาดแต่ผู้เดียวในการให้บริการแพร่เสียงแพร่ภาพรายการ โทรทัศน์ช่องดังกล่าวแก่สมาชิกผู้รับบริการภายในเขตประเทศไทย แต่จำเลยทั้งสองได้รับสิทธิการแพร่เสียงแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ทั้ง 3 ช่องดังกล่าวมาจาก ล. ที่ประเทศมาเลเซีย โดยจ่ายค่าตอบแทนให้ ล. ทั้งปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 ด้วยว่า การรับภาพและเสียงนั้น หากที่จอเครื่องรับโทรทัศน์ไม่ปรากฏเครื่องหมาย “UBC” แสดงว่าเป็นการรับภาพและเสียงจากต้นกำเนิดโดยตรง กรณีมีเหตุผลให้เชื่อว่าจำเลยทั้งสองได้รับสิทธิการแพร่เสียงแพร่ภาพรายการช่องดังกล่าวมาจาก ล. ที่ประเทศมาเลเซีย ำเลยทั้งสองจึงมิได้กระทำการแพร่เสียงแพร่ภาพซ้ำแก่งานของโจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 ที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดและไม่เป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อ การค้าดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนปัญหาว่าจำเลยทั้งสองได้รับสิทธิการแพร่ภาพแพร่เสียงจาก ล. มาโดยชอบหรือไม่ ล. ได้รับมอบสิทธิจากโจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 ให้ทำการแพร่เสียงแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ช่องดังกล่าวแต่ผู้เดียวในประเทศ มาเลเซียและมีสิทธิอนุญาตช่วงให้จำเลยทั้งสองทำการแพร่เสียงแพร่ภาพซ้ำใน ประเทศไทยหรือไม่ เป็นเรื่องที่โจทก์ที่ 3 และที่ 4 อาจไปว่ากล่าวเอาแก่ ล. หรือไม่ต่อไป เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้อง ของกลางจึงไม่ใช่สิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดไม่อาจริบได้ ต้องคืนของกลางทั้งหมดแก่เจ้าของ

.............................

ดูฉบับเต็ม

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/781/982/original_7429.pdf?1326511878

 

หมายเลขบันทึก: 474601เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2012 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะอาจารย์อุดม

เพิ่งเห็นว่าอาจารย์เขียนblogน่ะค่ะ  อาจารย์สบายดีนะคะ

หวัดดีครับพี่...สบายดีครับ...ดีใจที่ได้เจอครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท