ตามรอยพระพุทธเจ้า


น่าคิดสะกิดใจ ข้อเขียนเพื่อธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก
 
                                     
                                              ท่านอ่านจากเว็บโดยตรงได้ โดยคลิกเว็บสู่เนื้อหาทันที
                                                      http://www.nature-dhrama.com
ท่านพบเนื้อหาอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อแนวคิดสังคมใหม่ ฝากข้อคิดผ่านเว็บด้วยเป็นพระคุณยิ่ง

            สัจธรรมข้อหนึ่งคือมนุษย์ทุกคนต่างแสวงหาความสุข ตั้งแต่มีมนุษย์มาถึงปัจจุบัน เชื่อแน่เหลือเกินว่ามนุษย์ทุกยุคทุกสมัยต่างดิ้นรนเพื่อแสวงหาความสุข จากหลักฐานการกระทำต่าง ๆ ที่ได้พบ ไม่ว่าภาพจิตรกรรมในถ้ำ   ซากปรักหักพัง   โบราณสถาน    หรือสถานที่ที่ถูกกลบฝังอยู่ใต้พื้นดิน หรือหลักฐานอื่น ๆ
ที่พอวิเคราะห์ได้ว่า   นั่นเป็นการแสวงหาความสุขของมนุษย์

         การจัดตั้งเป็นกลุ่ม เป็นพรรค เป็นพวกก็เพื่อหาแนวทางการอยู่อย่างมีสุข   การตั้งลัทธิ    ตั้งเป็นศาสนาก็เพื่อแสวงหาความสุข    ลัทธิการเมือง ระบอบการเมืองที่เกิดขึ้นก็เพื่อแสวงหาความสุขเช่นกัน  แต่นั่นทุก ๆ อย่างที่กล่าวมามันสุขจริงหรือไม่ อย่างไร เมื่อตั้งระเบียบกฎเกณฑ์แล้วยึดปฏิบัติกันจริงจังหรือไม่ มากน้อยเพียงไร   ถูกต้องตามแนวที่วางไว้หรือไม่ อย่างไร นี่คือตัวแปรสำคัญเช่นกัน   ตัวแปรนี้เองที่ว่าแสวงหาความสุข   แต่กลับพบความทุกข์

         มาจนถึงปัจจุบันมนุษย์ก็ยังไม่พบสิ่งที่แสวงหาได้อย่างแท้จริง ทั้ง ๆ ที่สิ่งที่เรากำลังแสวงหานั้นมีผู้พบแล้ว พบหลักการในเรื่องการดำรงชีพของมนุษย์ หรือจะพูดว่าพบสัจธรรมในการดำรงชีพของมนุษยก็ได้   แต่เรามองข้าม ไม่นำเป็นหลักยึดในการปฏิบัติ นั่นคือหลักธรรมของศาสนาพุทธ ที่ไอน์สไตน์เรียกว่า
"ศาสนาสากล"

         ศาสนาสากลได้เกิดขึ้นแล้ว เกิดมานับพันปีแล้ว ได้มีผู้ปฏิบัติแล้ว ได้ค้นพบแล้ว ว่านั่นคือความสุขที่แท้จริง แต่เราก็มองข้าม  ไม่ได้ยึดเอาหลักสัจธรรม หรือนำหลักการมาปฏิบัติเพื่อมนุษย์ด้วยกันอย่างเป็นรูปธรรม  และสืบเนื่อง   นั่นเพราะเรากำลังหลงผิด เนื่องจากถูกมอมด้วยลัทธินิยมวัตถุจากชาวตะวันตก

         อันที่จริงพวกชาวตะวันออกเป็นกลุ่มชนที่ถูกหล่อหลอมมาด้วยธรรมะ กลุ่มชนที่ศึกษา และคลั่งไคล้เรื่องจิตวิญญาณ ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่ถูกทางที่สุด ครั้นเมื่อชาวตะวันตกซึ่งเป็นกลุ่มชนที่ฝักใฝ่ หรือมีพื้นฐานความรู้ การคิดค้นก้าวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์ ถูกปลูกฝังนิสัยให้เริ่มหลงทางโดยมองเรื่องวัตถุว่าุนี่คือสิ่งประโลมใจ นี่คือสิ่งที่หยิบยื่นความสุข    และก็ถูกหล่อหลอมจิตใจจนคลั่งวัตถุ ที่เรียกว่าลัทธินิยมวัตถุก็ว่าได  ้ จากนั้นก็แสวงหาวัตถุด้วยการสร้างอาณาจักร    สร้างอาณานิคม สู่ชาวตะวันออก   จนชาวตะวันออกที่เคยคลั่งไคล้เรื่องทางจิต เริ่มเปลี่ยนมาคลั่งทางวัตถุบ้าง สะสมความคิด ความเชื่อกันมายาวนาน จนที่สุดก็เข้ามาอยู่ในระบบการเมือง รัฐบาลทุกประเทศถูกปลุกปั่นให้เดินตามกระแสความต้องการ ความนิยมของโลก คือการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ นั่นคือการแข่งขันด้านวัตถุนี้เอง ทั้งโลกก็พลอยติดบ่วง "นิยมวัตถุ" จนฝังไว้ในสายเลือด จึงยากที่จะเกิดความรู้สึกซาบซึ้งในรส ในมูลเหตุ ในผลของสัจธรรมที่เกี่ยวกับเรื่องการดำรงชีพของมนุษย์ได้อย่างละเอียดพิสดาร

        พระพุทธเจ้าคือตัวแทนที่ปฏิบัติธรรมตามหลักศาสนาสากล พระพุทธเจ้าเป็นผู้นำให้เรายึดแนวทางการดำรงชีพที่ถูกทางเพื่อมุ่งสู่ความสันติสุขอย่างแท้จริง และยั่งยืน

        พระพุทธเจ้าคือตัวแทนของนายทุน พระพุทธเจ้าคือตัวแทนของทุนนิยมที่กลับใจ   ที่พูดเช่นนี้ขอให้ท่าน ได้ทบทวนถึงพุทธประวัติ พระพุทธเจ้าอยู่ในตระกูลราชวงศ์ พระองค์มีทรัพย์สมบัติมากมาย มีผู้รับใช้มากมาย ต้องการอะไรได้ทั้งนั้น การมีมีทรัพย์สินเงินทองมากมายอย่างที่ปรากฏในพุทธประวัติ    นั่นพอสรุปเป็นข้อสำคัญว่า นี่เป็นการจงใจบอกว่า พระพุทธเจ้าคือ ตัวแทนของ "นายทุน" ตัวแทนของ "ทุนนิยม" ตัวแทนของ "วัตถุนิยม" ที่กลับใจ  กลับใจในที่นี้คือยอมเปลี่ยนใหม่ไปสู่ที่ดีขึ้น่

        ถ้าเรามองพระพุทธเจ้าอย่างไร้ธรรมะ ไร้สัจธรรม คือมองแบบทั่ว ๆ ไป แบบผิวเผิน เมื่อเห็นว่าร่ำรวย อยู่บนกองเงินกองทอง  ก็ด่วนสรุปอย่างง่าย ๆ พื้น ๆ ทันทีว่า พระพุทธเจ้านั่นมีความสุข     แต่ทำไมพระองค์ตรัสในทำนองว่า    "นั่นไม่ใช่หนทางของความสุข"    นี่คือจุดที่มาที่พระพุทธเจ้าทรงแจ้งถึง   "หลักธรรม" หรือบอกหัวใจของศาสนาพุทธว่า การดำรงชีพที่ถูกต้องของมนุษย์ เพื่อสันติสุขที่แท้จริงต้องทำอย่างไร

      ตัวแทนของศาสนาสากล ซึ่งหมายถึงพระพุทธเจ้า ออกมาอธิบายชี้แจงในทำนองว่า "การดำรงชีพเช่นนี้ การอยู่เช่นนี้ของมวลมนุษยชาติไม่ใช่หนทางของความสุขเลย" ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงหนีออกบวช นั่นคือการแสวงหาธรรมะเพื่อนำข้อธรรมะต่าง ๆ  หบิบยื่นให้มวลมนุษยชาติ   จากพุทธประวัติได้ชี้ให้เห็นว่าพระองคทรง์ค้นหาสัจธรรม ด้วยหลากหลายวิธ   ี ค้นหาด้วยความไตร่ตรอง   นั่นบ่งบอกว่าสิ่งที่พบแล้ว   นี่เป็นหลัก เป็นแนวทางที่ถูกต้องอย่างแท้จริง

      ถ้าจะตีความของการออกบวชของพระพุทธเจ้าก็คือ การไม่ยึดวัตถุ การไม่เอาทรัพย์สิน เงินทอง มาเป็นเครื่องบำเรอความสุขทางกาย ซึ่งพระอวค์ทรงตระหนัก ว่าเป็นเรื่องไม่ถูก   ไม่ควร   คือไม่ใช่สัจธรรม  นั่นหมายถึงความสุขที่ผิด  ที่ว่ากันนั้นเป็นสิ่งหลอกลวง เป็นสิ่งจอมปลอม ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง เล็งเห็นว่ามันไม่ใช่สัจธรรม

       สัจธรรมในการดำรงชีพของมนุษยชาติ    คือการดำรงอยู่ด้วยจิตวิญญาณ    ความสุขทางด้านจิตใจเป็นเรื่องละเอียดอ่อน    และเป็นหัวใจสำคัญที่สุด ส่วนประกอบด้านกายในเรื่องต่าง ๆ เป็นเพียงส่วนประกอบเพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้ ความต้องการส่วนประกอบทางกายแค่มีพอเพียง หรือพูดอีกอย่างว่า "พอเพียง" เท่านั้นเอง ความสุขแท้จริง และยั่งยืน    จึงอยู่ที่เรื่องทางจิตวิญญาณเสียมากกว่า    หากท่านไตร่ตรองด้วยวิจารณญาณแล้วท่านจะพบสิ่งที่ว่านั้นถูกต้องจริง ๆ

      สัจธรรมที่พระองค์ทรง ค้นพบ คือเรื่องของ "ตัวธรรมชาติ" ธรรมชาติก็คือ "ธรรมะ" นั่นเอง ซึ่งเกี่ยวข้องใน 4 ประการดังนี้

1. ธรรมชาติ
2. กฎของธรรมชาติ
3. หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ
4. ผลจากหน้าที่

ขอนำคำอธิบายของท่านพระพุทธทาส ประกอบ (ในเรื่อง 4 ประการ)

1. ธรรมะ คือตัวธรรมชาติที่ปรากฏ
2. ธรรมะ คือกฎของธรรมชาติ ที่ควบคุมธรรมชาติเหล่านั้นอยู่
3. ธรรมะ คือการปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ
4. ธรรมะ คือผลที่จะได้รับจากการปฏิบัตินั้น ๆ 

        เมื่อรวม 4 ประการนี้เข้าด้วยแล้ว มันจะไม่พ้นในเรื่องของ "อริยสัจ 4" ซึ่งต้องรู้จักตัวทุกข์ รู้เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ รู้สิ่งที่ตรงข้ามกับการเกิดทุกข์ รู้วิธีปฏิบัติให้ได้สิ่งนั้นมา นี้เรียกว่า "ธรรมที่จะช่วยดับทุกข์โลก" นี่คือหัวใจของหลัก "ศาสนาสากล" จากตรงนี้เองที่ธรรมะบัญญัติไว้ถึง 84,000 ธรรมขันธ์

        ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ถึง 840,00 ธรรมขันธ์ นั้นคือการรักษา การฟื้นฟูจิตใจให้อิ่มด้วยคุณธรรม เพื่อดับทุกข์ และเข้าถึงความสุขที่แท้จริง เมื่อมนุษย์ยึดหลักการอยู่ร่วมด้วยธรรมะ ยึดความสุขแท้จริง คือความสุขด้านจิตวิญญาณอย่างนี้ก็ไม่มีวันที่จะเบียดเบียนกันเอง หรือไปเบียดเบียนธรรมชาติได้เลย ทุกคนคงเห็นประจักษ์แล้วว่าปัจจุบันมนุษย์มีแต่ความเดือนร้อนวุ่นวายไปทั้งโลก ซึ่งนั่นคือความทุกข์ เราจึงต้องดับทุกข์ด้วยมูลเหตุแท้จริง อย่างที่พระพุทธเจ้า "ทรงค้นพบแล้ว" นั่นเอง

        การยึดวัตถุ ยึดเงินทองเพื่อเป็นหนทางบำเรอความสุข ล้วนแต่ทำให้มนุษย์เบียดเบียนด้วยกันเอง และขณะเดียวกันก็เบียดเบียนธรรมชาติ ปัจจุบันที่เกิดปัญหาด้านต่าง ๆ มากมายในสังคม เกิดจากปัญหาระหว่างมนุษย์ด้วยกัน และปัญหาสภาพแวดล้อม  ปัญหาทั้งปวงที่เกิดต่อธรรมชาติี้ล้วนเกิดจากการกระทำของมนุษย์ทั้งสิ้น เนื่องจากหลงผิด    คือหลงผิดเรื่องลัทธิทุนนิยม     ลัทธิวัตถุนิยม   มันจึงไม่ใช่สัจธรรมที่พระองค์ค้นพบ และ ที่พระองค์ทรงสั่งสอนไว้

        พระพุทธเจ้าจึงทรงสั่งสอนให้หนีห่างจากวัตถุนิยม ดังที่พระองค์ได้ปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรม จากนั้นก็อบรมบ่มใจในเรื่องของจิตวิญญาณ เราอาศัยพึ่งพาวัตถุ แต่ความจำเป็น เพียงเพื่ออยู่รอดเท่านั้น ถ้าจะพูดแบบรวมความคืออยู่อย่างพอเพียง พอเพียงในที่นี้คือพอมีพอกิน ไม่ต้องใช้เงินใช้ทอง ไม่ต้องยึดอะไรเป็นทรัพย์สินของตัว สิ่งสำคัญคือเรื่องของจิตวิญญาณเป็นหลัก นั้นไม่ได้หมายความว่าต้องออกบวช การออกบวชคงหมายถึงการแสวงหาธรรม การปฎิบัติธรรมเพื่อให้มีศีลธรรมอยู่ในจิต อยู่ในสายเลือดของทุกคนเพื่อนำมาซึ่งการอยู่ร่วม ดำรงชีพร่วมกันอย่างถูกต้องนั้นเอง

       การที่มีประเพณีบวชในพุทธศาสนาก็เพื่อให้ได้ศึกษาธรรมก่อนที่จะครองเรือนนั่นเอง แต่เรายังหลงทาง คือบวชด้วยความจำเป็น บวชด้วยประเพณี ไม่ได้บวชเพื่อเข้าไปศึกษาธรรม เรามีหน่วยงานรับผิดชอบเรื่องนี้แต่ก็ยังหลงทาง ไม่ได้มองเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ทั้ง ๆ ที่นี้เป็นแก่นแท้ของชีวิต ไม่ได้นำแก่นแท้ของศาสนาสากลมาสอนมาเรียน อันที่จริงวัดน่าจะเป็นโรงเรียนสุดท้ายที่สอนวิชาชีพให้ในเรื่องธรรมะ แล้วได้นำมาใช้ในชีวิตครองเรือนตามแบบหลัก "ศาสนาสากล"

      ตัวอย่างที่เราควรศึกษา ซึ่งหลายคนมองข้าม อันนั้นคือการดำรงชีพในระบบของสัตว์ทั่ว ๆ ไป สัตว์อยู่อย่างพอเพียง อยู่อย่างมีสัจธรรม ไม่ทำลายธรรมชาติเกินความจำเป็น อยู่อย่างนี้ความสมดุลทางธรรมชาติก็ยังสภาพเดิมที่อยู่ควบคู่กันไป นี่ก็อยู่ในหลักธรรมของ "ศาสนาสากล" เราจึงต้องศึกษา และนำมาปรับปรุงพัฒนา เพื่อยึดเป็นแบบอย่าง ที่จะอยู่อย่าง "ธรรมชาติ"   "อยู่อย่างธรรมะ"

     นี่ถ้ามนุษย์มีสมองเท่ากับสัตว์ทั่ว ๆ ไปแล้ว เรื่องปัญหาต่าง ๆ ในโลกนี้ก็ไม่เกิดขึ้น ที่มันเกิดเพราะมนุษย์มีความฉลาดกว่าสัตว์คิดค้นอะไรได้มากกว่าสัตว์ อย่างไรก็ดีหากสิ่งที่คิดค้นเหล่านั้นนำมาใช้ให้ถูกวิธี ในเรื่องการดำรงชีพที่เป็นสัจธรรมแล้ว ก็คงไม่มีปัญหาอะไรเกิดตามมามากมายอย่างที่ปรากฏ ปัญหาที่เกิดเนื่องจากความรู้ที่คิดได้ทางวิทยาศาสตร์ล้วนนำมาแสวงหาผลประโยชน์   บำเรอความสุขที่หลอกลวง จนเกินความพอดี และส่งผลถึงความไม่สงบ ส่งผลกระทบในความวุ่นวายหลาย ๆ ด้านตามมานั่นเอง

     แท้จริงมนุษย์ต่างแสวงหาความสุข เพียงแต่หลงทาง จากข้อคิดเห็นข้างต้นซึ่งเป็นส่วนหนึ่งน่าจะช่วยสะกิดใจ เกิดปัญญาได้บ้าง แล้วหันมาทบทวน ไตร่ตรอง และในที่สุดร่วมกันสร้างสรรค์ "ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก" สร้างสรรค์ "ธัมมิกสังคมนิยม" และในที่สุดเข้าสู่ "พระศรีอาริย์" นี่คือสัจธรรมในการอยู่ร่วมของมวลมนุษยชาติ ถึงวันนั้นเราก็จะพบความสันติสุขที่ยั่งยืน

หมายเลขบันทึก: 469423เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2011 12:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กันยายน 2012 10:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีคุณวันเพ็ญ เป็นพระคุณยิ่งครับ

นมัสการธรรมหรรษา เป็นพระคุณยิ่งครับ

เรื่องตามรอยพระพุทธเจ้า มีผู้อ่านมาก ผมฝันก็ไม่รู้ "ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก" เริ่มใกล้ความจริง http://www.nature-dhrama.com

แวะมาตามรอยพุทธองค์ครับผม

พร้อมนำภาพมาฝากครับ


สวัสดีครับ มีผู้สนใจเรื่องนี้มาก เป็นพระคุณยิ่ง ฝากข้อคิดผ่านเว็บด้วยยินดีครับ http://www.nature-dhrama.com

ท่านเปิดเว็บ http://www.nature-dhrama.com มีเรื่องของท่านพระพุทธทาสหลากหลาย

ขอบพระคุณ อาจารย์ โสภณ เป็นอย่างยิ่ง สำหรับกำลังใจครับ

สวัสดีครับ เรื่องนี้มีผู้สนใจมากเป็นพิเศษ ผมจะแต่งบทกลอน "ตามรอยพระพุทธเจ้า" ในเนื้อความแนวนี้ โปรดรอคอยครับ จุดมุ่งหวังเพื่อให้เราได้สัมผัส "ธรรมะ แก่นธรรมะ ของ พระพุทธเจ้า แล้วนำมายึดปฏิบัติอย่างจริงจังครับ"

สวัสดีครับคุณวันเพ็ญ เป็นพระคุณยิ่งครับ

ขอบพระคุณทุกท่านสำหรับกำลังใจครับ

สวัสดีครับ มีกำลังใจมาก มีผู้สนใจเรื่องนี้มาก ที่จะถอยหลังสู่ "ธรรมชาติธรรม"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท