บันทึกการเรียนรู้วิชาสัมนากิจกรรมบำบัด วันที่ 12 มกราคม 2555


บันทึกการเรียนรู้วิชาสัมนากิจกรรมบำบัด วันที่ 12 มกราคม 2555

1. นักกิจกรรมบำบัดสามารถนำ Occupational adaptation model(OA) มาใช้ในการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยได้ โดยหลักการของ OA มี 3 หลักการที่สำคัญในการนำมาใช้ คือ

    - Real life situation(การฝึกผู้ป่วยในสถานการณ์ที่เหมือนสถานการณ์จริง) เช่น ผู้ป่วยที่มารับบริการทางกิจกรรมบำบัดต้องการกลับไปทำงานเย็บผ้าที่บ้าน นักกิจกรรมบำบัดก็จะให้ผู้ป่วยฝึกเย็บผ้าที่เหมือนกับการเย็บที่บ้าน แต่อาจฝึกอยู่ในโรงพยาบาลก็ได้

    - Learning process(กระบวนการการเรียนรู้) นักกิจกรรมบำบัดจะจัดสถานการณ์ในการฝึก เพื่อให้ผู้ป่วยได้เกิดการกระบวนการการเรียนรู้

    - Self-adaptation(การปรับเปลี่ยนด้วยตนเอง) โดยตามความเข้าใจของดิฉันคิดว่า จะเป็นการที่นักกิจกรรมบำบัดจัดกิจกรรม เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดการปรับเปลี่ยนด้วยตนเอง ซึ่งการปรับเปลี่ยนด้วยตนเองจะทำให้ผู้ป่วยจำได้ดีกว่านักกิจกรรมบำบัดปรับเปลี่ยนให้(ตนปรับเปลี่ยนตนเองดีที่สุด)

2. กลุ่มการออกกำลังกายระดับกลาง(moderate exercise) คือ กลุ่มการออกกำลังกายที่มีการออกกำลังกาย 5 วัน/สัปดาห์ โดยจะได้ปริมาณออกซิเจนจากการออกกำลังกายในระดับนี้ประมาณ 50-70 %

3. Mental practice : เป็นการฝึกให้ผู้ป่วยคิดไปเรื่อยๆ จากการตั้งคำถามในแต่ละสถานการณ์ของนักกิจกรรมบำบัด รวมไปจนถึงเทคนิคการ Relaxation(การผ่อนคลาย) เช่น อาจเป็นการเล่าเรื่องให้ผู้ป่วยฟังเรื่องหนึ่ง แล้วถามผู้ป่วยว่าถ้าอยู่ในสถานการณ์นั้นจะทำอย่างไร มีวิธีใดในการแก้ปัญหา โดยถ้าผู้ป่วยตอบคำถามในเชิงลบ นักกิจกรรมบำบัดจะทำการปรับทัศนคติของผู้ป่วยให้เป็นในเชิงบวก โดยจะใช้วิธีการที่หลากหลายมาปรับทัศนคติ เป็นต้น ระยะเวลาในการทำกิจกรรม Mental practice ควรอยู่ที่ประมาณ 60 นาที

4. Coban wrapping เป็นเทคนิคการลดบวมที่คล้ายกับเทคนิค string wrapping คือ เป็นเทคนิคการลดบวมที่จะใช้เชือกที่เป็นยางยืดมาพันบริเวณที่บวม แต่ string wrapping จะเป็นการใช้เชือกธรรมดามาพันบริเวณที่บวม(เชือกที่ไม่เป็นยางยืด)

5. Return to work = Work training หมายความว่า ถ้าเราต้องการกลับไปทำงานใดเราก็ต้องฝึกงานนั้น (ถ้าผู้ป่วยต้องการกลับไปทำงานใดนักกิจกรรมบำบัดก็ต้องฝึกงานนั้นให้ผู้ป่วย)

6. Spritual(จิตวิญญาณ) ของผู้ป่วย คือ Well being(คุณภาพชีวิตที่ดี) หมายความว่า สิ่งที่ผู้ป่วยต้องการจริงๆ จากการมารักษา คือ การมีคุณภาพชีวิตที่ดีถึงแม้ว่าจะยังไม่หายจากโรค แต่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

7. การสร้างแรงจูงใจ(Motivation) จะมี 2 หลัก คือ

    - Motivation interview : การสัมภาษณ์เพื่อดูความต้องการ/แรงจูงใจของผู้ป่วย

    - Motivation challenge : การให้การรักษาที่คนไข้เกิดความท้าทาย ไม่ยากเกินไป/ง่ายเกินไป จนคนไข้ไม่อยากที่จะร่วมกิจกรรมการรักษา

หมายเลขบันทึก: 474573เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2012 20:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 11:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท