บันทึกประสบการณ์: ฮีโมโกลบินผิดปกติชนิด Lepore-Hollandia


เรื่องนี้เคยนำเสนอในงานประชุมวิชาการคณะแพทยศาสตร์ ปี 2552

ช่วงที่จัดเก็บรูปโครมาโตแกรมของเคสฮีโมโกลบินเอช ที่เตรียมไว้เพื่อลงในสองบันทึกที่ผ่านมา ทำให้ได้พบรูปโครมาโตแกรมของฮีโมโกลบินผิดปกติชนิด Lepore-Hollandia ที่พบไม่บ่อยนักในประเทศไทย  ที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์เราพบเพียง 2 รายเท่านั้นในรอบห้าปีที่ผ่านมา และทั้งสองครั้งที่ตรวจพบได้ก็เกือบจะรายงานผลผิดพลาดเป็นฮีโมโกลบินE ที่เราพบได้บ่อยมากจนคุ้นเคย ชนิดที่ว่าปรายตามองก็อ่านผลได้แล้ว เนื่องจากลักษณะโครมาโตแกรมมีความคล้ายคลึงกัน 

สำหรับรายละเอียดของฮีโมโกลบิน Lepore มีมากมาย ใครสนใจก็โปรดใช้บริการจาก google นะคะ

ยังดีที่เราทำการทดสอบกรองร่วมด้วย คือการทดสอบ DCIP precipitation test ซึ่งจะให้ผลบวกในฮีโมโกลบินE เท่านั้น ในสองเคสนี้กลับให้ผลลบ ทำให้เราฉุกใจและส่งยืนยันด้วยการตรวจ DNA จนได้บทสรุปสุดท้ายว่าเป็นฮีโมโกลบิน Lepore Hollandia

แต่ถ้าห้องแล็บที่ไม่ได้ทำการทดสอบกรองร่วมด้วย จะสังเกตได้อย่างไรว่าโครมาโตแกรมที่เห็นอยู่นั้น ไ่ม่ใช่ฮีโมโกลบินE ธรรมดาๆซะแล้ว แต่อาจเป็นฮีโมโกลบิน Lepore ก็ได้ ลองมาดูโครมาโตแกรมเปรียบเทียบกันจะจะดีกว่า

 

นี่เป็นโครมาโตแกรมของฮีโมโกลบิน E จะเห็นว่า peak

จะแหลมคมและสมดุลย์กันทั้งสองข้าง

 

ส่วนนี่เป็นโครมาโตแกรมของฮีโมโกลบิน Lepore

ข้อสังเกตคือฐานของ peak กว้างกว่า และที่สำคัญที่สุดคือ

จะเห็นว่าด้านขวาของ peak มีลักษณะเหมือนหัวไหล่

(shoulder) เห็นชัดเจน

ข้อสังเกตนี้ไม่มีในตำราค่ะ เราเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ในการปฏิบัติงานจริงๆ และแน่นอนว่าพี่เม่ยถ่ายทอดข้อสังเกตนี้ให้กับน้องๆที่หมุนเวียนมาปฏิบัติงานในจุดการทดสอบธาลัสซีเมียทุกคนได้ทราบแล้ว หากเราได้พบเคสต่อไป รับรอง...ไม่พลาด

คำสำคัญ (Tags): #Hb Lepore
หมายเลขบันทึก: 472301เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2011 20:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 14:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท