ร่วมคิดเป็นกลุ่มแบบปัจเจก


ฟังหัวข้ออาจดูขัดๆ กัน  ที่กล่าวถึงนี้คือคำภาษาไทยที่ข้าพเจ้าขอใช้ชั่วคราวสำหรับ วิธีการระดมความคิดแบบ " Nominal group technique" (NGT)

 ..ข้าพเจ้ามีโอกาสได้เข้าร่วม dialogue สองครั้ง ในโครงการจิตปัญญาศึกษา

รู้สึกประทับใจในหลักการ "deep listening"
การฟังอย่างลึกซึ้ง เป็นทักษะสำคัญในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง/ระยะสุดท้าย และการทำงานเป็นทีม
เป็นทักษะที่ต้องฝึกฝน..
มีตั้งแต่ระดับ Novice/beginner (learn by rule/guideline) ไปจนถึง Expert (intuition)
ข้าพเจ้านิยามตนว่าเป็นผู้ฟังระดับ  beginner ตอนล่าง novice ตอนบน
จึงสนใจกิจกรรมกลุ่มที่มีโครงสร้าง กฎ ชัดเจน อย่าง NGT
แม้อ่านดูขั้นตอน ในบทความนี้ เหมือนยุ่งยาก 
แต่หากพิจารณาเฉพาะกระบวนการหลักๆ ไม่สนใจรายละเอียดมากนัก
พบว่า NGT นั้นมีความคล้อยตาม Mental model  เช่นเมื่อเทียบกับการคิดแบบ SOAP ของผู้ทำงานด้านคลินิก
Nominal Group Technique  SOAP 
เขียนประเด็นตอบคำถาม Subjective เรื่องอะไร
อภิปรายสนับสนุนประเด็น Objective เห็นอะไร เพราะอะไร
การลงคะแนนให้ความสำคัญ Assesment ประเมิน
การสรุปความคิดกลุ่ม Plan จะทำอย่างไรต่อไป

 .
ข้าพเจ้าจึง เชื่อลึกๆ ว่า NGT เป็นเทคนิคกลุ่มที่สามารถประยุกต์ เป็นเครื่องมือ ฝึกการแสดงความเห็นและฟัง (อย่างน้อยก็ขั้นพื้นฐาน) ให้กับตนเอง นักศึกษาแพทย์ แพทย์ประจำบ้านได้

------------------------
.
ร่างคู่มือกิจกรรม modified- NGT
ประยุกต์จากประสบการณ์ในงานวิจัย และ แหล่งอ้างอิง [1,2]
# ยินดีรับความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงคะ #
อุปกรณ์สำหรับกิจกรรม
1. กระดาษขนาด A4 ฉีกครึ่ง  แจกให้ผู้เข้าร่วมคนละ 3 +1 = 4 ใบ
2. กระดานไวท์บอร์ด แบ่งครึ่งซ้าย ขวา และปากกา
หลังกิจกรรม
1. กระดาษการ์ด  3 ใบที่มีความเห็นแต่ละคน (บางคนอาจเขียนใบเดียวบางคนอาจเขียนทั้ง 3 ใบ), ใบหนึ่ง สำหรับโหวต
2. กระดาน A: สำหรับเขียนสรุปประเด็นความเห็น พร้อม ranking
2. กระดาน B: สำหรับเขียนประโยคความคิดรวบยอด (hybrid idea)
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
- ผู้เข้าร่วมควรมี 3 คนขึ้นไป ( 6 -12 คนดีที่สุด) + 1 คน facilitator
.
ขั้นตอน
1. ถามคำถาม  โดย Facilitator
 - หากต้องการใช้จัดลำดับความสำคัญ เพื่อคัดเลือก (prioritize) ต้องคำถามที่มีตัวเลือกชัดเจน "What", "Who" เช่นตัวอย่าง [3] ผู้วิจัยนำ "ข้อย่อย" ของทดสอบจิตเวชชนิดต่างๆ มาให้ผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมกิจกรรม คัดเลือกสร้างเป็นแบบทดสอบใหม่ 
 - ใช้ผสมผสานความคิดเป็นหลักการร่วมกัน (concept) ใช้คำถามที่เปิดกว้าง "How", "Why"
 - จำกัดบริบทของคำถามให้เห็น "ภาพ"ร่วมกันทุกคน เช่น  ใน OPD ภาควิชา, กรณีศึกษาผู้ป่วยที่ทุกคนเคยเจอ, คลิปข่าว
2. ตอบคำถามในกระดาษ
 - เขียนความคิดตนเอง ไม่ปรึกษาผู้อื่น
 - เขียนหนึ่งประเด็น ต่อกระดาษหนึ่งใบ  ดังนั้นแต่ละคนอาจมีได้มากถึง 3 ประเด็น..แต่ละประเด็นควรเตรียม เหตุผลอ้างอิง ประสบการณ์จริง ไว้อภิปรายด้วย
< ขั้นตอนที่ 1 และ 2 นี้ ควรทำก่อนการประชุม ข้อดีคือ ทำให้ผู้เข้าประชุมมีโอกาสคิด พิจารณามากขึ้น>
3.อภิปราย ความเห็นตนเองที่เขียนในกระดาน
- ไล่ลำดับการเสนอความเห็นตามประเด็นที่เตรียมมา..ตัวอย่างเช่น ในการประชุมหนึ่ง มี 3 คนคือ ขาว เขียว แดง
  . มี 3 ประเด็น  เมื่อ ขาว. อภิปรายประเด็นแรกจบแล้ว ให้เอากระดาษการ์ดนั้น ใส่ลงในกองกลาง..ตอนนี้ จะมีกระดาษ 2 ใบสำหรับสองประเด็นที่เหลือ
  แต่ต้องรอให้ แดง เขียว. อภิปรายประเด็นของเขาก่อนตามลำดับ..หากพบว่า อีก 2 ประเด็น ตรงกับที่คนอื่น พูดไว้ก็ไม่ต้องอภิปรายอีก ระหว่างนี้ให้ "เสริม" ความเห็นผู้อื่นได้ ( แต่ห้ามตัดสินว่าถูก หรือผิด)
- หลังจากทุกคนหมดประเด็นในมือ ( กระดาษคำตอบอยู่ที่กองกลางหมดแล้ว)  จึงให้เสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมฟรีสไตล์
- ผู้ทำหน้าที่ Facilitator เขียนสรุปในบอร์ด A โดยใส่ลำดับข้อให้ชัดเจน สำหรับอ้างอิงตอนโหวต  ดังภาพ
 
 
4.โหวต:
 - เขียนโหวตในกระดาษที่ให้  ให้เลือก 3 ประเด็นที่เห็นด้วยมากที่สุด : โดยให้แต่ละคนมีคะแนนในมือ 5 จัดแจงให้ตามที่คิด
  หากต้องการผลลัพท์แบบคัดเลือก ให้คะแนน ไล่ตามลำดับไม่ซ้ำกัน
เช่น ข้อ 2 ชอบเป็นอันดับ 1 ให้ 5 คะแนน, ข้อ 4 อันดับ 2 ให้ 4 คะแนน ไปเรื่อยๆ.
ถ้าต้องการผลลัพท์เป็น concept รวม ให้คะแนนเท่ากันได้ เช่น ชอบข้อ 2 (ให้ 2 คะแนน) , ข้อ 4(ให้ 2 คะแนน), ข้อ 7 (ให้  1 คะแนน)
- ผู้ทำหน้าที่ Facilitator รวบรวมคะแนน เพิ่มเติมในบอร์ด A จะได้ดังภาพ
5.ผสมผสานความคิด
- ผู้ทำหน้าที่  Facilitator ลองสรุปเชื่อมโยงความคิด ตามที่เห็น  เขียนในบอรด์ B
- เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมช่วยอภิปราย หากมีจุดใดต้องการเพิ่มเติม แก้ไข
หมายเหตุ: ส่วนที่เขียน ตัวเอียง คือส่วนประยุกต์จาก NGT ต้นฉบับ เพื่อเพิ่มการประสานความคิดยิ่งขึ้น

การดูผลลัพท์
  • คะแนนรวม (rating) หรือลำดับ (ranking)สำคัญกว่ากัน ?
    - หากต้องการคัดเลือก ควรเอา ranking เป็นหลัก
    - หากต้องการค้นหาความหมาย ควรเอา rating เป็นหลัก เพราะให้ความสำคัญกับทั้ง "outlier" และ "Average" กล่าวคือ คะแนนที่ให้แต่ละคนถือในมือ 5 คะแนน หากมีข้อใด ที่ใคร"เทใจ" ให้ 5 คะแนน ก็จะเท่ากับข้อที่มีคน "ปันใจ"  ให้ 1 คะแนน 5 คน การโหวตแบบธรรมดา 1 คน 1 คะแนน ทำให้ละเลย ข้อที่มีความเด่นในบางสถานการณื หรือสำหรับบางคน..ซึ่งให้ความรู้ใหม่
  • ผลลัพท์ NGT ออกมาเป็นลิสต์ยาวๆ ที่ไม่สามารถจัดอันดับคัดเลือกหรือผสมผสานกันได้เลย หมายความว่า?..การเกิด additive list แสดงว่าเป็นคำถามพื้นฐานเกินไป ไม่คุ้มที่จะทำ NGT  เช่นบอกรายชื่อร้านก๋วยเตี๋ยวที่อร่อยในเชียงใหม่ 
----------------------------------------------
  • สิ่งที่คาดหวังจาก NGT ได้                      
    =  ผู้เข้าร่วมกลุ่มรู้สึกจบกิจกรรมแล้วมีผลลัพท์ (sense of achievement) และความคิดของตนเองมีคุณค่า เป็นส่วนหนึ่งของconsensus (Hybrid idea) 
  • สิ่งที่ "อาจ" คาดหวังจาก NGT ได้          
    =  ความเข้าใจต่อเหตุปัจจัย  ทั้งนี้ขึ้นกับว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้อธิบาย ยกตัวอย่าง ประกอบประเด็นที่นำเสนอมากเพียงไร
  • สิ่งที่ "อาจ" คาดหวังจาก NGT ไม่ได้      
    =  การลดความเกรงใจระหว่างผู้บริหารกับผู้ใต้บังคับบัญชา หรือ ความแตกต่างทางอาวุโสมากๆ NGT ช่วย "บรรเทา" ด้วยการเปิดโอกาสให้แสดงความเห็นทุกคน แต่ "ความเกรงบารมี" ยังเป็นสิ่งช่วยไม่ได้
  • สิ่งที่คาดหวังจาก NGT ไม่ได้                  
    =  การสรุปเอา ranking ที่ได้ไปสรุปเป็น ความจริงในจักรวาล..ไม่ว่าผู้เข้าร่วมจะ Expert เพียงใด [4].
สรุป ในการทำ NGT ให้มีประสิทธิภาพ = ใช้เวลาน้อยได้ผลสรุปตรงความต้องการ
1. One session   -> One question   : กิจกรรมแต่ละครั้งสำหรับหนึ่งคำถามเท่านั้น 
2. clear picture -> clear answer   : คำตอบจะชัดเจน นำไปใช้ได้จริงเพียงไร ขึ้นกับการกำหนดบริบทให้เห็นภาพชัดเจน
3. high rank     -> high detail    : ประเด็นไหนได้รับคะแนนมาก ควรได้รับการขยายความลงรายละเอียดมาก.
###
Take home message: [4]
"...Establishing consensus among a particular group of individuals on an issue is not an attempt to provide a ‘correct’ answer. Rather it is a systematic way of identifying current opinion and areas of disagreement.."
หมายเลขบันทึก: 468911เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2011 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • ไม่ธรรมดา เอา dialogue และ deep listening
  • มาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยได้ด้วย
  • ชอบแนวคิดนี้จัง

...

บันทึกนี้ ยังคง มีความซึ้ง
มีความลึก เป็นหนึ่ง ซึ้งเสมอ
เป็นปัจเจก เป็นกลุ่ม มะรุ้ม (มะตุ้ม) เธอ
เพียงพร่ำเพ้อ ออกเป็นคำ จดจำนัย

...

;)...

  • สวัสดีค่ะ
  • "SOAP" เป็นวิธีที่น่านำไปใช้มากค่ะ
  • สำหรับศึกษานิเทศก์ที่ทำงานกับคุณครู
  • ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณคะอาจารย์ขจิต
NGT ถูกนำมาใช้ในงานวิจัยมากขึ้นเรื่อยๆ คะ
โดยเท่าที่สังเกต..ยังต้องปรับความเข้าใจว่า
ผลจาก NGT คือ มติของ "กลุ่มคนที่เข้าร่วม" 
แต่ไม่สามารถนำมตินี้ไปใช้ได้ในกลุ่มคนอื่นๆ
สิ่งที่เรียนรู้ได้คือ เหตุผลอธิบาย ว่าทำไมคนจึงคิดเห็นเช่นนั้น มากกว่า
...
ที่น่าสนใจคือ
มีผู้นำ NGT เป็นเครื่องมือพัฒนาหลักสูตร  ประเมินหลักสูตร ด้วย ดังนี้คะ



ขอบคุณคะ อาจารย์อารมณ์กวีชั้นหนึ่ง
ตอนเขียน ก็รู้สึกลึกซึ้ง มะรุมมะตุ้ม เพ้อเจ้อ ไปพร้อมๆกัน :-) 
มีอะไรบางอย่าง บอกว่า เรื่องนี้น่าสนใจ และจะทดลองทำไปเรื่อยๆ คะ 

ยินดีคะคุณลำดวน 
เทคนิคการคิด การประเมินแต่ละสาขาวิชาชีพอาจเรียกไปต่างๆ กัน
แต่มีจุดร่วม จุดต่าง ที่ประสานกันได้คะ 

ขอบคุณคะ ดอกกุหลาบจากสวนโสภณหรือเปล่าคะ :-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท