แนวทางการพัฒนาสังคมความรู้ในการทำงาน


ความรู้

การพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ขึ้นในการทำงานให้เกิดขึ้นและมั่นคงจะต้องมีการส่งเสริม ให้โอกาสแก่บุคคลในฐานะทุนมนุษย์ที่สำคัญ โดยผ่านกระบวนการ 7 ขั้น ได้แก่

1)  การเปิดโอกาสให้ทุกคนไม่ว่าจะทำงานระดับใดก็ตามได้มีความเข้าใจ และเห็นความสำคัญ
ของการทำงานอย่างมีความรู้ ประโยคที่น่าสนใจก็คือ
"ไม่มีใครอยากทำงานไปอย่างโง่ๆ 
จริงๆ แล้วต่างก็อย่างทำงานอย่างฉลาดและถูกต้องทั้งสิ้น"
2)  กระตุ้นบุคคลให้มีความทะเยอทะยานที่จะพัฒนาตนเอง คิดหาความก้าวหน้า และเข้าใจถึง
ความรู้ ทักษะที่จะต้องมีเพื่อการทำงานนั้นๆ
3)  สร้างระบบเสริมให้บุคคลพร้อมที่จะเรียนและรู้ และต่อยอดเป็นความรู้ประยุกต์หรือความรู้ใหม่
ได้ ส่งที่ขาดไปของสังคมการเรียนรู้ก็คือ ยึดติดกับความรู้ที่มีจนกระทั่งไม่กล้าที่จะคิดนอกกรอบ
 
ระบบที่ควรส่งเสริมก็คือระบบฐานข้อมูล อาจเป็นบุคคล หนังสือ วารสาร และระบบสารสนเทศ
ต่างๆ
 ที่ต้องง่ายต่อการเข้าถึงของคนเหล่านั้น ระบบที่ดีแต่เข้าไม่ถึงก็ไร้ค่าเท่ากับไม่มีระบบนั่นเอง
4
)  สร้างผู้นำรุ่นใหม่ ที่พร้อมจะนำ และสามารถนำได้ โดยเป็นการนำด้วยความรู้ความสามารถ
ไม่ใช่ด้วยอำนาจ คนที่เข้าใจคนอื่นดีอาจไม่ใช่ผู้นำที่ดี แต่คนที่สามารถประสานและสร้างความ
สมประโยชน์ให้เกิดขึ้นได้นั้น จึงเป็นผู้นำที่น่าจะมีโอกาสสูงในการนำอย่างแท้จริง
5)  มองหารูปแบบการเรียนรู้ที่ชัดเจน ไม่กวาดรวมทุกอย่างแล้วทำ แต่ต้องเลือกที่จะทำ ความรู้
เป็นสิ่งที่หาปริมาณไม่ได้ หากมุ่งความรู้ในทุกๆ ด้าน ก็จะไม่ได้ความรู้ที่โดดเด่น จะเกิดเป็นเพียง
สังคมของเป็ด ว่านน้ำก็ได้ บินก็ได้ เดินบนบกก็ได้ แต่ก็ว่ายน้ำสู้ปลาไม่ได้ บินสู้นกไม่ได้ เดินสู้ห่าน
ไม่ได้ ก็ใช่ที่ว่าเอาตัวรอดได้ แต่นานแค่ไหน ปัญหานี้ยังไม่มีใครตอบได้ ดังนั้นในการทำงานด้วย
ความรู้จะต้องมีความเป็นมืออาชีพ (
professionist) ในด้านใดด้านหนึ่ง และมีความเป็นผู้รู้
(
generalist) ในด้านอื่นๆ ประสานเสริมกัน
6)   ต้องพร้อมที่จะให้ความรู้ ไม่เก็บ ไม่หวงความรู้ ก็อย่างที่เราทราบ ความรู้ที่น่าตระหนกของ
อดีตสาบสูญไปก็เพราะการยึดติดว่าความรู้นั้นเป็นสมบัติส่วนตัว พอตายก็ส่งต่อแค่ลูกหลาน
ไม่นานก็บั่นทอนระดับความรู้นั้นลง เกิดวิกฤติความรู้นั้นก็หายไปเลย ข้อดีก็คือมันก็อาจจะเกิด
ความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมาได้เพิ่ม แต่ถ้ามีความรู้เพิ่มจากฐานความรู้เดิมที่ดีอยู่แล้วมันจะไม่ง่ายกว่าหรือ
7)   ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน คนเก่งที่ทำงานร่วมกันได้ ย่อมสังเคราะห์ความรู้ใหม่ๆ ได้
แต่ปัญหาก็คือคนเก่งๆ มักมีปัญหา
  ต่างคิดว่าสิ่งที่ตนคิดถูกต้อง ทำให้ทำงานร่วมกันยาก
ทีมจะไม่มีความหมายเลยหากคนในทีมไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน ถือเขาถือเรา

คำสำคัญ (Tags): #psycho#จิตวิทยา
หมายเลขบันทึก: 4718เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2005 09:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 15:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท