บทคัดย่อโปรแกรมควบคุมเบาหวานแบบสมัครใจ


งานวิจัย

 

บทคัดย่อ 

เรื่อง   โปรแกรมควบคุมเบาหวานแบบสมัครใจ (โครงการลดหวาน คุมน้ำหนัก ปลอดโรค )

ชื่อหน่วยงาน/เจ้าของผลงานวัลย์ลดา เลาหกุล และทีมงานห้องตรวจประกันสังคม  โรงพยาบาลสมุทรสาคร

หลักการและเหตุผล : ปัญหา สาเหตุ ความต้องการพัฒนา

                   จากการศึกษาประเมินผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่ห้องตรวจประกันสังคมช่วงเดือนมกราคม 2553 ถึงเดือนเมษายน  2553 พบว่าผู้ป่วยเบาหวานยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และมีน้ำหนักมากเกินมาตรฐาน  ระดับน้ำตาลในเลือดไม่คงที่  ผู้ป่วยไม่ชอบการเข้ากลุ่ม  กลัวเสียเวลาในการทำงาน จึงส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้  จึงทำให้ทีมงานของห้องตรวจประกันสังคม   คิดสร้างโปรแกรมควบคุมเบาหวานขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยมีทางเลือกในการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง โดยให้ผู้ป่วยเป็นผู้เลือกโปรแกรมเองแบบสมัครใจ  เนื่องจากการศึกษาพบว่า การส่งผู้ป่วยเข้ากลุ่มเบาหวานในบางกรณี ก็ไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้  ผู้ป่วยยังมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองน้อย  อีกทั้งรูปแบบการให้ความรู้แบบกลุ่ม ยังไม่สามารถจูงใจให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ เนื่องจากผู้ป่วยบางรายยังไม่พร้อมที่จะมาเข้ากลุ่มเบาหวานที่ศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังของโรงพยาบาล  ทำให้ผู้ป่วยขาดความรู้ในการดูแลตนเอง อีกทั้งงานแผนกผู้ป่วยนอกมีผู้ป่วยจำนวนมาก ทางทีมงานห้องตรวจประกันสังคมจึงปรับรูปแบบการให้ความรู้โรคเบาหวานเป็นรูปแบบของโปรแกรมควบคุมเบาหวานแบบสมัครใจ เพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาที่พบและตรงความต้องการของผู้ป่วย   และพัฒนางานจนเป็นรูปแบบโปรแกรมควบคุมเบาหวานอีกทางเลือกหนึ่ง เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบสมัครใจ  โดยผู้ป่วยเป็นผู้เลือกโปรแกรมควบคุมเบาหวานเองแบบสมัครใจ

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่ห้องตรวจประกันสังคมสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้นแบบสมัครใจ
  2. เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยตนเองแบบสมัครใจ
  3. เพื่อให้ผู้ป่วยมีทางเลือกในการดูแลสุขภาพและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างถูกวิธี
  4. เพื่อให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบสมัครใจในการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
  5. เพื่อพัฒนางานคุณภาพของหน่วยงานสู่งานวิจัย  ให้เกิดรูปแบบโปรแกรมควบคุมเบาหวานในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบสมัครใจ

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

  1. ค่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลงหรือน้อยกว่า 140 mg% หรืออยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน( FBS 70-125 mg% ) มากกว่าร้อยละ 80
  2. ผู้ป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพในการดูแลสุขภาพตนเองดีขึ้น มากกว่าร้อยละ 80 ( ประเมินจากแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพของกรมอนามัย )

วิธีดำเนินการ:รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล

       1.   คัดกรองผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้คงที่  หรือมีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 140 mg%  และมีค่า BMI เกินมาตราฐาน(ค่ามากกว่า 25 กก./เมตร2) ไม่จำกัดเพศและอายุ โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม  2553 ถึง 31 สิงหาคม 2553 จำนวน 45 คน

         2.   แนะนำทางเลือกในการดูแลสุขภาพ โปรแกรม ควบคุมเบาหวานแบบสมัครใจ  หากผู้ป่วยไม่พร้อมในการเข้ากลุ่มเบาหวาน ทางทีมงานก็แนะนำโปรแกรมควบคุมเบาหวานแบบสมัครใจให้ผู้ป่วยเบาหวานเป็นผู้เลือกโปรแกรมเอง โดยมีโปรแกรมควบคุมเบาหวานแบบสมัครใจให้เลือก  3 โปรแกรม คือ

             2.1 โปรแกรมควบคุมอาหารแบบสัดส่วน

             2.2 โปรแกรมการออกกำลังกาย

             2.3 โปรแกรมควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกาย

         3.   เมื่อผู้ป่วยเลือกโปรแกรมตามที่ต้องการ   ทางทีมงานจะแนะนำให้ความรู้ พร้อมคู่มือผู้ป่วยเบาหวาน  และวิธีการดูแลสุขภาพด้วยตนเองที่เหมาะสมกับสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถนำไปปฎิบัติเอง และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตนเองตามโปรแกรมที่ผู้ป่วยเลือก

         4.   นัดตรวจระดับน้ำตาลในเลือดตามแผนการรักษาของแพทย์ หรือนัดตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทุก 1 เดือน  เพื่อติดตาม ประเมินผลระดับน้ำตาลในเลือด หลังเลือกโปรแกรมควบคุมเบาหวานแบบสมัครใจ

         5.   หลังผู้ป่วยเลือกโปรแกรมควบคุมเบาหวาน แบบสมัครใจ  และทดลองโปรแกรม ครบ 3 เดือน ทางทีมงานจะนัดตรวจสุขภาพเพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหาร(FBS) ตามแผนการรักษาเพื่อประเมินผลของโปรแกรมควบคุมเบาหวานแบบสมัครใจ เปรียบเทียบก่อน-หลังทำตามโปรแกรมที่ผู้ป่วยเลือกเองแบบสมัครใจ  พร้อมให้คำแนะนำ คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยเบาหวาน

         6.  ทีมงานของห้องตรวจประกันสังคม ประชุมและประเมินผลของโปรแกรมควบคุมเบาหวานแบบสมัครใจ เพื่อนำมาพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานของห้องตรวจประกันสังคมต่อไป

 

 

 

ผลการดำเนินการ และการนำไปใช้

              ผู้ป่วยที่เลือกโปรแกรมควบคุมเบาหวานแบบสมัครใจ จำนวน 45 คน เปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังทดลองโปรแกรมควบคุมเบาหวานนัดครั้งที่ 2 พบว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงจากเดิม จำนวน  40 คน คิดเป็นร้อยละ 88.89    ผู้ป่วยเบาหวาน  อีก  5  คน  ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เนื่องจากไม่ได้ปฎิบัติตามโปรแกรมที่เลือกอย่างสม่ำเสมอ คิดเป็นร้อยละ 11.11    จึงให้คำแนะนำกับผู้ป่วยพร้อมนัดมาตรวจครั้งที่ 3  อีกครั้งพบว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงจากเดิม จำนวน  43 คน คิดเป็นร้อยละ 95.56    ผู้ป่วยเบาหวาน  อีก  3  คน  ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เนื่องจากไม่ได้ปฎิบัติตามโปรแกรมที่เลือกอย่างสม่ำเสมอ คิดเป็นร้อยละ 4.44  ( จากข้อมูลผลของโปรแกรมแต่ละโปรแกรม ตามเอกสารแนบท้าย)  และผู้ป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพในการดูแลสุขภาพตนเองดีขึ้นจำนวน  42 ราย คิดเป็นร้อยละ 93.33

               ดังนั้นโปรแกรมควบคุมเบาหวานนี้  สามารถนำไปใช้ในการควบคุมเบาหวานได้ดีในรายที่สมัครใจทำตามโปรแกรมควบคุมเบาหวานอย่างสม่ำเสมอ ผู้ป่วยจึงจะมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง  มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น  มีความรู้เข้าใจในการควบคุมอาหารแบบสัดส่วนมากขึ้น  ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานที่เลือกโปรแกรมควบคุมเบาหวานแบบสมัครใจสามารถดูแลสุขภาพ และมีกำลังใจในการดูแลสุขภาพด้วยตนเองได้ดี    ทั้งยังสามารถใช้เป็นแนวทางในการกำหนดการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่สอดคล้องกับลักษณะงานบริการผู้ป่วยนอก รวมทั้งตรงความต้องการและรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย  ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด   และสามารถนำไปพัฒนางานวิจัย    โดยนำรูปแบบการดูแลผู้ป่วยมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาโปรแกรมต่างๆ ที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน  อันจะส่งเสริมให้เกิดการจัดการความรู้และรูปแบบการให้บริการที่มีประสิทธิภาพภายในโรงพยาบาลสมุทรสาครและขยายผลไปสู่โรงพยาบาลอื่นๆที่มีความสนใจต่อไป ( และในปัจจุบัน บุคลากรที่กำลังศึกษาระดับปริญญาโท ของโรงพยาบาลสมุทรสาครได้มีการนำรูปแบบโปรแกรมไปพัฒนางานและสร้างเป็นงานวิจัยในหัวข้อ   “ผลของโปรแกรมการควบคุมเบาหวานที่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีส่วนร่วมแบบสมัครใจ ต่อระดับน้ำตาลในเลือด”   ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการทำวิทยาพนธ์ของนักศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยคริสเตียน )           

 

ตารางแสดงผลระดับน้ำตาลในเลือดก่อน-หลังทดลองโปรแกรมควบคุมเบาหวานแบบสมัครใจ

 

ผู้ป่วยที่เลือกโปรแกรม

ควบคุมเบาหวานแบบสมัครใจ

โปรแกรมควบคุมอาหาร

โปรแกรมการออกกำลังกาย

โปรแกรมควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกาย

FBS ครั้งที่ 1

FBS

ครั้งที่ 2

FBS

ครั้งที่ 3

FBS

ครั้งที่ 1

FBS

ครั้งที่ 2

FBS

ครั้งที่ 3

FBS ครั้งที่ 1

FBS

ครั้งที่ 2

FBS

ครั้งที่ 3

1

161

135

116

150

156

125

211

138

117

2

163

132

140

151

121

146

195

160

118

3

145

133

72

140

139

157

221

170

137

4

147

116

126

187

126

147

150

146

127

5

156

120

99

153

116

110

286

154

153

6

279

200

179

157

131

139

169

144

124

7

203

179

158

150

146

103

208

159

147

8

151

134

134

150

136

133

221

148

137

9

173

175

111

148

272

142

176

155

157

10

224

183

147

255

85

83

221

148

136

11

175

155

148

215

143

136

140

134

100

12

165

97

83

165

166

140

176

127

128

13

144

127

120

151

140

154

148

139

134

14

266

88

98

176

115

81

227

204

181

15

150

120

121

143

165

181

154

109

131

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 469425เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2011 12:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณคะ ความคิดริเริ่ม "ความสมัครใจ" น่าสนับสนุนให้มีการขยายผลต่อไปคะ

รบกวนถามสองข้อคะ

1. สนใจรายละเอียด วิธีการให้ผู้ป่วยร่วมตั้งเป้าและแนวปฎิบัติเองคะ

2. ผลการดำเนินงาน เท่าที่ดูผลน่าประทับใจที่ 90% น้ำตาลในเลือดลดลงและพฤติกรรมดีขึ้น

ทั้งนี้ หากมีผลของกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับ intervention ใดๆ มาเปรียบเทียบด้วย (เข้าใจว่าอาจมีในวิจัย ป.โท) ก็จะช่วยในการตัดสินใจยิ่งขึ้นคะ..รวมทั้งปัจจัยกวน ที่น่าสนใจเช่นแต่ละเดือนมีการปรับระดับยา/อินซูลิน ขึ้นลงหรือไม่

เป็นกำลังใจคะ :-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท