นักวิทยาศาสตร์ที่โลก(ทำเป็น)ลืม(4) : Rhazes


أبو بكر محمد بن يحيى بن زكريا الرازي

อะบูบักรฺ มุฮำมัด อิบนุยะห์ยา อิบนุซาการียา อัล-รอซี

Abu Bakr Muhammad ibn Zakariya ar-Razi (ฮ.ศ.250-311 : ค.ศ.864-923) ชาวตะวันตกรู้จักในชื่อ ราเซศ(Rhazes) หรือ รอซีซ(Rosis)

อะบูบักรฺ อัรรอซี เกิดเมื่อปี ฮ.ศ.250(ค.ศ. 864) และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 ซะอฺบาน ฮ.ศ. 311 (19 พฤศจิกายน ค.ศ. 923) ที่เมืองอัลไรย์ ประเทศ เปอเซีย (ใกล้กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่านในปัจจุบัน) อัรรอซี เป็นผู้มีความชำนาญในหลายสาขาวิชา ได้ศึกษาทางคณิตศาสตร์ การแพทย์ ปรัชญา ดาราศาสตร์ เคมี ตรรกวิทยา และวรรณกรรม Sigrid Hunke (1913 -1999) นักบูรพาคดีชาวเยอรมันได้เขียนถึงอัรรอซีในหนังสือ "Allah's sun over the Occident" ว่า เป็นแพทย์ด้านมนุษย์ธรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

หลังจากอัรรอซีได้ศึกษาทางการแพทย์ที่แบกแดดเขาก็ได้ย้ายกลับไปยังเมืองอัลไรย์ และเสนอให้ผู้ปกครองเมืองอัลไรย์ มันศูร อิบนุอิสฮาก ก่อตั้งสำนักงานบีมาร์สถาน(สถานที่รักษาคนไข้) และได้เขียนหนังสือแก่ผู้ครองเมืองสองเรื่อง คือ อัลมันซูรีฟีฏฏิบ(อัลมันซูรทางการแพทย์المنصوري في الطب : ) และอัฏฏิบอัรรูฮานี(แพทย์ทางจิตวิญญาณ : الطب الروحي) หนังสือสองเล่มนี้เกี่ยวเนื่องกัน เล่มแรกเป็นหนังสือเกี่ยวกับการรักษาโรคทางร่างกาย ส่วนเล่มที่สองเป็นการรักษาทางจิต อัรรอซีมีชื่อเสียงมากที่เมืองอัลไรย์ และได้ถูกเชิญไปยังแบกแดดอีกครั้งและได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าที่ศูนย์บีมาร์สถานอัลมุอฺตัดดีย์ เป็นศูนย์ที่ตั้งขึ้นใหม่โดยเคาะลีฟะฮฺ มุอฺตัดดิดบิลลาฮฺ อัรรอซี มีความสามารถหลายภาษา นอกจากภาษาอาหรับ เขามีความสามารถทางภาษาเปอเซีย ภาษายูนาน(กรีก) และภาษาฮินดิ(อินเดีย) เขาได้เขียนหนังสือและบทความมากกว่า 184 เรื่องในทุกสาขาวิชา ในทางการแพทย์เขามีความชำนาญในหลายสาขา มีความชำนาญทางด้านโรคเกี่ยวกับเด็ก จนได้รับสมยานามว่าเป็นบิดาแห่งหมอเด็ก และเขาก็ได้รับชื่อว่าเป็นผู้นำทางด้านโรคผิวหนังและสายตา อัรรอซี สนใจโรคไข้ทรพิษ(Smallpox) ตำราเขาถูกแปลเป็นภาษายุโรปหลายภาษา

(ภาพจินตนาการ อัรรอซีกำลังรักษาเด็ก)

หนังสือและตำราที่อัรรอซีแต่งบางเล่ม

  • كتاب الحادي في الطب، تكلم في عن علاج الأمراض وحفظ الصحة

  • كتاب المنصور وهوعشر مجلدات كتبه للمنصور بين الحق في العلوم الطبية

  • الطب الروماني كتبه في بغداد مدينة السلام

  • سمع الكيان وهو مدخل إلى العلم الطبيعي

  • كتاب هيئة العالم بين فيه أن الأرض كردية

  • كتاب الخريف والربيع بين فيه أسباب العلة

  • مقالة في العلة التي من أجلها يعرف الزكام في فصل الربيع عن شم الورود والأزهار

  • كتاب الأسرار في الصنعة

  • كتاب الحمية بين فيه أن الحمية المفرطة، والمبادرة إلى الأدوية والتقليل من الأغذية لا يحفظ الصحة بل يجل الأمراض

  • كتاب سرة الحكماء

  • كتاب في الحصى المتولد في الكلى والمثانة

  • كتاب طب الفقراء

  • كتاب الطب السلوكي

  • الطين له منافع

  • كتاب في الجدري

  • كتاب محبة الطبيب

  -------------------------------------------------------

บรรณานุกรม محمو عريب جودة, عباقرة علماء الحضارة العربية والاسلامية في العلوم الطبية والطب ، مكتبة القرآن : القاهرة .

عامر النجار ، تاريخ الطب في الدولة الاسلامية ، دار المعارف . ١٩٨٧

http://www.alshindagah.com/mayjune2004/shindagah_arabic_58/abu_bakar_alrazi.htm

หมายเลขบันทึก: 474390เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2012 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

ผมอยากเห็นการรวมเล่ม จังเลยครับ..

น่าสนใจมากๆ.และจะติดตามอ่านครับ

ขอบพระคุณมากๆ สำหรับการเปิดมุมมองนะครับ

รวมเล่มแล้วครับ

และเล่มก่อนหน้านี้ .. ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นบันทึกที่เคยลงใน gotoknow.org ในนาม ibm ครูปอเนาะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท