ถอดบทเรียน โครงการแก้ปัญหาความยากจนจังหวัดมหาสารคาม


ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจรับงานจากส่วนกลาง

          การทำแผนภาพชุมชนทำได้ดีมาก มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ได้แก่

  • ศึกษาและนำเสนอพิจารณา "เหตุ" แห่งการสูงสุด และ ต่ำสุด ตามตัวชี้วัดแต่ละตัวเพราะเหตุใด ?
  • ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ เช่น การกล่าวว่า การแก้จนขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ ให้ยกตัวอย่างประกอบด้วย
  • จะไม่เอาการวิจัยชิ้นนี้ขึ้นหิ้ง แต่จะนำไปปรับใช้กับพื้นที่อื่น ๆ

 

ถอดความรู้จากที่ประชุม

  • เราจะนำพาชาวบ้านไปให้ถึง หรือไปให้ไกลกว่าเป้าที่เราต้องการได้อย่างไร
  • นำบัญชีครัวเรือนเป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนา
  • พัฒนาเศรษฐกิจตัวเดียวไปไม่รอด
  • ยกระดับข้อมูลให้เป็นความรู้ ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยอาศัยบัญชีครัวเรือนเป็นเครื่องมือ
  • ขาดเงิน ธกส พร้อมช่วยเหลือ ขาดความรู้ มหาวิทยาลัย พร้อมให้ความรู้
  • มุ่งเป้าไปที่ชุมชนรู้จักตนเอง ระเบิดรู้จากด้านใน ตื่นรู้ด้วยตนเอง
  • สภาพที่เห็นทิศทางตนเองเดินไปสู่อนาคตได้ด้วยตนเอง มีแผนตนเอง แผนชุมชน -> ตำบล -> จังหวัด -> ประเทศ
  • ชุมชนรู้จักตนเอง มีอัตลักษณ์ของตนเองหรือยัง
  • เป้าหมายหลัก ที่สุดของที่สุด คือ ชุมชน ชาวนาที่ไปปรากฏอยู่บนเวทีโลก ข้าวบ้านเราไปขายอยู่ทั่วโลก -> สมาชิกเครือข่ายชาวนาโลก
  •  การต่อสู้ที่เกิดจากคนอื่นมาเอาเปรียบ ความจนที่เกิดจากเงินไหลออกชุมชน ปิดรูรั้วกันหรือยัง ของที่ผลิตขึ้นมีที่ขายหรือยัง ที่ขายไม่ได้แก้ปัญหากันหรือยัง สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากการหาความรู้ ชุมชนใดรู้ก่อนก็ไปได้ก่อน เส้นทางมีเยอะแยะ
  • ความรู้ทำให้เกิดความมั่งคั่ง ความรู้ที่มาจากการวิจัย รู้หรือยังว่าปัญหาอยู่ตรงไหน รู้หรือยังว่าวิธีแก้ปัญหา จะแก้อย่างไร เมื่อไร
  • รู้หรือยัง ? เราเป็นใคร เราอยู่ที่ไหน เราอยากจะไปที่ไหน ไปอย่างไร ใครช่วยเราได้บ้าง รู้หรือยังว่าจะรวมกลุ่มรวมก้อนกันได้อย่างไร ?
  • รู้หรือยัง ? ตัวกินเงินหรือตัวที่เอาเงินออกจากครอบครัวเราคือตัวอะไร ? จะสร้างระบบตัวกินเงินได้อย่างไร? จะจัดการกับกำพร้าผีน้อยกินเงินได้อย่างไร ? ตัวที่นำเงินเข้าครัวเรือนคือตัวไหน ? สิ่งนี้ล่ะคือ แผนครัวเรือน แผนธุรกิจครัวเรือน มีหรือยัง ? ทำหรือยัง ?
  • แผนชีวิต ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว
  • รู้ตัวหรือยัง -> มีแผนหรือยัง  -> ปฏิบัติตามแผนหรือยัง
  • ทีมวิจัยต้องสร้างทีมมากกว่านี้ ระดมพลังทุกภาคส่วน
  • จุดแตกหักจะอยู่ที่แผนพัฒนาตำบล ที่มีพื้นฐานมาจากแผนพัฒนาครัวเรือน
  • มิติที่เข้าไปสู่แผนนี้จะยึดมิติเศรษฐกิจหรือบัญชีครัวเรือนอย่างเดียวก็ไม่ได้ ควรมีแผนวัฒธรรม แผนการศึกษาด้วย
  • แผนของจังหวัดเป็นอย่างไรบ้าง ในการพัฒนามนุษย์
  • วันที่ 26 ตุลาคม แผน 11 ประกาศใช้แล้ว
  • วัฒนธรรมการใช้ชีวิตของคนทุกวันนี้ ไม่ค่อยสมเหตุสมผล ออกนอกกรอบเศรษฐกิจไปมาก
  • แผนอาจทำมาอย่างดี แต่จะเป็นไปตามนโยบายหลักจากด้านบน แผนพัฒนาควรลงไปที่ตัวพัฒนาคนในชุมชนให้มาก แต่ส่วนใหญ่จะลงไปที่โครงสร้างพิ้นฐานเป็นหลัก
  • มีตัวเดียวที่จะทำให้เกิดความมั่นคงทางสังคม ความมั่นคงของมนุษย์ คือ ความรู้ ซึ่งเกิดจากการดู Best Practicse หรือเกิดจากการปฏิบัติ หรือเกิดจากการคิด
  • ต้องหาคนต้นแบบ ที่เชื่อในระบบบัญชีครัวเรือน
  • มหาสารคาม พื้นที่ส่วนใหญ่มาจากข้าว อ้อย5% มัน5% ซึ่งจะทราบรายได้ชัดเจนประมาณ มีนาคม 2555
  • สุดท้ายแล้ว โครงการจะได้ฐานข้อมูลมนุษย์เพื่อการพัฒนา
  • ได้ต้นแบบวิถีชีวิต ต้นแบบวิสาหกิจต่าง ๆ เป็นต้นแบบที่ไปเผยแผ่กับชุมชนอื่น ๆ ต่อไป
  • Life Style ของชาวนาไทย รายงานวิจัยจาก ธกส. เอามานั่งอ่านและวิพากษ์กันด้วย
  • ระยะเวลาวิจัย 1 ปีน้อยเกินไป แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า วิธีถูกหรือไม่ สำคัญเราต้อง ลปรร. เพื่อสร้างองค์ความรู้
  • โจทย์ต้องชัดว่า เรากำลังหาแผนที่ยกประชาชนมหาสารคามออกจากความยากจน โดยได้มาจากฐานรากประชาชน
  • มีวิธีป้องกันไม่ให้เสียเปรียบโดนรุมกินโต๊ะได้อย่างไร มีวิธีเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายได้อย่างไร
  • จุดแข็งของชุมชนกันทรวิชัย : ชุมชนมีการออม มีโรงสี มีรถเกี่ยวส่วนกลาง การจดบัญชีครัวเรือน
  • ประเด็นการพัฒนา เรื่อง "ข้าว" + เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ต้นแบบ 2 ไร่ไม่ยากไม่จน พ่อบุญหนา
  • แนวทางก่อการดีร่วมกันของหลายภาคส่วนทั้งจังหวัด
  • โลกถูกหลอมด้วยทุนนิยมมานานแล้ว สิ่งที่มาจากทุนนิยมมันแรง ปัจจุบันนี้ชุมชนได้ตายสนิทแล้ว เราจึงอยากจะสร้างชุมชนขึ้นมาใหม่
  • มนุษย์ สำคัญที่ครอบครัว ถ้าครอบครัวพัง ชุมชนก็พัง
  • การสร้างมันยากจึงต้องให้นักวิชาการลงไปช่วย บทวิจัยแรกจึงเริ่มที่บัญชีครัวเรือน อาจต้องจ้างคนไปสำรวจ ออกหนังสือให้เด็ก ไม่จดมาไม่ให้ผ่านอย่างนั้นหรือไม่ กระบวนการไม่ยาก ตั้งใจกันทำอย่างต่อเนื่องเพียงใด
  •   รายงานและการพัฒนา ควรมีนโยบายแผน ๑๑ เข้าไปด้วย เศรษฐกิจเชิงสร้่างสรรค์ เศรษฐกิจชุมชน ไม่พึ่งต่างประเทศแล้ว
  • ชุมชนยังมีชีวิตอยู่กี่ชุมชน แตกสลายไปแล้วกี่ชุมชน เป็นชุมชนฝรั่งไปแล้วกี่ชุมชน จะได้มี roadmap ในการแก้ปัญหาได้
  • นักวิจัยรายหมู่บ้าน เมื่อ 60 ปีที่แล้ว ย้อนหลังกลับไปอีก 100 ปี มีพัฒนาการอย่างไร คนในหมู่บ้านนั้นมีอัตลักษณ์ และมีวิธีคิดอย่างไร จะพัฒนาอย่างไร เข้าไปร่วมด้วยช่วยกันทุกศาสตร์อย่างไร ต้องเลือกหมู่บ้านท้าทายไปแก้ มีวิธีการอย่างไรในทางวิชาการที่จะทำให้สังคมนั้นฟื้นชีวิตขึ้นมาได้ หาหมู่บ้านที่กระดูก ซับซ้อนและยุ่งเหยิงที่สุดมาทำวิจัยและพัฒนากัน จะได้ดูว่า เราแก้ได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้เราจะได้ยกธงยอมแพ้ หรือต้องส่งปีศาจเข้าไป
  • ทิศทางการประชุม การ ลปรร. กันยังน้อยไปหน่อย
  • ทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องคิดต่อ
  • ช่วงต่อไปต้องคิดต่อว่า โจทย์อันต่อไปคืออะไร
  • ชี้ให้ได้ว่า ทำไมเขาเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างนั้น

 

ถอดบทเรียนชาวบ้าน

  • บัญชีครัวเรือนอาจไม่ทำให้รวยขึ้น แต่ทำให้เรารู้จักตนเอง เกิดระเบิดจากภายใน
  • เอาชาวบ้านมาโสเหร่กัน ครอบครัวเอาหัวมาชนกันวิเคราะห์โสเหร่กัน ตั้งคณะกรรมการภายในหมู่บ้านระดมกันคีย์ข้อมูล
  • ชุมชนรวมกลุ่มกัน ทุกครัวเรือนไม่ต้องซื้อผักกิน
  • รู้ตัวเองหรือยัง ? ทีมที่ปรึกษาการเงิน ธกส. จะลงสู่ชาวบ้าน เพราะเงินไม่เข้าใคร ออกใคร ถ้าใช้เงินไม่เป็นก็อันตราย จะให้เงินไปหาเงินได้อย่างไร
  •  ทำไมผู้คนไม่ค่อยจดบัญชีครัวเรือน ?  เป้าหมาย 2 ประการ เพื่อสร้างวินัย + เพื่อนำข้อมูลมาแก้ปัญหาความยากจน
  • ปัญหาการถูกเอารัดเอาเปรียบจาก พ่อค้าโรงสี แก้ด้วยการขายในชุมชน รวมกลุ่มการทำพันธุ์ข้าวขายก็ไม่อยากทำ อาจเกิดจากนโยบายของรัฐที่ส่งเสริมการแจกของฟรีมานาน แต่ถ้ามา ลปรร ไม่ค่อยอยากมา บางทีเอกสารที่ทำก็ทำให้เกิดความโก้หรู แต่คนในชุมชนไม่ค่อยรู้ตนเอง ขอความกรุณาช่วยให้คนรู้ตนเองด้วยครับ
  •  

 

 

ถอดบทเรียนผู้วิจัย

  1. ควรมี Protocal มาตรฐานกลางขั้นตอนการปฏิบัติงาน
  2. บัญชีครัวเรือน -> ลปรร. -> ยกระดับการเรียนรู้ชุมชน -> ระเบิดจากภายใน
  3. จนชุมชนสามารถ ระเบิดรู้จากด้านใน รู้จักตนเอง ตื่นรู้
  4.  สร้างเครือข่ายชาวนาตำบล -> จังหวัด -> ภูมิภาค -> ประเทศ -> โลก
หมายเลขบันทึก: 468868เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2011 09:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

นี่คือการวิจัย...อย่างยั่งยืนที่แท้จริง ไม่ต้องแปลค่าจากสูตรหรือตัวเลขสถิติใด ๆ ทุกคนเป็นนักวิจัยด้วยกันทั้งหมด

พัทลุงก็ขับเคลื่อนเรื่องแผนชุมชน แผนครอบครัว

มาเรียนรู้จาก สารคามเพื่อนำการถอดความรู้นี้ไปเทียบปรับใช้

ขอบคุณที่นำมา ลปรร.

นมัสการพระคุณเจ้า

กราบขอบพระคุณที่ให้พรและกำลังใจขอรับ

ท่านรับปริญญาปีนี้ใช่ไหมครับ ? ขอแสดงความยินดีด้วยครับ

สวัสดีผู้เฒ่าฯ ครับ

มหาสารคามเองก็ยังใหม่และค่อย ๆ เดินครับ

อยากให้ท่านช่วยชี้แนะด้วยครับ

ขอบพระคุณครับ

  • อาจารย์ครับ
  • กำลังคิดอยู่ว่า พ่อแสวงอยู่ที่อำเภอไหน
  • ไม่ได้ไปอีสานนานมาก
  • อ้อ จำได้แล้ว อยู่อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ดนี่เอง
  • ขอให้อาจารย์มีความสุขกับงานชุมชนครับ

ขอบคุณครับอาจารย์...ดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งเช่นกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท