บันทึกประสบการณ์: ฮีโมโกลบินเอช (Hb H) หายไปไหน? ภาคสอง


การตรวจหาชนิดและปริมาณฮีโมโกลบิน ทางห้องปฏิบัติการเรียกสั้นๆว่า Hemoglobin typing (Hb typing) นิยมตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่องโครมาโตกราฟฟี่ความดันสูง

สงสัยเป็นเพราะชื่อบันทึกมีคำว่า "หายไปไหน?..." จึงเป็นเหตุให้บันทึกต้อง "หายไป" จากบล็อกถึงสองวันเต็มๆ เหตุเพราะพี่เม่ยเผลอไปกดปุ่ม "แจ้งลบ" ที่มุึมล่างขวาของบันทึกเข้าให้ (ใครคิดจะทดสอบปุ่มนี้บ้างก็ได้นะคะ แต่ขอเตือน...กู้กลับไม่ได้น้าาา)

เพราะรู้ตัวเองดีว่าชอบพลั้งเผลอทำอะไรที่เสียหายบ่อยๆ ก็เลยฝึกตนเองให้ทำการ "save" ข้อมูลทุกอย่างไว้เป็น back up อยู่เสมอ ครั้งนี้ก็เลยสามารถค้นไฟล์มาทำการเขียนเป็นบันทึกขึ้นใหม่ ที่มีเนื้อหาเหมือนเดิมเปี๊ยบได้อย่างทันทีทันควัน... 

เข้าเรื่องเลยดีกว่าค่ะ...

และแล้วผลทดสอบ Hb typing จากเลือดของผู้ป่วยที่เจาะเมื่อวานนี้ก็ออกมาแล้ว ดูจากโครมาโตแกรมที่แสดงออกมา ยังไง๊ยังไงก็ยังไม่เห็น peak ของ Hb H อยู่ดีนั่นแหละ (ดูรูปเปรียบเทียบด้านล่างเลยค่ะ)

ก่อนอื่นดูโครมาโตแกรมของคนปกติก่อน

ที่กรอบสีแดงไว้คือบริเวณที่จะปรากฏฮีโมโกลบินเอช และ บาร์ท

ซึ่งในคนปกตินี้ ไม่พบ

 

ส่วนคนที่เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิด ฮีโมโกลบินเอช ทั่วๆไป

จะพบ peak ของฮีโมโกลบินเอชขึ้นที่บริเวณที่กรอบสีแดง

 

นี่เป็นของเด็กคนนี้ แรกคลอดก็มีฮีโมโกลบินบาร์ท peak สูงเชียว

ตามที่วงสีแดงไว้

 

พออายุครบ 1 ปี ฮีโมโกลบินบาร์ทก็หายไป แต่ไม่มี peak ของ

ฮีโมโกลบินเอช แต่สังเกตให้ดีๆ เทียบกับคนปกติจะเห็นรอบหยักสูง

กว่าเล็กน้อย แถมมีลักษณ "หัวแตก" อีกด้วย

 

อันนี้ล่าสุด เลือดที่ตรวจเสร็จหมาดๆ ก็ไม่มี peak ของฮีโมโกลบิน

เอชอยู่ดีนั่นแหละ (แหม แล็บเราเจ๋งจริงๆ ทำได้ยังไงก็ยังงั้น

ไม่มีคลาดเคลื่อนแม้แต่น้อย) แต่สังเกตเห็นรอยหยักชนิด "หัวแตก" 

อีกเหมือนเดิม

 

สรุปว่าคงต้องตอบคุณหมอไปว่า ตรวจใหม่แล้วผลก็ยังเป็นเหมือนเดิม และคำถามก็ยังคงวนเวียนอยู่ในใจว่า "ฮีโมโกลบินเอช หายไปไหน??"

และยังแถมคำถามเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเรื่องคือ "..หรือรอยหยัก "หัวแตก" จะเป็นจุดสังเกตสำหรับเคสที่มีฮีโมโกลบินเอชต่ำมากๆ??" (อย่างที่เห็นในรูป inclusion body ของบันทึกที่ผ่านมาว่ามีอยู่ในเม็ดเลือดแดงเพียงไม่ถึงร้อยละ 10 เท่านั้น)

คราวนี้คงต้องพึ่งวิทยาการที่ทันสมัยมากขึ้น ก็ต้องพิสูจน์กันด้วย ดีเอ็นเอกันล่ะค่ะ  พี่เม่ยจึงนำเลือดที่เหลือไปปรึกษา อ.จำนงค์ ว่าจะทำอย่างไรได้บ้าง

อ.จำนงค์ตั้งข้อสันนิษฐานว่า "สงสัยเด็กคนนี้ เป็นเบต้าธาลัสซีเมีย ร่วมด้วย..." ต้องพิสูจน์ 

.....โปรดอดใจรอสักหนึ่งสัปดาห์นะคะ ว่าจะเป็นไปตามข้อสันนิษฐานหรือไม่

คำสำคัญ (Tags): #Hb H disease
หมายเลขบันทึก: 472294เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2011 19:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 11:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท