KiraConcerto
นักกิจกรรมบำบัด กีรตินุช เหลืองอังกูร

Case Study I: Presentation


นักกิจกรรมบำบัดควรให้ความสนใจต่อแรงจูงใจของผู้รับบริการโรคจิตเภทและอาจใช้กิจกรรมดนตรีแบบกลุ่มเพื่อเพิ่มทักษะการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและลดอาการแยกตัว

กรณีศึกษา คุณว. ป่วยเป็นโรคจิตเภท เดิมทีเขาอาศัยอยู่ตามลำพังทำให้ทางโรงพยาบาลวางแผนจำหน่ายคุณว. ไปที่สถานสงเคราะห์ คุณว. ไม่ต้องการทำกิจกรรมใดๆ แยกตัว ไม่สนใจดูแลตนเอง

คุณว. คิดและตอบคำถามช้ามาก ใบตองจึงประเมินความรู้ความเข้าใจ (Cognition) ของเขาโดยใช้แบบประเมิน Mini Mental State Exam-Thai Version 2002 คุณว. ได้คะแนนน้อยกว่าจุดตัดที่ตรงกับระดับการศึกษาของเขา

นอกจากนี้ยังประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน พบว่าเขามีความสามารถในการทำกิจกรรมทั้งหมดได้เอง แต่ขาดแรงจูงใจและมีทักษะการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นที่ไม่ดี

ใบตองวางแผนการรักษาคุณว. สามข้อหลักๆ คือ การเพิ่งแรงจูงใจ, การเพิ่มทักษะการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น (รวมถึงนักกิจกรรมบำบัดเอง) และการหากิจกรรมหรืองานที่คุณว. จะสามารถทำได้หลังถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล

บทความวิชาการที่ใบตองได้เขียนถึงในบล็อก Case Study I ถูกใช้เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ในการให้การรักษากรณีศึกษารายนี้

คุณว. มีความบกพร่องด้านความรู้ความเข้าใจส่งผลให้เขาขาดความสามารถในการจินตนาการถึงผลลัพธ์ที่ต้องการและทำให้ไม่ต้องการทำกิจกรรมใดๆ แม้ว่าภายในแล้วคุณว. จะอยากกลับบ้านของตนและประกอบอาชีพเดิม

การใช้ดนตรีบำบัดแบบกลุ่ม (ซึ่งใบตองได้ทดลองทำกับกรณีศึกษารายนี้) ส่งผลดีต่อทักษะการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและลดอาการแยกตัวของคุณว. ได้พอสมควร

หากจะศึกษาเพิ่มเติมหรือให้การรักษากรณีศึกษารายนี้ต่อ ใบตองควรจะใช้กรอบอ้างอิง Occupational Adaptation เพื่อฝึกทักษะการปรับตัวหลังจำหน่ายและใช้ Cognitive Behavioral Therapy เพื่อปรับพฤติกรรมของคุณว. โดยการเปลี่ยนแปลงที่ความคิดของเขา

หมายเลขบันทึก: 472037เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2011 11:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ขอบคุณกีรตินุชนะคะที่นำแนวทางใหม่ในการให้การบริการผู้รับบริการทางด้านจิตเวชมาแบ่งปัน จะนำสิ่งที่กีรตินุชแบ่งปันไปใช้ในการให้บริการในอนาคตค่ะ :]

ชอบที่ใช้ดนตรีบำบัด ลดการแยกตัวได้ดี ถ้ามีเวลาเยอะกว่านี้น่าจะเห็นการฟื้นตัวของคุณว. รวมถึงการบำบัดด้วยกิจกรรมที่ีเกิดจากแรงจูงใจด้วย:)

Pim

การนำดนตรีบำบัดมาใช้เห็นผลได้ชัดเจน ผู้รับบริการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมดี น่านำไปใช้ในการทำงาน

ขอบคุณใบตอง ที่มาแบ่งปันความรู้ให้เพื่อน แต่เราอยากรู้ว่ากิจกรรมอะไรที่เป็นกิจกรรมที่ผู้รับบริการอยากทำเหรอ? จะได้นำมาเป็นกิจกรรมที่มีความหมายต่อการให้บริการแก่ผู้รับบริการรายนี้ ส่วนดนตรีบำบัดถือว่าเป็นกิจกรรมที่ดีและเห็นผลชัดเจนกับผู้ป่วยรายนี้นะ ถือว่าตองประสบความสำเร็จแล้วล่ะ ^^

ผมชื่อนก นะครับ ขอแทนตัวเองว่านกละกัน นกเป็นคนชอบศิลปะเป็นการส่วนตัวอยู่แล้ว และดนตรีก็เป็นศิลปะอีกแบบหนึ่งที่ให้ความเพลิดเพลิง บรรเทิง การที่ใบตองได้เอาดนตรีมาเป็นส่วนหนึ่งของการบำบัดรักษา นกมองว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะนกคิดว่า มันจะช่วยให้ผู้รับบริการมีแรงจูงใจที่จะทำกิจจกรรมมากขึ้น มีความสนใจ และสนุกสนานไปกับการทำกิจกรรม โดยกิจกรรมนี้แฝงด้วยการบำบัดรักษาไปในตัว พูดอีกอย่างคือ ได้ทั้งความสนุกและเพิ่มความสามารถของผู้รับบริการได้เป็นอย่างดี

**************เป็นกำลังใจให้นะครับ**********************************

ชอบบบบครับ ^_^ ที่นำเอาดนตรีมาใช้บำบัดรักษาในผู้ป่วยจิตเวช และเป็นสิ่งที่ผมอยากจะลองทำดูเหมือนกันคับที่เอาดนตรีมาใช้กับผู้ป่วยจิตเวช ขอบคุณครับบบ ^_^

ดนตรีมีประโยชน์กับคนเราอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการฟัง การร้อง การเล่น

...ชอบนะคะ ที่ได้มีการนำเอาดนตรีมาใช้ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวช ทำให้เกิดความผ่อนคลาย บันเทิง เกิดความคิดสร้างสรรค์ ฝึกให้ผู้ป่วยได้เกิดกระบวนการคิด การมีปฏิสัมพันธืที่ดีร่วมกับผู้อื่น นับว่าน่าสนใจมากๆค่ะ ,,

เป็นแนวทางการรักษาที่ดีมากเลย ในการนำดนตรีมาใช้ ทำให้ได้สมาธิ เพลิดเพลิน และได้สังคมด้วย เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากๆๆ ขอบคุณใบตองที่นำเรื่องดีๆมาฝากนะจ๊ะ^^

ขอแสดงความยินดีที่สืบค้น เรียนรู้ และถ่ายทอดความรู้ทางกิจกรรมบำบัดจิตสังคมกับสื่อดนตรี/ศิลปะที่น่าสนใจ

โดยส่วนตัวแล้วเป็นคนชอบทางด้านดนตรีค่ะ แต่ยังไม่เคยได้นำดนตรีไปใช้บำบัดเลยสักครั้ง การได้ฟังการนำเสนอกรณีศึกษาจากใบตองวันนี้ ทำให้เกิดไอเดียในการนำไปใช้เลยค่ะ ไว้ถ้ามีโอกาส จะนำไปใช้บ้างนะคะ

เป็นกำลังใจให้ค่ะ

ขอขอบคุณใบตองที่มาช่วยแบ่งปันกระสบการณ์ และความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ดนตรีเพื่อเป็นสื่อในการรักษาให้กับผู้รับบริการจิตเภทค่ะ

ชอบที่เราสามารถนำดนตรีไปช่วยเหลือผู้ป่วย ให้เขาสามารถเข้าสังคมและกลุ่มได้มากขึ้น นับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีของเขาที่จะกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเองค่ะ

เป็นกำลังใจให้ใบตองต่อไปนะคะ <3

ขอบคุณทุกกำลังใจนะคะ ^_^

ถึง Noinar: คุณว. เดิมประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปค่ะ แรงจูงใจของเขาคือต้องการกลับไปใช้ชีวิตเองที่บ้าน ไม่อยากไปอยู่สถานสงเคราะห์ สิ่งสำคัญคือต้องสื่อสารอธิบายให้คุณว. เข้าใจว่าต้องทำอย่างไรจึงจะสามารถกลับไปดำรงชีวิตด้วยตนเองได้ นั่นคือการฝึกทักษะการประกอบอาชีพ, การดูแลตนเอง, การทานยา โดยกิจกรรมการฝึกแบบเดี่ยวจะเน้นการฝึกทักษะเหล่านี้และพยายามให้คุณว. เปลี่ยนความคิดเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่พฤติกรรม คล้ายๆ CBT ค่ะ

ส่วนกิจกรรมที่เขาสนใจและให้ความร่วมมือ เช่น ดนตรี นันทนาการ การทำอาหาร (เพราะเมื่อทำเสร็จจะได้กิน) ถูกนำมาใช้เป็นกิจกรรมกลุ่ม เพื่อให้คุณว. อยากเข้าร่วมและเพิ่มทักษะการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นค่ะ

ชอบเพลงที่คุณใบตองใช้นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท