"ฟางข้าวกับการปลูกพืชบนคันนา"


สำหรับเกษตรกรที่ไม่มีเวลามาดูแลมากก็เป็นการลดการรดน้ำลง ทั้งนี้ยังเป็นการรักษาหน้าดินไปในตัวด้วย

    เมื่อย่างก้าวเข้าสู่หน้าแล้งในอีสานนั้นใครๆก็รู้ดีว่ามันสุดแสนจะทั้งแห้งและแล้งขนาดใหนในพื้นที่ที่ไม่มีแหล่งน้ำกักเก็บไว้ในหน้าฝน ไม่แปลกเลยที่ว่า ทำไมคนอีสานถึงอพยพเข้ามาทำงานในเมืองหลวงอย่างเช่น กรุงเทพฯ ซึ่งในแต่ละปีนั้นมีจำนวนมากมาย แต่มีผู้คนจำนวนหนึ่งที่ต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมอันโหดร้ายนี้ พวกเขาเหล่านั้น เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตเพื่อความอยู่รอดและเพื่อถ่ายทอดความรู้ทางด้านภูมิปัญญาต่างๆแก่รุ่นลูกหลานต่อไป

    ไม่ว่าคนนั้นที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ทั้งนี้ยังรวมถึง สัตว์เลี้ยงและพืชพันธุ์ต่างๆที่จะต้องทนต่อสถาพแวดล้อมย่างนี้ให้ได้เพื่อความคงอยู่ของเผ่าพันธุ์ของมันเช่นกัน

     ดังนั้นคนในภาคอีสานจะต้องมีการจัดการความรู้ต่างๆไม่ว่า จะเป็นเรื่องของ สัตว์เลี้ยง พืชพันธุ์ที่จะต้องหาพันธุ์ที่ทนทานต่อสภาพเช่นนี้ได้ เมื่อมีการจัดการพวกนี้ได้แล้วคนอีสานยังยังจะต้องจัดการเรื่องน้ำซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

     การปลูกพืชต่างๆจะต้องทำให้พื้นที่นั้นๆมีความชุ่มชื้นอยู่เสมออย่างเช่นว่า การปลูกพืชบนคันนาเมื่อปลูกในหน้าแล้งความชื้นในดินจะระเหยอกไปเร็วมากการแก้ไขของเกษตรกรก็คือ การเอาเศษฟางที่เหลือจากการกินของโคมาหรือฟางตามที่นาที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวมาปกคลุมโดยความหนาพอประมาณ  สำหรับเกษตรกรที่ไม่มีเวลามาดูแลมากก็เป็นการลดการรดน้ำลง ทั้งนี้ยังเป็นการรักษาหน้าดินไปในตัวด้วย

     

หมายเลขบันทึก: 46954เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2006 22:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 13:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เคยเห็นมีคนทำระบบท่อรดน้ำครับ ที่ริมเขื่อนลำปาว สูบน้ำแล้วปล่อยตามท่อ ที่โคนต้นจะมีกองฟางเช่นกัน แต่ต่อท่อรดน้ำไปด้วย บ้านคุณไลใช้ท่อหรือเปล่าครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท