ขุดคลอง"บาราย"กันน้ำท่วมกทม. (อีกครั้ง)


เรียกว่าได้ประโยชน์หลายต่อมาก เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในตัวเองทั้งสิ้น ..แล้วได้การป้องกันน้ำท่วมมาเป็นของแถมฟรี

วิธีแก้น้ำท่วมกทม. (และ เมืองอื่นๆ) แบบราคาถูก

 

ผมได้เคยเสนอวิธีนี้ไปแล้ว แต่คราวนี้มาเสริมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น  วิธีการคือ การขุดคลองแบบ “บาราย” คือ ขุดดินแล้วเอาดินมาถมเป็นคันคูสูงสองข้าง (ได้สองต่อคือความลึกและความสูง) อาจขุดลึกสัก 10 เมตร กว่าง 100 เมตร คันดินสูงอีก 5 เมตร  ดินละแวกนี้แม้จะเป็นดินอ่อนแต่มีเทคโนโลยีที่สามารถทำให้เป็นดินแข็งได้โดยไม่ยากนัก

 

การยกคันดินสูงแบบนี้จะทำให้เกิดหัวน้ำ (head) ที่สูงทำให้ช่วยให้เกิดการไหลที่รวดเร็ว

ที่ต้นน้ำตรงที่แยกจากเจ้าพระยา (ซึ่งจะแยกตรงไหนก็ต้องมาว่ากันอีกที)  ให้มีประตูน้ำและโรงสูบน้ำขนาดใหญ่ กำลังปั๊มคำนวณแล้วน่าจะประมาณ  150 เมกะวัตต์  เพื่อสูบน้ำให้ได้ 2000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อให้ได้สูงหัวน้ำ 5 เมตร  ทั้งนี้ต้องมีโรงไฟฟ้าเพื่อการนี้โดยเฉพาะ ซึ่งโรงไฟฟ้านี้จะมีราคาตกประมาณ 5,000 ล้านบาท แต่ทว่า ในยามที่น้ำไม่ท่วมเราก็สามารถขายไฟให้กฟผ. ได้ หรือขายให้กับอุตสาหกรรมรอบๆ ได้ ซึ่งในตอนน้ำท่วมโรงงานพวกนี้ก็ต้องหยุดทำงานอยู่แล้ว  (แต่พอมีระบบนี้น้ำก็ไม่ท่วม พวกเขาก็ไม่ต้องหยุด..ฮา แบบนี้เราขอร้องให้เขาหยุดก็ได้ เพราะถ้าเขาไม่หยุด น้ำจะท่วม... ฮาฮา )

 

อาจสร้างเฉพาะฝั่งตะวันตกที่มีค่าเวนคืนที่ดินต่ำกว่าฝั่งตะวันออก แต่แม้ฝั่งตะวันออกก็ทำได้ ถ้าเรามีการบริหารทีดี เช่น รัฐบาลรับประกันว่าค่าที่ดินริมคลองจะสูงขึ้นมาก (อย่างน้อยสองเท่า) ดังนั้นให้เวนคืนฟรี สำหรับคนมีที่น้อย ก็ให้แบ่งที่ดินคนที่มีมากมาให้ตามสัดส่วน (หรือรับประกันว่าจะได้ค่าขายที่ดินในอนาคตที่มีการขายที่)   ...ค่าทีดินจะสูงขึ้นเพราะจะมีถนนตัดผ่านคู่ขนานกับคลอง (โดยอาจใช้ดินคันคูนั่นแหละทำถนน  หรืออาจใช้ดินแข็งจากที่อื่นก็สุดแล้วแต่)  ...ซึ่งจะทำให้มีทั้งถนนและลำน้ำ เหมาะสำหรับสร้างโรงงานอุตสาหกรรม หรือแม้แต่บ้านจัดสรร อีกทั้งการเลี้ยงปลาในกระชัง การกีฬาทางน้ำ จะตามมา ...อย่าลืมทำสวนสาธารณะริมคลองบนคูน้ำด้วยนะครับ  เรียกว่ารายได้เพิ่มมหาศาลสำหรับคนอยู่ริมคลองนี้  ดังนั้น ไม่ต้องเสียเงินค่าเวนคืนที่ดินแต่ประการใด

 

ตกลงเราจะเสียแต่ค่าขุดคลอง ซึ่งผมได้เสนอวิธีขุดด้วยรถไฟไว้แล้วในบทความก่อน (หัวผาลขุดดินแบบนี้ผมออกแบบไว้แล้ว ทดลองในเสกลเล็ก เอาไปขุดหัวมันสำปะหลังได้ดีมาก คือ ใช้แรงน้อย หัวมันไม่หัก ไม่หลุด เหมือนหัวผาลแบบเก่า)

 

ส่วนค่าบำรุงรักษาเช่นขุดลอกคลองสักปีละครั้ง ก็ไม่ยาก ผมเสนอให้ใช้เรือสองลำ ลากจูงแขนหัวสูบแบบขวางเต็มลำน้ำ ทำการสูบดูดดินโคลน ปีละครั้ง  เวลาที่เหลือ เรือสองลำนี้ก็เอาไว้เป็นเรือนำเที่ยว ล่องไปตามลำคลอง เป็นภัตตาคารลอยน้ำก็ได้ หรือเอาไว้ขนสินค้าไปออกท่าเรือ โดยที่รถบรรทุกสินค้านั้นห้ามวิ่งเข้ามาชั้นใน แต่ให้เอาสินค้ามาลงเรือตรงบริเวณแถวๆ โรงสูบน้ำที่หัวคลองนั่นแหละ

 

การขุดคลองยาว 100 กม. แบบนี้ราคาพร้อมโรงไฟฟ้าไม่น่าเกิน 50,000 ล้านบาท แถมได้ประโยชน์อื่นๆ เพิ่มเติมมามากหลาย  กล่าวคือในยามปกติที่น้ำไม่ท่วม ก็สามารถใช้เป็นระบบชลประทานเกษตร และการป้อนโรงงานอุตสาหกรรมริมคลอง  ยังการประมง  การท่องเที่ยว การคมนาคมทางน้ำ และทางบก (ถนนริมคลอง)  ที่จะมาพร้อมกับลำคลอง

 

...เรียกว่าได้ประโยชน์หลายต่อมาก  เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในตัวเองทั้งสิ้น ..แล้วได้การป้องกันน้ำท่วมมาเป็นของแถมฟรี

 

ผิดกับการขุดอุโมงค์น้ำที่ทางสภาวิศวกรเสนอ ซึ่งผมว่านอกจากจะราคาแพงแล้ว ยังไม่มีอรรถประโยชน์อื่นเพิ่มเติม  ยังการบำรุงรักษาอุโมงค์นั้นก็ใช่ว่าจะถูกกว่าการขุดลอกคลองนะครับ

 

...คนถางทาง (๑๐ มกราคม ๒๕๕๕)

 

 

หมายเลขบันทึก: 474205เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2012 06:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2012 00:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ เห็นด้วยว่า บาราย ใช้งบน้อยกว่า อย่างปราสาทอิทธิพลเขมรส่วนใหญ่ จะมีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนคือมี บาราย ล้อมรอบ ถือเป็นนวตกรรม เรื่องการจัดการน้ำในสมัยอดีต ที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนในชุมชนละแวกนั้นให้อยู่รอด แม้ว่าความเจริญรุ่งเรืองของปราสาทสถานอย่าง นครวัตจะค่อยๆ เลือนหายไปพร้อมกับ การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของผู้คนในชุมชน หากแต่ บารายก็ยังอยู่ยั้งยืนยง จวบจนปัจจุบัน

ก็ไม่เข้าใจว่า เพราะเหตุใดเค้าจึง ยันจะทำอุโมงค์ เพราะไม่รู้ว่าจะมีวิธีการอื่นที่ดีกว่า หรือเพราะไม่ได้ค้นหาเป้าหมายที่สูงสุดเพื่อส่วนรวม หรือเพราะรีเบท ตอบแทนคะ ? … มีหลายเรื่อง หลายราว ที่ชาวบ้านอย่างเรา ๆ ไม่เข้าใจพวกอยู่บนหอคอยงาช้างเลยค่ะ 

แหม..คุณpoo ปราสาทอิทธิพล"เขมร" มันแทงใจผม ที่ถูกต้องเขียนว่า ปราสาทอิทธิพล"ขอม" ครับ เพราะเขมรไม่ใช่ขอม ดังที่ผมได้พยายามเขียนอธิบายไว้มากแล้ว อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท