seminar II (distal radius fracture)


distal radius fracture, กิจกรรมบำบัด

case study ที่นำมา present ในวิชาเรียน seminar II วันนี้ เป็น case ที่มี

diagnosis คือ Posterior fracture distal end of radius in the right โดยมือขวามีอาการบวม มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว และเจ็บระหว่างการเคลื่อนไหว 

จากอาการดังกล่าวข้างต้นทำให้เกิดปัญหาคือ ไม่สามารถกิจกรรมที่ชื่นชอบ ซึ่งก็คือการเย็บผ้าได้, มีความยากลำบากเล็กน้อยในการสระผม ติดกระดุม และมัดผม, และไม่สามารถใช้มือข้างที่บาดเจ็บตัดเล็บได้

เป้าประสงค์ในทางกิจกรรมบำบัดที่ีได้ให้กับผู้รับบริการรายนี้คือ

1. การลดบวม โดยใช้ retrograde massage และ elevation โดยมีงานวิจัย(1) ในการสนับสนุนการตั้งเป้าประสงค์นี้ ซึ่งกล่าวไว้ว่า จุดประสงค์แรกในการฟื้นฟูผู้ที่กระดูกมือหัก คือ การลดบวม การเพิ่มความแข็งแรง และช่วงการเคลื่อนไหว

2. การเพิ่ม PROM โดยใช้ การจุ่มมือใน paraffin ก่อนการนวด และการขยับข้อ และใช้การ passive movement โดยมีงานวิจัย(1) สนับสนุน ซึ่งกล่าวไว้เกี่ยวกับการออกกำลังกายมือ เช่น tendon gliding, MCP flex&exten, thumb exten&opposition และ web space stretches และกิจกรรมที่ใช้ในการเพิ่มการคว่ำหงายมือ เช่น การนำจับกรวยแบบคว่ำมือ ก่อนการหงายมือเพื่อนำกรวยเสียบหลัก และการใช้ one curve arch หรือ double curve arch โดยงานวิจัย(2) ได้กล่าวไว้ว่า กรวยและ curve arch สามารถช่วยในการเคลื่อนไหว เพื่อฟื้นฟูความแข็งแรงและการหน้าที่การเคลื่อนไหวได้

3. การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยใช้ putty (ลักษณะคล้ายกับดินน้ำมัน) ซึ่งจะใช้การกำแล้วดึงขึ้นกับสามนิ้วหยิบ รวมถึงการใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วต่างๆบีบไม้หนีบผ้า งานวิจัย(2) ได้กล่าวถึง graded pinch exercise ซึ่งมีหลักการทำงานคล้ายไม้หนีบผ้า ว่าสามารถฝึกความคล่องแคล่ว หรือช่วยในการฟื้นฟูการทำงานต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ 

4. การเพิ่มความคล่องแคล่วของมือ  โดยใช้ tripod grasp หยิบ putty และ pegboard รวมถึงการแตะสลับระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วต่างๆ ซึ่งงานวิจัย(1) ได้กล่าวว่า therapeutic putty exercise สามารถช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวได้ในผู้ที่กระดูกมือหัก

ซึ่งหลังจากการให้กิจกรรมและติดตามผลพบว่า การบวมลดลง, ROM เพิ่มขึ้น, ความแข็งแรงในการกำมือ การหยิบ เพิ่มขึ้น, และความคล่องแคล่วของมือเพิ่มขึ้น

จาก case นี้ทำให้ทราบว่าสิ่งสำคัญในการให้บริการแก่ผู้รับบริการคือความเข้าใจในโรคและอาการ รวมถึงแรงจูงใจในการรักษา ซึ่งผู้ให้บริการควรบอกสิ่งที่จะทำ และเหตุผลในการให้กิจกรรมก่อนการรักษาทุกครั้ง รวมถึงการให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วมในการวางแผนการรักษา เพราะจะช่วยเพ่มประสิทธิภาพและความต่อเนื่องในการรักษาได้ ซึ่งในผู้รับบริการรายนี้มีแรงจูงใจและมีความกระตือรือร้นในการรักษาและในการทำกิจกรรม ทำให้เกิดผลการรักษาออกมาดี

ขอขอบคุณนักกิจกรรมบำบัดทุกท่านที่ได้ให้ความรู้และการแนะนำ รวมถึงผู้รับบริการรายนี้ที่ได้ให้ประสบการณ์อันดีแก่ดิฉัน

งานวิจัยที่นำมาสนับสนุนคือ

(1)Brodeur-Lyons S, and Oakes M.W. It’s all in the hands. Rehab management. 2009

(2)Huang L.L, Lee C.F, and Chen M.H. The investigation of design improvement requirements for the upper extremity rehabilitation devices in Taiwan. APIEM. 2010

หมายเลขบันทึก: 472031เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2011 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 20:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณครับสำหรับความรู้และแนวทางดีๆในการบำบัดฟื้นฟูในผู้รับบริการในผู้รับบริการที่มีกระดูก ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดทั้งในด้านการประเมิน การวางเป้าประสงค์ในการให้บริการ และการให้บริการทางกิจกรรมบำบัด

โดยอยากจะขอแนะนำเพิ่มเติมด้วยว่า ในผู้รับบริการที่มีภาวะกระดูกหักมันมีอาการ เจ็บและปวด ร่วมด้วย ซึ่งอาจมาจากความบาดเจ็บจากกระดูกที่หัก หรืออาจจะมาจากประสาทรับความรู้สึกก็ได้ ซึ่งในส่วนนี้ควรประเมินเพิ่มเติมต่อไป

และสอบถามเกี่ยวกับภาวะของกระดูกว่ามีการเชื่อมกันสนิทหรือยังเพราะหากยังเชื่อมกันไม่สนิทอาจส่งผลให้มีการบาดเจ็บซ้ำซ้อนเพิ่มขึ้นได้อีกเช่นกัน

เป็นแนวทางสำหรับOTที่ให้บริกรให้ผู้รับบริการที่บาดเจ็บบริเวณมือได้เป็นอย่างดี

เนื่องจากดิฉันไม่เคยมีประสบการในการฝึกผู้รับบริการที่มี fracture in hand และเห็นว่าเป็นอาการที่มีความชุกสูงในประเทศไทย

ขอบคุณสำหรับความรู้ แนวทางการรักษาที่น่าสนใจนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท