ชีวิตคือสายน้ำ...โมเดลกิจกรรมบำบัดตะวันออก


ประเด็นสำคัญจาก Assoc. Prof. Micheal K. Iwama ในหัวข้อ The River Flows from Asia to the World: Heralding a Paradigm Shift in Occupational Therapy Theory & Practice จากงาน APOTC2011

แบบจำลองของ Kawa ที่เป็นภาษาญี่ปุ่นแปลว่า สายน้ำ นั้นได้สะท้อนศักยภาพทางวิชาชีพกิจกรรมบำบัดใน "การปรับตัวของการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิต (Occupational Adaptation, OA) ตามบริบทของสังคมและวัฒนธรรม"

นักกิจกรรมบำบัดควรทำความเข้าใจรูปแบบของการทำกิจวัตรประจำวันของผู้รับบริการที่ Meaningful, dynamic, diverse, shared, contexual, และ Unique เพื่อตอบโจทย์ว่า "เราทุกคนทำกิจวัตรประจำวันจริงๆ เหมือนกันหรือไม่ บริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันนั้นจะส่งผลให้มีความต้องการแตกต่างกันอย่างไร"

ในจักรวาลนี้ ความคิดที่เกี่ยวข้องกับชีวิตที่ปกติของมนุษย์ คืออะไร

  • ตัวเราและธรรมชาติแยกออกเป็นส่วนหนึ่งของโลกหรือไม่
  • สุขภาพและสุขภาวะเกิดขึ้นตามสภาวะร่างกายหรือไม่
  • ปัจจัยที่เชื่อมโยงกันระหว่างวิทยาศาสตร์ ชีวการแพทย์ และการฟื้นฟู คืออะไร

สิ่งแวดล้อมภายในตัวตนนั้นสะท้อนเหตุผลทางคลินิกและการแปลข้อมูลที่ซับซ้อนให้เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอกตัวตนได้ เราเรียกว่า Paradigm shift (Real stories, my reality to structured scientific revolution) นั่นคือ นักกิจกรรมบำบัดสามารถวัดความพึงพอใจของบุคคลสู่การแปรผลในความจริงของชีวิตที่พิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ให้ยอมรับ/ไม่ยอมรับได้ (Acceptable/unacceptable thinking - completly change) หรือเกิดความเชื่อใหม่ (New belief) ในหลายระดับกระบวนการที่แตกต่างกันตามยุคสมัย ได้แก่

Modernism                                                             Postmodernism

Rational thought                                                     Irrational thought

Quantitative                                                           Qualitative

Universalism                                                           Particularism

Ground theories                                                      No ground theories

Meta-Narratives                                                      Micro-Narratives

Homogeneity                                                          Heterogeneity

Objective                                                               Subjective

Monotheism                                                           Polytheism

Cause-Effect (Explain phenomenon in the world)        Chance   

External reality (Outside yourself)                              Karma

Objective truth                                                        Subjective truth 

นักกิจกรรมบำบัดจึงควรตระหนักถึงการเคลื่อนไหวความคิดที่ผสมผสานยุคสมัยที่ Modernism และ Postmodernism โดย:-

  1. Approach needs & realities
  2. Relevant knowledge based
  3. Develop models of practice
  4. Rethink client-centerness
  5. Appreciating their concept of their daily lives

เดิมกรอบความคิดที่สัมพันธ์กันแบบเส้นตรงได้ปรับเปลี่ยนสู่บริบททางสังคมและวัฒนธรรมตามลำดับ เช่น ชีวิตและสุขภาพเปรียบเสมือนสายน้ำ ผนังดินรอบแม่น้ำเปรียบเสมือนปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคม ก้อนหินเปรียบเสมือนอุปสรรคต่อสภาพแวดล้อมของการใช้ชีวิต ท่อนไม้ซุงขนาดต่างๆ เปรียบเสมือนปัจจัยส่วนบุคคล เมื่อมองภาพตัดขวางและภาพกว้างของการไหลของน้ำสู่ทะเล ก็สะท้อนถึงสุขภาวะของทักษะความสามารถ/ศักยภาพส่วนบุคคลที่มีการปรับเปลี่ยนของความสามารถสูงสุดร่วมกับความช่วยเหลือของนักกิจกรรมบำบัดให้ผู้รับบริการสำรวจข้อจำกัดและรู้ถึงหนทางการแสดงความสุขความสามารถทำกิจกรรมที่มีความหมายในชีวิต

ดังนั้นควรแบ่งเวลาในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บริบททางสังคมและวัฒนธรรมของการดำเนินชีวิตระหว่างนักกิจกรรมบำบัดและผู้รับบริการ คือ

  • ทำความเข้าใจกรอบอ้างอิงที่ใช้ทางกิจกรรมบำบัด
  • สื่อสารการวางแผนเครื่องมือการประเมินและการรักษา
  • แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ส่งเสริมสุขภาวะในแต่ละบุคคล
  • เรียนรู้สื่อการบำบัดที่เพียงพอต่อความรู้ความเข้าใจเฉพาะบุคคล

 

 

หมายเลขบันทึก: 469717เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2011 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อาจารย์ป๊อบค่ะ มาเชียร์ให้สร้าง CoPs กิจกรรมบำบัดค่ะ จะขอเป็นสมาชิกด้วยค่ะ มีประสบการณ์จากการดูแลพ่อผู้เคยป่วยเป็นอัมพฤกษ์ค่ะ

ระบบ CoPs ชุมชนนักปฏิบัติ

ขอบคุณมากครับ อ.ดร.จันทวรรณ และได้สร้าง CoPs แล้วครับ และขอบคุณพี่ อ.ดร.ขจิต ครับ

ขอบคุณสำหรับบทความของอาจารย์ค่ะ ดิฉันได้เข้าใจและเรียนรู้ ในมุมมองการดำเนินชีวิตที่กว้างขึ้น นอกจากตัวเราสามารถทำกิจวัตรประจำวันของตนเองแล้ว ยังต้องคำนึงถึงบริบทสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา เราสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ และมีการปรับตัวให้เหมาะสมตามกาลเวลา นักกิจกรรมได้ให้ความสำคัญทั้งตนเอง ผู้อื่น และสังคมสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้แล้วยังคำนึงถึงคุณค่าทางจิตใจ ทำให้เกิดความสุขในการดำเนินชีวิต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท