ขอนแจ่น ขอนแก่น ปรากฏการณ์สับหลีกของภาษา


สิ่งที่เกิดขึ้นนั้น ภาษาของนักวิชาการเขาเรียกว่า "การสับหลีก" ของภาษา ในกรณีของคนขอนแก่นก็เช่นกันเป็นการสับหลีกของภาษาระหว่าง ก กับ จ ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นเสมอในทุก ๆ คำ เว้นแต่ว่า เมื่อพยัญชนะเหล่านี้ถูกผสมด้วยสระดังต่อไปนี้ คือ สระอิ สระเอะ และสระแอะ เท่านั้น ส่วนสระอื่น ๆ ก็มักจะเป็นปกติ

            ผมทำงานอยู่ที่จังหวัดสุรินทรืมาร่วมสามปี วันนี้ได้มีโอกาสทักทายกับเพื่อนใหม่ที่พึ่งได้รู้จักกันในที่ทำงาน เขาเปิดคำถามง่าย ๆ ก่อนเริ่มทำความเข้าใจกัน "คุณเป็นคนที่ไหน" คำถามนี้เล่นเอาคนตอบถึงกับต้องหยุดนิ่งเพื่อตั้งสติเลยทีเดียว

            ที่เป็นเช่นนี้ไม่ใช่เพราะอายหรือกลัวคนอื่น ๆ รู้ถึงที่มาหรือรากเหง้าของตนเพียงแต่มันเป็นปมอย่างหนึ่งที่แฝงอยู่ในใจของผมว่านานและมันจะคอยเตื่อนสติอยู่ตลอดเวลา เพราะหากใจไม่นิ่งแน่นอนมันพร้อมจะแสดงตัวออกมาในทันที

           มันไม่ใช่สิ่งที่เลาร้ายอะไรมาก เพียงแต่ปมที่ว่าคือ สมัยที่ผมยังเรียนผมจะถูกเพื่อนล้าเสมอว่า "ขอนแจ่น" หรือ "เจ็บของ" ซึ่งเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของชาวจังหวัดขอนแก่นที่พบได้โดยทั้วไป

          มันไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย ผมพยายามศึกษางานต่าง ๆ เพื่อที่จะอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งก็ได้รับคำตอบเป็นที่พึงพอใจ และวิธีการที่แก้ไขได้โดยการพยามยามตั้งสติและเข้าใจหลักการออกเสียง เพราะเสียงทั้งมีความแตกต่างกันอยู่บ้างในเรื่องของการออกเสียง

           สิ่งที่เกิดขึ้นนั้น ภาษาของนักวิชาการเขาเรียกว่า "การสับหลีก" ของภาษา ในกรณีของคนขอนแก่นก็เช่นกันเป็นการสับหลีกของภาษาระหว่าง ก กับ จ ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นเสมอในทุก ๆ คำ เว้นแต่ว่า เมื่อพยัญชนะเหล่านี้ถูกผสมด้วยสระดังต่อไปนี้ คือ สระอิ สระเอะ และสระแอะ เท่านั้น ส่วนสระอื่น ๆ ก็มักจะเป็นปกติ

          การออกเสียงเป็นเรื่องของธรรมชาติ แต่มันสามารถที่จะฝึกได้ หากได้รับการเอาใจใส่ เช่นเดียวกับคนขอนแก่น หากตั้งสติและเข้าใจหลักการออกเสียงจะไม่ผิดพลาดที่เขาเรียกว่า "การสับหลีกเกิดขึ้น

หมายเลขบันทึก: 471128เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2011 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 16:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

คุณเป็นคนไหน....เจ้าเป็นไผ

..

เป็นคำถามเปิดบานประตูสู่การเรียนรู้กันและกันที่ดีครับ

เรื่องภาษา ต้องยอมรับว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ชัดเจนของกลุ่มชนต่างๆ...

อาหารการกิน อาจเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย

การแต่งตัว -ทรงผม หมุนผ่านไปตามกาลเวลา

ประเพณีบางอย่าง บูรณาการตามยุค

แต่ภาษา ถึงแม้จะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง

แต่ก็ยังเป็นอัตลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็น "เรา" ความเป็น "เขา"....

...

ชื่นชมครับ

"คุณเป็นคนที่ไหน" ถ้าเคยดูหนังไทยตลกเรื่องหนึ่ง เค้าจะตอบว่า "ผมเป็นคนทุกที่ อยู่ที่ไหนผมก็เป็นคน "  แต่คิดให้ดีคำถามแค่นี้ก็มีแง่คิดไม่น้อย " คุณเป็นคนที่ไหน?"

น่าจะรักษา"อัตลักษณ์"ของชาวขอนแจ่นไว้นะครับ ถ้าพูดสำเนียงอีสานต้องออกเสียง "ขอนแจ่น"  ถ้าพูดภาษาราชการ ต้องออกเสียง  ขอนแก่น อย่างนี้ต่างหากที่สำคัญ สรุปว่าพูดภาษาใด ก็ให้เป็นภาษานั้นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท