44 คนแก่หกล้ม...ถึงตาย แต่ป้องกันได้


การหกล้มในผู้สูงอายุถือเป็นเรื่องน่ากลัว แต่...เราสามารถป้องกันได้

พี่ติ๊กเล่าว่า.... เมื่อประเทศใดมีอัตราการเพิ่มของผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป 10%   และอายุ 65 ปีขึ้นไป 7%  ถือว่าประเทศนั้นย่างเข้าเป็นสังคมผู้สูงอายุ    และจะก้าวเข้าเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวเมื่อเพิ่มขึ้นเป็น 20% และ 10% ตามลำดับ   สำหรับประเทศไทยเข้าสู้สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547  และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี 2567  ในอีก 12  ปีข้างหน้านี้เอง   โดยจำนวนประชากรสูงอายุจะมีสัดส่วนมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี พ.ศ.2563  มีการพยากรณ์ว่าจะมีผู้สูงอายุเกือบ 12 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 26 ของคนวัยทำงานหรือโดยภาพรวมระดับประเทศ ทุกๆ ครอบครัว ที่มีคนวัยทำงาน 3 คน จะมีผู้สูงอายุ 1 คน 

 

แต่ขณะจำนวนผู้สูงอายุกำลังเพิ่มขึ้น คนวัยทำงานที่จะมาดูแลผู้สูงอายุน้อยลง เพราะครอบครัวคนไทยนับวันจะเล็กลง เนื่องจากมีการคุมกำเนิดมากขึ้นมีลูกน้อยลง ขณะเดียวกันก็พบว่าผู้หญิงไม่สนใจการแต่งงานมากขึ้นถึง 33% และอาจจะเพิ่มขึ้นมากกว่านั้น    จึงเป็นเหตุให้ผู้สูงอายุจึงจำเป็นต้อง "พึ่งตนเอง" ในทุกด้าน เช่น  ….

 

  • ด้านหลักประกันรายได้ยามแก่ชรา    จากการศึกษาของ ผศ.ดร.นงนุช สุนทรชวกานต์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายว่า ปัจจุบันมีผู้สูงอายุจำนวนมากไม่มีบุตรหลานเลี้ยงดู เป็นที่พึ่ง รวมทั้งไม่มีเงินออมที่จะใช้ดำรงชีวิตในวัยชรา จึงต้องทำงานหารายได้เลี้ยงดูตนเอง 

 

 

  • ด้านสังคม  จากการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในสังคมไทยด้านสังคมและนันทนาการ พบว่า ผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 90 ยังร่วมกิจกรรมสังคมอยู่โดยส่วนใหญ่ร่วมเป็นครั้งคราว กิจกรรมที่ร่วมส่วนใหญ่จะเป็นกิจกรรมภายในชุมชน ได้แก่ งานบุญ งานประเพณี งานเทศกาล งานของเพื่อนบ้าน   แต่ปัญหาที่ผู้สูงอายุพบในการเข้าสังคมคือ ไม่มีเวลา ไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่มีพาหนะ และปัญหาสุขภาพ

 

  • ด้านจิตใจ   เนื่องจากสภาพร่างกายที่ทรุดโทรมลงตามกาลเวลา ส่งผลให้สุขภาพอ่อนแอ ช่วยเหลือได้น้อยลง  อีกทั้งผู้สูงอายุบางคนเกิดความรู้สึกในทางลบ  มองตนเองเป็นผู้ไร้ประโยชน์และเป็นภาระของสังคม  เกิดความสับสนทางอารมณ์ ทำให้ความเชื่อมั่นในตนเองลดน้อยลง  ท้ายสุดทำให้ผู้สูงอายุเหล่านี้อยู่ในภาวะอารมณ์เศร้า  ท้อแท้  ผิดหวัง และมีปมด้อย ซึ่งปัญหาเหล่านี้ถือเป็นปัญหาทางสังคมที่จะต้องช่วยกันเร่งแก้ไขโดยด่วน 

 

 

  • ด้านกายภาพของที่อยู่อาศัย  และชุมชนที่อยู่อาศัยไม่ได้เตรียมการรองรับสำหรับผู้สูงอายุ  เช่น ไม่มีราวจับสำหรับผู้สูงอายุ  ไม่มีทางเดินลาดสำหรับผู้สูงอายุ   ห้องน้ำไม่เหมาะสม   ตลอดจน ไม่มีที่ว่างสำหรับทำกิจกรรมต่างๆ  เช่น การออกกำลังกาย

 

  • ด้านสุขภาพ  จากสาเหตุซึ่งเกิดจาก 

-การเสื่อมถอยการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายและผลสะสมของพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ มะเร็ง ฯลฯ จากผลการสำรวจสุขภาพคนไทยโดยการตรวจร่างกาย พบว่าประชากรไทยมักไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคเรื้อรัง หรือกลุ่มที่รู้ว่าเป็นโรคเรื้อรังนั้นส่วนใหญ่ยังไม่สามารถควบคุมอาการและดูแลรักษาตนเองได้อย่างถูกต้อง ซึ่งภาวะดังกล่าว        มักนำมาซึ่งภาวะทุพพลภาพในที่สุด ทำให้มีภาวะพึ่งพิงในการดำรงชีวิต และต้องการได้รับการดูแลจากบุคคลในครอบครัวหรือสังคมต่อไป 

การถดถอยของสมรรถภาพทางกาย  เมื่ออายุมากขึ้นขนาดและปริมาณของกล้ามเนื้อจะลดลง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อขาจะลดมากกว่ากล้ามเนื้อแขน เมื่อเซลล์กล้ามเนื้อตายลงก็จะมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและไขมันเข้ามาแทนที่  ซึ่งส่งผลให้ความแข็งแรง และแรงที่เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อก็จะลดลงด้วย   ซึ่งผลที่ตามมาคือ ทำให้ผู้สูงอายุหกล้มได้ง่าย  และผลกระทบที่เกิดจากการหกล้มก็เป็นสาเหตุหลักให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมามาก    

 

 

 

จะเห็นว่าจากปัญหาดังกล่าวที่ผู้เขียนเล่ามา จำเป็นต้องมีผู้รับผิดชอบหลักเข้าไปดูแลในแต่ละด้าน     แต่ในที่นี้ผู้เขียนจะขอเขียนเฉพาะปัญหาทางด้านสุขภาพเพราะเป็นงานหลักที่ผู้เขียนและทีมงานต้องรับผิดชอบในการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ  เน้นการป้องกันมากกว่าการรักษา   

 

และเรื่องเล่าวันนี้ก็เป็นเรื่องเล่าที่เกิดจากความอยากรู้ของพี่ติ๊ก  หลังจากที่ย้ายมาทำงานที่คลินิกส่งเสริมสุขภาพซึ่งบริการหลัก คือ การตรวจสุขภาพประจำปีในทุกกลุ่มวัยเพื่อค้นหา   ป้องกันและเฝ้าระวังในเรื่องสุขภาพของผู้รับบริการ    พี่ติ๊กซึ่งได้รับมอบหมายรับผิดชอบงานผู้สูงอายุร่วมกับพี่ประทิน  สังเกตว่าแต่ละปีจะมีผู้รับบริการที่เป็นผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นทุกปีๆ   จึงได้ศึกษาภาวะสุขภาพผู้สูงอายุที่มารับบริการตรวจสุขภาพประจำปี   โดยเป็นการศึกษาเชิงพรรณนาและเก็บข้อมูลย้อนหลัง ในผู้สูงอายุที่มีอายุเท่ากับหรือมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ในช่วงเดือนตุลาคม  -กันยายน  2553  จำนวน  451  คน   และเนื่องจากปัจจุบันทางการแพทย์ได้หันมาสนใจปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการหกล้มในผู้สูงอายุมากขึ้น  ในการศึกษาครั้งนี้จึงได้เก็บข้อมูลเรื่องนี้ด้วย   พบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 17.8 มีประวัติหกล้ม  

 

พี่ติ๊ก (นางสาววิภาพร  เตชะสรพัศน์)

 

และเพื่อให้บริการที่สอดคล้องกับการศึกษาข้อมูลย้อนหลังของผู้รับบริการสูงอายุที่มารับบริการที่คลินิกส่งเสริมสุขภาพย้อนหลัง 1  ปี    ของพี่ติ๊ก  ในปี 2554 ที่ผ่านมา  ผู้เขียนและทีมงานก็ได้สานต่อกิจกรรมบริการในผู้สูงอายุต่อเนื่องแม้ว่าพี่ติ๊กได้ย้ายงาน (หนี)ไปรับผิดชอบงานด้านวิชาการของโรงพยาบาล   กิจกรรมบริการหนึ่งที่ทีมงานทำเพื่อรองรับปัญหาที่พบคือ  การพยายามลดการพึ่งพิงผู้อื่นของผู้สูงอายุและให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักยภาพ   โดยการส่งเสริมการป้องกันการหกล้ม  ด้วยการสอนและการทดสอบสมรรถภาพทางกายพร้อมให้คำแนะนำแก่ผู้รับบริการทุกคน  เพื่อให้  ผู้สูงอายุได้รับรู้สมรรถภาพและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันและประเมินความเสี่ยงที่ต้องพึ่งพิงผู้อื่นอย่างเหมาะสม

 

ในภาพแม็คกำลังสอนและทดสอบสมรรถภาพ

ผู้สูงอายุ 

 

น้องติ๋มกำลังสอนการป้องกันการหกล้ม

ในผู้สูงอายุ

 

เพราะเราตระหนักดีว่า  ผลเสียด้านสุขภาพที่ตามมาภายหลังการหกล้มในผู้สูงอายุนั้นอันตรายมาก  เราจึงให้ความสำคัญกับกิจกรรมนี้โดยเก็บเป็นตัวชี้วัดของงานด้วย  

 

ต่อมาประสบการณ์ได้สอนเราว่า    น่าจะเป็นการดียิ่งขึ้นถ้าเราสามารถทำให้ผู้สูงอายุไม่ล้มหรือล้มแต่ไม่มีอาการรุนแรง   ในปี 2555  จึงได้เกิดโครงการใหม่  คือ การเสริมสร้าง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการหกล้ม ”    โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่จะได้รับผลกระทบจากการหกล้มที่มีเพิ่มขึ้นทุกปี  เช่น กระดูกหัก  เดินไม่ได้  ทำให้เกิดการติดเชื้อต่างๆ และช่วยเหลือตนเองได้ลดลง   เนื่องจากผู้สูงอายุมีความรู้และสมรรถภาพทางกายที่แข็งแรง   ซึ่งในรายละเอียดและผลสรุปที่ได้จะนำมาเล่าในโอกาสต่อไป

 

จากเรื่องเล่าวันนี้  จะเห็นว่า พี่ติ๊กพี่สาวที่น่ารัก  เป็นเหมือนเฟืองตัวแรกที่พยายามหมุนและขับให้เฟืองตัวอื่นๆหมุนตาม    ผู้เขียนและทีมงานในคลินิกส่งเสริมสุขภาพเป็นเหมือนเฟืองตัวที่ถัดๆกันมา  ที่ถูกเฟืองตัวแรกออกแรงทั้งดึงและดันให้หมุนเกลียวตาม  เพื่อให้เกิดการสอดรับของการทำงานแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่แท้จริง

thank you          thank you     

ขอบคุณเฟืองตัวแรกและท่านผู้อ่านค่ะ

หมายเลขบันทึก: 469630เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2011 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีเจ้าปี้เขี้ยว

สบายดีนะเจ้า ดีใจหลายๆ ได้อ่านบันทึกนี้

ท่านสว. เราต้องช่วยดูแล ดีๆ

สุขสันต์ช่วงวันปลายฝนต้นหนาวนะเจ้า :)

  • เฟืองที่เป็นกลไกขององค์กร และเป็นอวัยวะสำคัญ (แขนขา) ของเรา ต้องหมั่นดูแลรักษาความสัมพันธ์ที่ดีไว้ให้แนบแน่นเลยนะคะ นึกถึงเพลงของพี่เบิร์ด "หมั่นคอยดูแล และรักษาดวงใจ..." ทำให้เกิดความรู้สึกดี ๆ กับทุกเฟืองที่อยู่ในองค์กรเดียวกันค่ะ
  • ระลึกถึงเสมอค่ะ  

ถึงวัยสูงอายุแล้วเหมือนกัน ต้องระวังและเตรียมตัว

บ้างแล้ว ขอบคุณมากนะคะ

 

 

จากคำพยากรณ์ ของน้องติ๊ก เราเป็นหนึ่งในนั้น คงต้องระวังระไว ไว้ก่อน

พี่เขี้ยวคะ 

ระวังหกล้มแล้วก็ระวังรักษาสุขภาพ (หนาวมาแล้ว)นะคะ อิอิ

สุขสันต์วันพ่อนะคะ ^_^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท