คำถามของ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด: เสนอความคิด ถูก-ผิด เป็นอีกเรื่องนะครับ


การศึกษาที่ได้ผล ต้องมีความสุขในชีวิต“เก่ง ดี มีความสุข” .... ดีแล้ว.... น่าจะนำมาเรียงใหม่เป็น “สุข ดี มีความสามารถ” น่าจะดีกว่านะ !....อันนี้ก็ยิ่ง... แต่ถ้าจะให้ดีจริงๆ... ต้อง "รู้จักตนเอง รู้จักธรรมชาติ ฉลาดเรียนรู้" .....

ท่าน ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด ได้ตั้งคำถามที่นักปฏิบัต นักปฏิวัติควรตอบ ถึงแม้ว่าท่านจะไม่ต้องการคำตอบไว้ที่นี่ ผมขอเสนอคำตอบตามภูมิและความเห็นของผมในขณะนี้ไว้ดังนี้ครับ ถูกหรือผิดอย่างไร จะตามไปอ่านในบันทึกของทุกท่านนะครับ

 

ทำไมเด็กจึงไม่ต้องการจะมาโรงเรียน ? เพราะที่โรงเรียน จิตใจและสมองของเขาไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่ที่จำเป็นต่อเขามากนัก

ข้อผิดพลาดในระบบการศึกษาไทยนั้นอยู่ที่ไหน ? ..อยู่ที่เราไม่รู้จักตนเอง ไม่รู้จักบริบทของตนเอง เราจึงไม่ภูมิใจในตนเอง ทำให้ดูแคลนและทิ้งวิธีการเรียนรู้ที่ควรจะถูกปรับสู่สิ่งใหม่ด้วยใจที่เปิดรับ แต่กลับเหมือนไปจับหมวกใบใหญ่มาสวม เลยต้องเดินต้วมเตี้ยมเพราะเตรียมแต่จะจับหมวกที่บังตา..

แล้วเราจะแก้ปัญหาที่ว่านี้ได้อย่างไร ? ....แก้ที่ฐานใจ ฐานที่เราเด่น ฐานที่เราเป็น และฐานที่เรามี.... พัฒนการศึกษาบนฐานปัญหาหรือโครงงานซึ่งอยู่บนฐานวิถีชีวิต วัฒนธรรม และจุดเด่นด้านทรัพยากรที่เรามี

เป้าหมายที่แท้จริงของการศึกษานั้นอยู่ที่ไหน ? ....อยู่ที่การเสียสละ ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน เราต้องฝึกฝนคนของเราให้รู้จักการให้ ซึ่งเราเด่นอยู่แล้ว ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยยกระดับจิตวิญญาณให้สูงขึ้นหรือไม่ลด เพื่อผู้นำของเราจะหมดความเห็นแก่ตัว เลิกเมามัวอำนาจและเงินตรา.....

ครูจะดึงศักยภาพในตัวลูกศิษย์ออกมาได้ไหม ? ....ได้แน่นอนถ้าครูถอดถอนมานะอัตตาของตน และฝึกฝนตนจนเป็น "คนเป็นครู" หรือ ครูเพื่อศิษย์.....

เคยทำอะไรที่ทำให้ผู้เรียนอยากจะเรียนบ้างไหม ? .....มี แต่ผิดหลัก เพราะส่วนใหญ่จะหนัก ไปทางเอาเงิน ตำแหน่ง กิน กาม เกียรติ มาล่อ เช่น โตขึ้นอยากให้ลูกเรียนหมอ จะได้มีเงินเยอะแบบจ่ายไม่ต้องทอน แทนที่จะสอนให้เป็นหมอเพื่อช่วยเหลือคน....

เคยใช้ประโยชน์จากสิ่งที่อยู่รอบข้างบ้างไหม ? ....มี แต่จำเป็นต้องให้น้อย เพราะต้องคอยแต่เตรียมเด็กให้สอบผ่าน โอเน็ต เอเน็ต ไม่ประเมินทักษะ แต่คอยเพียงจะประเมินความรู้....

เคยสอนให้เด็กเรียนรู้ในชีวิตจริงหรือเปล่า ?...เพราะไม่รู้จักตน จึงไม่รู้จักคิด แล้วจะรู้จักชีวิตได้อย่างไร อย่าไปโทษใคร เพราะผู้หลักผู้ใหญ่ ก็ยังหลับไหลอยู่ในกระแส....

สอนไปเพื่อให้ทำข้อสอบได้จริงหรือ..?... ส่วนใหญ่เป็นแบบนี้จริงแต่ต้องติวพอสมควร..หากจะเปลี่ยนทิศทางห้วขบวนต้องเปลี่ยนหรือเพิ่มวิธีประเมิน..

การสอบนั้นไม่ใช่ "จุดหมาย" ... ตอนนี้หลักสูตรและสิ่งที่เป็นอยู่ ทำให้ทุกคนรู้และเข้าใจว่า แม้มันไม่ใช่จุดหมาย แต่มันคือทาง ที่จะผ่านไปยัง "ปลายยอด" ของ อำนาจ เงิน หน้าตา และวาสนา ที่จะเป็น "เจ้าคน นายคน"...

การสอบเปรียบได้กับ “นิ้วที่ใช้ชี้ดวงจันทร์” เพราะดันไปติดอยู่กับ “นิ้วที่ใช้ชี้”...ไม่ใช่ดูดีๆ........ การสอบในปัจจุบัน ถ้าให้ว่ากันตรงๆ คือ "นิ้วที่ชี้ไปที่ดวงดาว" ไกลกว่าดวงจันทร์เหลือเกิน และมีหลายดวง ทำให้ชี้มั่วไปหมด

การศึกษาที่ได้ผล ต้องมีความสุขในชีวิต“เก่ง ดี มีความสุข” .... ดีแล้ว....

น่าจะนำมาเรียงใหม่เป็น “สุข ดี มีความสามารถ” น่าจะดีกว่านะ !....อันนี้ก็ดียิ่ง...

แต่ถ้าจะให้ดีจริงๆ... ต้อง "รู้จักตนเอง รู้จักธรรมชาติ ฉลาดเรียนรู้" .....

หมายเลขบันทึก: 474199เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2012 23:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ท่าน (อาจารย์) ฤทธิไกร ตอบได้ "ถึงใจ" "ถึงกึ๋น" ดีจริงๆ ครับ . . โดนครับโดน . .

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท