เครือข่ายแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู 5


โรงพยาบาลแม่ลาว ตัวอย่างดีๆของการฟื้นฟูสุขภาพแบบองค์รวม

ดูงานที่โรงพยาบาลแม่ลาว จังหวัดเชียงราย

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2554 ทางราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูได้สัญจรเยี่ยมแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูที่จังหวัดเชียงราย 2 แห่งคือโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์และโรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร แต่ที่ได้ประโยชน์โดยไม่คาดคิดคือมีโอกาสได้ไปดูงานที่โรงพยาบาลแม่ลาวเพิ่มจากแผนที่วางไว้ ต้องขอขอบคุณคุณหมอพัชรีที่แนะนำ

ที่โรงพยาบาลแม่ลาวถือเป็นรูปแบบตัวอย่างในการทำ sub-acute care ที่นี่เป็นโรงพยาบาล 30 เตียงที่รับฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต โดยคุณหมอเกียรติชาย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลซึ่งจบแพทย์ทั่วไปแต่ไปเรียนฝังเข็มที่กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำศูนย์ฟื้นฟูครบวงจร มีพยาบาล นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด แพทย์แผนจีนที่เป็นคนท้องถิ่นได้ทุนไปเรียนที่เซี่ยงไฮ้ ทำให้ฟื้นฟูผู้ป่วยได้ในระดับหนึ่ง คุณหมอพัชรินทร์ที่เป็นแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูประจำโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราห์ก็มาช่วยเป็นพี่เลี้ยงในเรื่องการอบรมบ้าง เยี่ยมบ้านบ้าง

ที่นี่ยังประสานงานกับองค์กรท้องถิ่นทำเป็นโครงการมิตรภาพบำบัด ที่มีอสม.มาช่วยดูแลชุมชน เยี่ยมบ้าน อาสาฟื้นฟูที่บ้าน คิดนวัตกรรมพื้นบ้านเช่นที่คล้องแขนขาออกกำลังกาย pamperse recycle กางเกงสำหรับขับถ่ายโดยสะดวก นอกจากนี้ยังมีชมรมผู้พิการที่เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้พิการในชุมชนร่วมกัน ทางโรงพยาบาลแม่ลาวก็ช่วยจัดพื้นที่ชมรมผู้พิการและจิตอาสาได้ทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องได้

ถือได้ว่าที่โรงพยาบาลแม่ลาวเป็น best practice ของ sub-acute care ระดับชุมชนได้ดีทีเดียว ภาพความสำเร็จแบบนี้ จะต้องประกอบไปด้วย

1. ผู้บริหารหรือผู้อำนวยการต้องเป็นผู้นำทางด้านนี้ มี rehab mind และ holistic care mind มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ที่สำคัญต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกล และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง คุณหมอเกียรติชายมีครบหมด

2. ชุมชนมีส่วนร่วม

3. มีจิตอาสา

4. ต้องสร้างเครือข่ายเป็นรูปธรรม เข้าถึงข้อมูลได้ทุกระดับ

ดีใจมากที่ได้มาเห็นผลงานที่โรงพยาบาลแม่ลาว ได้เรียนรู้ในสิ่งที่คิดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ จะนำรูปแบบดีๆที่นี่ไปถ่ายทอดต่อ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูควรมาเรียนรู้เป็นกรณีศึกษา เพื่อไปพัฒนางานประจำของตนเอง แพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูก็ควรได้มาศึกษาเรียนต้นแบบดีๆแบบนี้ ที่หาเรียนไม่ได้ในโรงเรียนแพทย์ ที่แน่ได้แนวคิดในการทำเครือข่ายแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

หมายเลขบันทึก: 473097เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2011 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมก็ตามไปดู มาแล้ว เป็นของจริงครับ

คนแม่ลาว โดยรวมแล้ว โชคดีมากๆ พลอยไปเกิดอานิสงค์ แก่คนทั้งจังหวัดเชียงราย

ว่ากันว่า ได้หมอดี เป็นศรีบ้านศรีเมือง ทำให้ ทีมงานสร้างชีวิตชีวา แก่ผู้ป่วยอย่างไม่สิ้นสุด

ผอ. มีแนวคิด แต่ทำเองได้ไม่หมด ดังนั้น ทีมคณะเจ้าหน้าที่ ก็ยอดเยี่ยม ที่รับเอาแนวคิด ผอ. มาเขย่าวงการ ท้าทาย ระบบสุขาพ นำหน้าระบบ

เท่าที่ทราบว่า กุศลผลบุญ ปัจจุบันกรรม ของ ผอ.เกียรติชาย ทำเรื่องเดียว เรื่องเด็ด หลังจากนั้น บุญ และ ทิพยจักขุญาณ ก็กระโจนใส่ ทีมงาน รพ แม่ลาว

คือ การตัดสินใจ จัดผ่าตัดต้อกระจก ฟรี ร่วมกับ ทีมจักษุแพทย์จิตอาสา โดยเริ่มต้น ขอเรียนรู้ จาก รพ แม่อาย สมัยหมอไกร ดาบธรรม เป็นผอ. แม่อาย แม่อาย หยุดไปแ้ว แต่ ทีม รพ.แม่ลาว จัดครั้งที่จะถึง 18 กพ 55 เป็น ครั้งที่ 19

จนลงทุน ซื้อ ครุัภัณฑ์ ทางจักษุ ทั้งคัดกรอง ทั้งรักษา โรคทางตา อื่นๆ เรียกว่า มีภาคีพันธมิตร จักษุแพทย์

ไปๆ มาๆ ก็ให้บริการผป. ต่างอำเภอ ด้วย

ผลบุญ ของ การช่วยรักษา สายตา ให้ ผป.จำนวนมหาศาล วิสัยทัศน์ อันง่ายๆ แต่ยิ่งใหญ่ ก็บังเกิด ขึ้น

ท่านสอนผม ทำงาน อย่ากังวลเรื่อง ขาดทุน หากทำแล้วได้ผลคุ้มค่า ขาดทุนเงินทอง เรื่องเล็ก

ท่านว่าจ้าง รถ ในแต่ละหมู่บ้าน รับคนป่วยในหมู่บ้าน มาส่งกายภาพบำบัด ที่ รพ. แทนการให้ ผป. และญาติ ต่างคนต่างมากันเอง

รพ.จ่ายให้แบบเหมา เข่ง น้อยกว่า ที่ผป. แต่ละคนจ่าย กันคนละที logistic mindset

การจ้าง จนท . ก็เลือกคนใหม่ ให้ตรงกับงาน คลินิคผป. เอดส์ ก็ต้องได้ ผู้ติดเชื้อ เป็นพนักงาน

คลินิค ฟืนฟู สมรรถภาพ ก็ต้องเป็นผู้สูญเสีย สมรรถภาพ มาเป็นพนักงาน จะมีหัวอกหัวใจ สงเคราะห์ผู้อื่น

คุณหมอวีรพัฒน์คะ ทางใต้มีตัวอย่างดีๆ คล้ายๆแบบนี้ให้ได้เรียนรู้บ้างหรือไม่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท