Thought of mind


กิจกรรมที่มีความหมาย Occupation

สวัสดีคะ บันทึกวิชาการของฉัน

รู้สึกตื่นเต้นไปอีกแบบ ฉันไม่คิดไม่ฝันว่าจะได้มาเขียนบันทึกวิชาการเพื่อเผยแพร่ในโลกออนไลน์แบบนี้มาก่อน เพราะเคยเขียนแต่บันทึกในสมุดไว้อ่านเรื่องราวที่ผ่านมาคนเดียว ซึ่งเน้นไปทางไร้สาระซะมากกว่า ^w^ พอได้ลงมาเขียนจริงๆ เลยรู้สึกว่าจาเขียนอะไรดีนะที่มีสาระ...

เอาเป็นว่าเข้าเรื่องเลยดีกว่า เรื่องมีอยู่ว่า ในเทอมสุดท้ายของการเรียนมหาวิทยาลัย ทุกวันพฤหัสบดี ฉันและเพื่อนนักศึกษากิจกรรมบำบัด รุ่นแรกของมหิดล อีก 34 คน ต้องเข้าเรียนในวิชา สัมนากิจกรรมบำบัด 2 หรือSemimar in Occupational Therapy II ซึ่งเพื่อนๆทุกคนจะสลับกันมาพูดคุย แลกเปลี่ยนเรื่องราว ความรู้ที่ได้จากเอกสารอ้างอิงที่มีคุณภาพ (Journal) ที่เกี่ยวข้องกับ case study ของแต่ละคนที่เคยได้พบเจอมาจากการลงฝึกงานในสถานที่ต่างๆ ซึ่งอาทิตย์นี้เป็นอาทิตย์แรกที่เพื่อนๆจะต้องออกมาเล่าให้พวกเราคนอื่นๆฟัง ที่สำคัญมากคือ ต้องเล่าเป็นภาษาอังกฤษซะด้วย (นี่คือสิ่งที่ทำให้ฉันตื่นเต้นมากที่สุดในการจะออกไปเล่าแต่ละที) เพื่อนๆคนที่ออกไปพูดก็ตื่นเต้น คนนั่งฟังอย่างเราๆยิ่งตื่นเต้นไปใหญ่ เพราะต้องตั้งใจฟังอย่างมาก ถ้าไม่อย่างนั้นแล้ว อาจเกิดอาการงงกันได้

แล้วความรู้ที่ได้รับหลังจากจบชั้นเรียนวันนั้น ก็คือประสบการณ์ต่างๆที่เพื่อนๆได้เจอมี ฉันรู้สึกทึ่งว่า เพื่อนๆของเราก็มีความสามารถเหมือนกันนะ และเพื่อนๆมีความพร้อมแล้วนะที่จะก้าวไปเป็นนักกิจกรรมบำบัดที่ดีในอนาคต เพื่อนๆรับรู้มิติในการให้บริการแก่ผู้รับบริการ อ้างอิงการรักษาตามกรอบอ้างอิงทางกิจกรรมบำบัด ทุกคนพยายามมองผู้รับบริการให้ได้ครอบคลุมมากที่สุด ตามแบบของนักกิจกรรมบำบัด คือ ทั้งด้านสภาพร่างกาย สภาพจิตใจ และสภาพสิ่งแวดล้อมของผู้รับบริการ แต่อีกอย่างหนึ่งที่ฉันและเพื่อนๆคงต้องจดจำ และนำไปปฏิบัติตามเพื่อให้เป็นนักกิจกรรมบำบัดที่แท้จริงคือ การคำนึงถึงกิจกรรม หรือ Occupation ของผู้รับบริการ ตามคำแนะนำ (ที่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า) ของ อ.ป๊อป  

ประเภทและเทคนิคการรักษาที่ได้เรียนรู้วันนี้ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อนๆก็ได้แนะนำเทคนิคการรักษามากมาย เช่น การใช้เทคนิคRood Approach ในการกระตุ้นกล้ามเนื้อให้กลับมามีแรง หรือเทคนิคการทำ Bilateral  & Unibilateral training และเทคนิค CIMT, ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการกลืนทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เทคนิคใหม่ที่ได้รับคือ การทำOral stimulation ในการกระตุ้นกล้ามเนื้อรอบๆปากที่ใช้ในการเคี้ยวและกลืน ร่วมกับการให้ Oral Support ที่บริเวณขากรรไกรด้วย,  ผู้ป่วยโรคจิตเภท (Schizophrenia) ที่ใช้การฝึกsocial skill เข้าไปสอดแทรกในการทำกิจกรรมต่างๆ, ผู้ป่วยติดสารเสพติดเรื้อรัง ที่ใช้การฝึกCognitive สอดแทรกในการทำกิจกรรมต่างๆเช่นกัน, ผู้ป่วยกระดูกหัก เพื่อนๆใช้การให้กิจกรรมที่ผ่านการวิเคราะห์มาให้แก้ไขปัญหาต่างๆที่ผู้ป่วยมี เช่น ROM edema เป็นต้น

เพื่อนๆบอกว่า รายละเอียดของเทคนิค วิธีการต่างๆที่พวกเขาใช้ ได้รวบรวมอยู่ในบล็อกของเพื่อนๆแล้ว ฉันคงต้องเข้าไปอ่านเพิ่มเติมในส่วนที่ฉันสนใจ หรือคงต้องเข้าไปขอคำแนะนำจากพวกเขาแน่เมื่อฉันได้พบเจอกับผู้รับบริการที่มีปัญหาคล้ายคลึงกันกับที่เพื่อนๆเคยเจอแน่นอนในอนาตคอันใกล้นี้

 

บันทึกครั้งแรกๆนี้ อาจจะมีสาระไม่มาก แต่ฉันก็อยากบันทึกไว้เป็นความทรงจำ และเพื่อพัฒนาต่อไป...

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 472290เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2011 17:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 23:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท