วิชาการ การตรวจพิเศษเต้านม 2554


การตรวจพิเศษเต้านม

ในช่วงพักกลางวัน 1 ชั่วโมง หน่วยรังสีวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา มข. มีกิจกรรมทบทวนการให้บริการต่างๆ สำหรับผู้ปฎิบัติงานภายในหน่วย เช่นในวันนี้มีการทบทวนการตรวจพิเศษทางเต้านม ผู้เขียนขอคัดการบรรยายบางส่วนมานำเสนอสมาชิกชาวรังสีเทคนิคและผู้สนใจ....

ตามมาชมด้วยกันเลยค่ะ

ล่าง ทีมสมาชิกผู้จัด และ ผู้ร่วมบรรยาย มี อาจารย์ จิราภรณ์ รังสีแพทย์(นั่งกลาง) เป็นหัวหน้าทีม ในวิชาการวันนี้

สมาชิกสหสาขาวิชาชีพลงทะเบียนก่อนเข้าฟัง

ขอกล่าวถึงวิธีการตรวจเต้านมในท่ามาตรฐานเพื่อเป็นการทบทวนความรู้ก่อนค่ะ

การตรวจเต้านมด้วยเครื่องเอกซเรย์ หรือ การตรวจแมมโมแกรม มีท่ามาตรฐาน 2 ท่า ที่ใช้ในการตรวจ คือ

1.ท่าด้านตรง เรียกว่า cranio-caudal view หรือ CC view

2. ท่าด้านข้าง medio-lateral oblique view

หรือ MLO view (ภาพล่างตามลำดับ)

ccmlo

เมื่อพบสิ่งผิดปกติจากผลการตรวจเอกซเรย์แมมโมแกรม ในท่ามาตรฐาน ทั้ง 2 ท่าแพทย์จะส่งผู้ป่วยเพื่อมานัดตรวจทางรังสีวินิจฉัยเพิ่ม เพื่อเป็นการรักษาต่อ

โดยเรียกการตรวจนี้ว่า needle biopsy เป็นการตรวจเพื่อเจาะเอาชิ้นเนื้อเต้านมส่วนที่สงสัยไปตรวจพิสูจน์ทางพยาธิวิทยาเพื่อหาแนวทางในการรักษาต่อไป แบ่งการตรวจออกเป็นดังนี้

การตรวจชนิดที่1. เป็นการตรวจชิ้นเนื้อโดยใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์เพื่อหาตำแหน่งของก้อนเนื้อ(cyst or mass)เต้านม ที่เห็นชัดเจน จากการตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์เฉพาะ ในรายที่ไม่ใช่ก้อนหินปูนหรือแคลเซี่ยม

การเตรียมก่อนตรวจ ต้องทำการถ่ายภาพแมมโมแกรม และ ตรวจอัลตร้าซาวด์ เพื่อนำภาพ มาเปรียบเทียบในการหาตำแหน่ง เพื่อความแม่นยำก่อนทุกครั้ง


ล่าง รังสีแพทย์ทำการวาง probe ultrasound เพื่อหาตำแหน่งของก้อนและทำการเจาะชิ้นเนื้อเพื่อนำไปส่งตรวจทางพยาธิวิทยา

ล่าง ชิ้นเนื้อที่ได้จากการเจาะ นำมาบรรจุขวด ก่อนส่งตรวจ

การตรวจชนิดที่2. เป็นการตรวจชิ้นเนื้อเต้านมที่เป็นหินปูน หรือ แคลเซี่ยม โดยการวางเส้นลวดเพื่อหาตำแหน่งก้อนเนื้อ ก่อนส่งผู้ป่วยต่อเพื่อทำการตัดชิ้นเนื้อที่ห้องผ่าตัด ส่วนใหญ่ทำในรายที่ผู้ป่วยมีขนาดเต้านมเล็ก ที่พบก้อนหินปูน ก้อนอยู่ตื้น ซึ่งไม่สามารถใช้เข็มชนิดยาวแทงเข้าไปตัดชิ้นเนื้อได้

การเตรียมก่อนตรวจ โดยถ่ายภาพแมมโมแกรม ในท่ามาตรฐานทั้ง 2 ท่าก่อน

ล่าง ภาพขยาย ทั้ง 2 ท่าเพื่อดูตำแหน่งของก้อน

ล่าง ภาพแสดง ขณะที่รังสีแพทย์ วางตำแหน่ง wireเสร็จแล้ว ถ่ายภาพเต้านม ก่อนส่งเข้าห้องผ่าตัด เพื่อให้ศัลยแพทย์ทำการผ่าตัด บริเวณก้อน ที่อยู่รอบๆปลายเข็ม

ล่าง ภาพชิ้นเนื้อที่ได้จากการผ่าตัด ต้องนำมาเอกซเรย์เพื่อดูขอบเขตของก้อนว่าได้ทำการตัดออกหมดแล้วหรือไม่

การตรวจชินดที่ 3 เป็นการตรวจชิ้นเนื้อเต้านมขนิดที่เป็นหินปูนหรือแคลเซี่ยม จากการถ่ายภาพเต้านมในท่ามาตรฐานส่วนใหญ่ตรวจชนิดนี้ในรายที่เต้านมมีขนาดใหญ่ ก้อนอยู่ลึก สามารถใช้เข็มเจาะผ่านไปที่ก้อนเนื้อได้ เรียกการตรวจนี้ตามข้อความด้านล่าง

การถ่ายภาพโดยเอียงหลอด -15 และ+15 องศา

ถ่ายภาพก่อนและหลังการเจาะ เพื่อดูแคลเซี่ยม

สุดท้าย อ.ไก่และสมาชิกทุกคนขอขอบคุณผู้สนับสนุนอาหารกลางวันในวันนี้

และรอพบกับ วิชาการ ทางรังสีเทคนิค ซึ่งผู้เขียนจะพยายามนำมาเสนอ ทุกๆครั้งที่มีการบรรยายค่ะ

หมายเลขบันทึก: 469424เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2011 12:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2016 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท