การฝังธนู : พลังความเชื่อล้านนาท่ีกำลังอ่อนล้า


พิธีกรรมท้องถิ่นเริ่มสูญหายเพราะกระแสสังคม วัฒนธรรมและการศึกษาสมัยใหม่

การฝังธนู : พลังความเชื่อของคนล้านนาท่ีกำลังอ่อนล้า

      เมื่อวันหยุดที่ผ่านมา พ่อกับแม่ได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์ มาประกอบพิธีกรรมฝังธนูไว้ที่บ้าน โดยให้เหตุผลว่า บ้านที่อยู่นั้น เป็นหมู่บ้านจัดสรร ตอนที่สร้างบ้านไม่ได้ประกอบพิธีกรรมดังกล่าว ท่านบอกว่า ในอดีตเวลาปลูกสร้างบ้านเรือนคนล้านนามักนิยมประกอบพิธีกรรมฝังธนู เพื่อเป็นการป้องกันสิ่งที่เป็นอัปมงคลต่าง ๆ ไม่ให้เข้ามาสู่ในบ้านเรือน คนที่อยู่อาศัยจะได้มีความเป็นปกติสุข แต่ตอนหลังพิธีกรรมนี้ได้เริ่มสูญหายไป เพราะวัฒนธรรมสมัยใหม่ หากแต่สำหรับคนสูงอายุในชนบทจำนวนไม่น้อย ยังคงตระหนักถึงความสำคัญของพิธีกรรมนี้ ดิฉันได้มีโอกาสนมัสการถามพระสงฆ์ที่มีประกอบพิธีกรรมให้ถึงเรื่องราวความเชื่อและรูปแบบพิธกรรมการฝังธนู จึงได้ข้อมูลความรู้ที่น่าสนใจหลายด้านอยากแบ่งปันดังนี้คะ

ประเภทของการฝังธนู

1.ธนูหินที่ฝังเป็นการถาวร โดยการใช้สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ธนูหิน เช่น ตะปู ก้อนหิน หรือแผ่นโลหะสลักยันต์รูปวัว  ฝังลงในบริเวณที่กำหนด เพื่อป้องกันสิ่งอัปมงคลหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นในบ้านเรือน

2.ธนูหินที่ฝังเป็นการชั่วคราว โดยการใช้สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ธนูหินเช่น ตะปู ก้อนหิน ฝังในเวลาที่ต้องไปนอนค้างตามป่าเขา ต่างบ้านต่างแดน เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นในขณะนอนหลับ เช่นภูตผี และสัตว์ร้าย เป็นต้น

3. ธนูไฟ โดยการใช้ท่อนไม้ที่จุดไฟ วางในบริเวณจุดกำหนดในสี่ทิศ เพื่อทำหน้าที่เสมือนปราการไฟที่คุ้มครองบริเวณบ้านเรือน

เครื่องบูชาครูหรือขันครูน้อยเพื่อการฝังธนู

1. กรวยใบตองบรรจุดอกไม้พร้อมเทียนเงินเทียนทอง (สีขาว/เหลือง)กรวยละ 2เล่ม และข้าวตอก จำนวน 8 กรวย

2. กรวยใบตองบรรจุหมากพลู จำนวน 8 กรวย

3. กระทงใบตองบรรจุข้าวเปลือก จำนวน 1 กระทง

4. กระทรงใบตองบรรจุข้าวสาร จำนวน 1 กระทง

5. ผ้าขาวตัดเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 3*3 นิ้ว จำนวน 1 ผืน

6. ผ้าแดงตัดเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 3*3 นิ้ว จำนวน 1 ผืน

7. เงินสำหรับบูชาครู จำนวน 139 บาท

8. ขันสำหรับบรรจุน้ำพุทธมนต์ และใส่ฝักส้มป่อยลงน้ำมนต์

9. ใบหนาดและใบพุทรา ที่มัดรวมกันสำหรับใช้เป็นที่พรมน้ำ

10. แผ่นทองเหลืองที่สลักยันต์ธนูวัวจำนวน 5 แผ่น ประกอบด้วยแผ่นหลัก 1 แผ่นและแผ่นบริวาร 5 แผ่น

ขั้นตอนพิธีกรรมประกอบด้วย

1. เจ้าของบ้านประเคนถวายขันครูให้พระสงฆ์ และพระสงฆ์รับประเคนและสวดบริกรรมคาถา.... ลงในน้ำพุทธมนต์

2. พระสงฆ์เจริญพุทธมนต์ ประพรมน้ำพุทธมนต์ ในบริเวณบ้านเรือนและพื้นที่รอบ ๆบ้าน

3. การกำหนดจุดเพื่อทำพิธีฝังธนู จากนั้นขุดหลุมลึกพอประมาณ พระสงฆ์เจริญพุทธมนต์ พร้อมฝังแผ่นยันต์ทองเหลือง และประพรมพุทธมนต์ จากนั้นจึงกลบหลุมให้สนิท

4. เจ้าของบ้านถวายปัจจัยการประกอบพิธีกรรม

ความหมายของเครื่องประกอบพิธีกรรม

1. ฝักส้มป่อย เพื่อความเป็นสิริมงคล

2. ใบหนาดและกิ่งพุทธรา เพื่อป้องกันภูตผี

3. ข้าวเปลือกข้าวสาร เพื่อบูชาพระแม่โพสพ

4. หมากพลู แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ 5. ผ้าขาวผ้าแดง หมายถึง อาภรณ์ของเทพยดา

6. จำนวนกรวย 8 กรวย หมายถึง มรรคมีองค์ 8

         หากพินิจถึงพิธีกรรมตั้งแต่เครืองประกอบพิธี  หรือคำกล่าวในพิธี ล้วนสะท้อนถึงกระบวนทัศน์ของคนในอดีตต่อธรรมชาติและสรรพสิ่งที่ว่า  ทุกสิ่งล้วนมีเจ้าของมีจิตวิญญาน  ผืนแผ่นดินเป็นมากกว่าทรัีพยากรท่ีใช้ตั้งท่ีอยู่อาศัย หรือเพราะปลูก แต่คือ พลังยิ่งใหญ่ท่ีให้กำเหนิดสรรพชีวิต และเชื่อมสัมพันธ์กับพระแม่โพสพ รวมท้ังกุศโลบายท่ีแฝงหลักธรรมทางพุทธศาสนา คือ  มรรค 8 ท่ีสอนให้เราเรียนรู้ในการดูแลกำกับกาย วาจา ใจ ให้อยู่ในกรอบที่ดีงาม เพื่อการอยู่ในสังคมอย่างเป้็นปกติสุข

        เมื่อเป็นเช่นนี้  ทำเช่นไร จะให้่คนรุ่นใหม่เกิดความเข้าใจและตระหนักถึงรากเหง้่าของวัฒนธรรมหรือพิธีกรรมท้องถิ่น  เพื่อการสืบทอดด้วยความเข้าใจ และนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต  ท่ามกลางกระแสบริโภคนิยมท่ีเร่งเร้าให้เราคืิิดและปฏิบัติต่อหลายสิ่งด้วยความอหังการ์

คำสำคัญ (Tags): #ธนูหิน ธนูไฟ
หมายเลขบันทึก: 472041เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2011 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 17:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ธุค่ะ..

เป็นความรู้ใหม่เลยทีเดียวค่ะ  ไม่เคยทราบมาก่อนเลย   ขอบพระคุณนะคะ  ^^

ผมไม่เคยทราบเรื่องนี้มาก่อนเลย

เป็นความรู้ใหม่จริงๆ

ขอบคุณมากๆ ครับ ที่อาจารย์กรุณานำมาเล่าสู่กันฟัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท