“เล่น” ไม่ใช่เรื่องไร้สาระ คือความเข้าใจที่ถูกต้อง


“เล่น” คือ กิจกรรมที่ทำเพื่อความสนุกสนาน เช่น เดินเล่น เที่ยวเล่น ด้านหนึ่ง “เล่น” หมายถึงกิจกรรมที่เอาจริงเอาจัง ทุ่มเท เอาใจใส่เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ รอบรู้ เช่น นักเล่นปืน นักเล่นกล้วยไม้ นักเล่นพระเครื่อง

          ทุกคนมักจะได้ยินคำกล่าวว่า “ทำอะไรเล่นๆ มักจะได้เล่นๆ” เสมอ อันเป็นคำกล่าวตำหนิในทางที่ไม่ดี ซึ่งคำว่า “เล่น” ในการรับรู้ของคนทั่วไป โดยส่วนใหญ่เป็นความหมายในทางลบ คือมีความหมายในทางที่ไม่ดี เช่น ไม่ตั้งใจทำงาน ไม่เอาใจใส่ ไม่ให้ความสำคัญ ไร้สาระ เป็นต้น

          วันนี้เป็นวันที่ผมว่างและได้หยิบเอาหนังสื่อที่เต็มไปด้วยฝุ่นมาปัดฝุ่น และเปิดดูข้างในซึ่งมีเนื้อหาทางด้านคติชนวิทยา การเปิดครั้งได้พบว่าในทางคติชนมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความคิดที่เป็นสากลอยู่ประการหนึ่ง คือเรื่องของ “คู่ตรงกันข้าม” (binary opposition) ของ F.de Saussure ที่มองว่าทุกสิ่งมีลักษณะของความเป็นคู่ตรงข้ามเสมอ 

          คำว่า “เล่น” จึงน่าจะมีความหมายในลักษณะของคู่ตรงข้ามเช่นเดียวกัน กล่าวคือ ความหมายในทางลบ “เล่น” คือ กิจกรรมที่ทำเพื่อความสนุกสนาน เช่น เดินเล่น เที่ยวเล่น แต่ในขณะอีกด้านหนึ่งของคำว่า “เล่น” ยังมีความหมายถึงกิจกรรมที่เอาจริงเอาจัง ทุ่มเท เอาใจใส่เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ รอบรู้ เช่น นักเล่นปืน นักเล่นกล้วยไม้ นักเล่นพระเครื่อง เป็นต้น

          ผมเคยจำได้ว่าเคยพบในตำราเล่มหนึ่งภายในห้องพักเล็กๆ ขอมผม ผมได้หยิบมาหลายเล่ม และก็พบเล่มที่ต้องการ จากการศึกษาเพิ่มเติมหนังสือ “สื่อบันเทิง : อำนาจแห่งความไร้สาระ” ของอาจารย์กาญจนา  แก้วเทพและคณะ ในหน้า ๑๒ อาจารย์ได้อ้างถึงงานของปริตา ที่เสนอการเล่นในวัฒนธรรมไทย ๔ ประเภทคือ การเล่นของเด็ก การเล่นเกมและกีฬา การเล่นเชิงพิธีกรรมหรือการแสดง และการเล่นในสำนวนภาษา ซึ่งการเล่นแต่ละประเภทมีลักษณะเด่น ๆ เป็นองค์ประกอบดังนี้ เป็นกิจกรรมที่กระทำเพื่อความสนุกสนาน การสมมติไม่เอาจริงเอาจัง การกระทำด้วยความรู้สึกดึงดูดด้วยความลุ่มหลง และการมีความเชี่ยวชาญหรือชั้นเชิงในสิ่งที่ทำ

          ด้วยเหตุนี้การกระทำที่มีคำว่า “เล่น” ประกอบอยู่จึงไม่ใช่สิ่งที่ไร้สาระ สิ่งที่ทำโดยไม่ตั้งใจ สิ่งที่ไม่มีคุณค่า สิ่งที่ไม่มีประโยชน์ เพราะการ “เล่น” บางครั้งมันคือการเอาจริง การทุ่มเท และการเอาใจใส่

หมายเลขบันทึก: 472600เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2011 21:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท