แผนจัดการเรียนรู้ หน่วยที่ ๕ วิชาภาษาไทย ๒ ท ๓๑๑๐๒


ยังไม่สมบูรณ์

แผนการจัดการเรียนรู้ที่  ๕

เรื่องการวิเคราะห์ วิจารณ์และประเมินค่าจากการอ่าน

รหัสวิชา ท ๓๑๑๐๒ชื่อรายวิชาภาษาไทย ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย

สาระการเรียนรู้ที่  ๕ เรื่องการวิเคราะห์ วิจารณ์และประเมินค่าจากการอ่านนำมาพัฒนาตนเอง

ชื่อหน่วยการเรียนรู้รักการอ่าน   เวลา   ๖ ชั่วโมง                                       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๑-๘     ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๔                                                 ผู้สอน นายสมเกียรติ  คำแหง

....................................................................................................................................................

๑.มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น

สาระที่  ๑  การอ่าน

                มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่าน สร้างความรู้และความคิด เพื่อนำไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหา ในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน

๒. ตัวชี้วัด

 ๑. อ่านแปลความ ตีความและขยายความโดยวิเคราะห์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล

                 ๒. วิเคราะห์วิจารณ์แสดงความคิดเห็นเสนอแนวคิดในการนำมาพัฒนาตนเองได้

๓.จุดประสงค์การเรียนรู้

๓.๑   ความหมายของการวิเคราะห์ การวิจารณ์ ประเมินค่า

                ๓.๒  การอ่านวิเคราะห์ การวิจารณ์ และประเมินค่า

                ๓.๓  กระบวนการอ่านวิเคราะห์ วิจารณ์ และประเมินค่า

๔.      สาระสำคัญ

                การอ่านเป็นการรับสารที่สำคัญพอ ๆ กับการฟัง ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีก้าวหน้ามากทำให้มีการนำเสนอข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่างานเขียนของนักเขียนและนักวิชาการ ที่ให้ความรู้และงานสร้างสรรค์อื่น ๆ ที่จัดพิมพ์ไว้เพื่อเป็นหลักฐานแก่ผู้อ่านรุ่นหลัง ความสามารถในการอ่านจึงสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งของเด็กไทยที่แสดงถึงคุณภาพของสังคมในปัจจุบัน

การอ่านนับว่าเป็นดัชนีวัดระดับการพัฒนาของประเทศนั้น ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศเด็กไทยควรจะรู้จักการวิเคราะห์ ประเมินค่าเรื่องที่อ่านได้และสามารถวิจารณ์เรื่องที่อ่านอย่างสร้างสรรค์ได้ด้วย

๕.สาระการเรียนรู้

๕.๑   อธิบายความหมายของการวิเคราะห์ การวิจารณ์ ประเมินค่า

                ๒.๒  มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะการอ่านวิเคราะห์ การวิจารณ์ ประเมินค่า

                ๕.๓   มีความรู้ความเข้าใจกระบวนการอ่านวิเคราะห์ การวิจารณ์ ประเมินค่า

๕.๔   มีสมรรถนะในด้านการคิด สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดอย่างเป็นระบบและ คิดอย่างมีวิจารณญาณ

                ๕.๕  มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์และสนใจใฝ่รู้ในขณะปฏิบัติงาน

๖.กระบวนการจัดการเรียนรู้

                ๖.๑ นำเข้าสู่บทเรียนด้วยการสนทนา เรื่องการรับรู้เรื่องราวในชีวิตประจำวัน ด้วยการฟัง การดู การอ่านเป็นส่วนใหญ่ แต่ในวันนี้เน้นเรื่องการอ่านที่หลากหลาย

                ๖.๒ ให้นักเรียนทดสอบความรู้ก่อนเรียน

                ๖.๓  ให้นักเรียนนักศึกษาและสำรวจปัญหาว่าสาเหตุใดที่นักเรียนไม่ชอบอ่านหนังสือ ไม่รู้จักการเลือกหนังสือที่ดี อ่านและไม่สามารถวิเคราะห์เรื่องที่อ่านได้

                ๖.๔  ให้นักเรียนทำความเข้าใจในปัญหาที่เกิดจากการอ่านและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาที่เกิดจากการอ่าน

                ๖.๕  ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันจัดความคิดเป็น ๓ ประเภท คือ กลุ่มการวิเคราะห์ การวิจารณ์ และการประเมินค่า

                ๖.๖  ผู้เรียนจัดกระดาษคำตอบที่ติดป้ายประกาศให้แยกออกเป็นแต่ละประเภท  ขั้นวางแผนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ

                ๖.๗  ผู้เรียนแบ่งออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๓ - ๕ คน และให้แต่ละกลุ่มปฏิบัติตามใบงาน

                ๖.๘ แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมารายงานหน้าชั้นเรียน

 

๗.กิจกรรมบูรณาการ

การวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 

      หลักความพอประมาณ

-     เป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม

                -     เป็นผู้นำหรือผู้ตามที่ดี

      หลักความมีเหตุผล

-           เลือกหนังสือที่มีคุณค่าต่อวัย

-          เห็นคุณค่าของหนังสือที่อ่านจากความเข้าใจความหมายของการวิเคราะห์ วิจารณ์ และประเมินค่าสาร

  หลักภูมิคุ้มกัน

-          กล้าซักถาม และแสดงความคิดเห็นอย่างถูกกาลเทศะ

-          วิเคราะห์ วิจารณ์ ประเมินค่า สาระสำคัญของการอ่านได้อย่างเข้าใจ

เงื่อนไขคุณธรรม

-          มีความซื่อสัตย์

-          มีความรับผิดชอบ

-          นำคุณธรรมจากการอ่านมาเป็นแนวทางดำเนินชีวิต

เงื่อนไขความรู้

-          มีความรู้และความเข้าใจความหมายของการวิเคราะห์ วิจารณ์ และประเมินค่าสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-          เปรียบเทียบสารที่อ่าน และฝึกวิเคราะห์ วิจารณ์ และประเมินค่า

 

๘.สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

                ๘.๑ ใบงาน

                ๘.๒ ใบความรู้

                ๘.๓ เอกสาร สิ่งพิมพ์ วารสาร

                ๘.๔ อินเตอร์เน็ต

๘.๕ http://www.sahavicha.com/

๘.๖ http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&category=1&page=1

 ๘.๗ http://www.kroobannok.com/news_file/p15606351014.pdf

 ๘.๘ http://www.dkt.ac.th/doc53/isara/isara_report.pdf

 

๙.       สมรรถนะที่สำคัญ

วิเคราะห์ วิจารณ์ ประเมินค่าสารที่อ่านในชีวิตประจำวันได้อย่างมีระบบ ถูกต้องเหมาะสม

๑๐.คุณลักษณะอันพึงประสงค์

-          มีความซื่อสัตย์

-          มีความรับผิดชอบ

๑๑.ภาระงาน/ชิ้นงาน

        - บันทึกการอ่าน ๑  รายการ

๑๒.การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

 

ด้าน

วิธีการวัด

เครื่องมือประเมิน

เกณฑ์การวัด

ความรู้ (K)

ทำแบบทดสอบการอ่าน

แบบทดสอบ

ด้านคุณลักษณะ (A)

สังเกต

แบบสังเกต

ด้านทักษะ(P)

ตรวจ บันทึกการอ่าน

แบบประเมินผลงาน

 

 

 

 

 

 

 

๑๓.บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้

       

1.    ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้...............................................................................................
                        แนวทางการพัฒนา...................................................................................................................

2.    ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................

        แนวทางแก้ไข...........................................................................................................................

3.    สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................

        เหตุผล.......................................................................................................................................

4.    การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

 

ลงชื่อ.........................................................................(ผู้สอน)

................................/............................../..............................

 

 

 

 

 

 

๑๔.ปัญหา/สิ่งที่ต้องพัฒนา/วิธีการแก้ไข พัฒนา  เพื่อนำไปสู่การวิจัยในชั้นเรียน

 

ปัญหา/สิ่งที่พัฒนา

สาเหตุของปัญหา

วิธีการแก้ไข/พัฒนา

ผลการแก้ไข/พัฒนา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๑๕. ข้อเสนอแนะ (หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ .............   …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

 

ลงชื่อ………………………

     (นางอุไร  ช่วยเจริญ )

  ตำแหน่ง หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้  วิชาภาษาไทย

               วันที่…….  เดือน…………………….  พ.ศ.  …………….

 

๑๖. ข้อเสนอแนะ (ฝ่ายวิชาการ )

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

 

 

       ลงชื่อ……………………........................................

     ( นายณัฐวุฒิ   รัตนอรุณ )

ตำแหน่ง  รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ

                        วันที่…. … เดือน………………………….  พ.ศ.  ………

คำสำคัญ (Tags): #การเรียนการสอน
หมายเลขบันทึก: 469215เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2011 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท