หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

เมื่อลองใช้น้ำหมักราดน้ำเน่า+ของเสียสดๆ


ความเหม็นของน้ำเสียมีต้นเหตุ เมื่อต้นเหตุปะปนมาสดๆ ราดแล้วกลิ่นหายได้นั้นมีคนบอกอยู่แล้ว น่าสนใจกว่าคือราดแล้วเปลี่ยนไปอย่างไรกลิ่นจึงลดหายได้มากกว่า  โชคดีมีของจริงให้ได้ลอง ได้เห็นกับตา 

 ภาพที่1                                         ภาพที่ 2                                  ภาพที่3

น้ำเสียจากต้นคูไหลผ่านมาเจอของเสียสดๆ ก็มีกลิ่นโชย ในน้ำมีคราบขาวด้วย ราดน้ำหมักเข้มข้นลงไป 1 แกลลอน (ภาพที่ 1)  ผ่านไป 1 นาที คราบขาวที่เปรอะอยู่เต็มลดไปเหมือนกวาดทิ้ง ก้อนของเสียละลายไหลปนกับน้ำลงมา (ภาพที่ 2) คราบขาวหายไปมากมาย น้ำที่ไหลผ่านลงไปที่ปลายน้ำเปลี่ยนจากสีน้ำซาวข้าวเป็นใสขึ้นอีก (ภาพที่ 3)

                ภาพที่ 4                                         ภาพที่ 5                                          ภาพที่ 6

3 ชั่วโมงหลังน้ำหมักไหลผ่าน ภาพมุมใกล้ของของเสียสดๆและคราบขาวในน้ำลึก 2 นิ้ว ก็เป็นตามภาพที่ 4  ภาพมุมใกล้ของคราบขาวๆ ที่ปลายน้ำซึ่งเหนือขึ้นไป มีสิ่งกีดขวางทางไหลของน้ำหมักอยู่ ก็เป็นตามภาพที่ 5  และคราบขาวๆที่อยู่ห่างจากสิ่งกีดขวางออกไปราว 50 ซม. มีคราบสีรำปรากฏประปรายดังในภาพที่ 6

                  ภาพที่ 7                                 ภาพที่ 8                                         ภาพที่ 9

ภาพที่ 7  จุดเริ่มต้นราดน้ำหมัก สัดส่วนน้ำหมักต่อน้ำในคูอยู่ที่ราว 1:1  เมื่อผ่านไป 24 ชั่วโมง ความใสและคราบในคูก็เป็นดังภาพที่ 8  ถ่ายมุมใกล้ดูให้ชัดก็เป็นดังภาพที่ 9  น้ำตรงนี้ลึก 3 นิ้ว มีแดดส่องถึงบางส่วน บางส่วนอยู่ในร่ม แสงถึงตลอดวัน

 

               ภาพที่ 10                                     ภาพที่ 4                                           ภาพที่ 11

หลังราดน้ำหมักผ่านไป 24 ชั่วโมง ของเสียในน้ำลึก 4 นิ้ว ที่มีสภาพเดิมดังภาพที่ 4 เปลี่ยนสภาพไปเป็นภาพที่ 10 กลิ่นเหม็นลด มีกลิ่นคาว ความแรงของกลิ่นคาวปนกลิ่นหม็นลดเหลือราวๆ 1 ใน 4  น้ำตรงนี้มีของเสียสดๆลงมาปนวันละไม่ต่ำกว่า 2 รอบทุกวัน เวลาผ่านไปอีก 5 วัน น้ำที่มีสิ่งกีดขวางทางไหลอยู่ในตำแหน่งต่อมาของคูขุ่นเพิ่มขึ้น สีน้ำเป็นสีของเสียละลายน้ำ  คราบขาวไม่เพิ่มขึ้น (ภาพที่ 11)

             ภาพที่ 12                                      ภาพที่ 3                                       ภาพที่ 13

24 ชั่วโมงหลังราดน้ำหมักลงในน้ำที่มีของเสียสดๆปนอยู่ สภาพคูหลังน้ำผ่านสิ่งกีดขวางลงไปที่ปลายน้ำเป็นดังภาพที่ 12  ความใสของน้ำเปลี่ยนไป กระดาษชำระที่ผ่านลงมาแช่ในน้ำเปลี่ยนไป  เมื่อเทียบกับสภาพเมื่อราดน้ำหมักลงไปใหม่ๆ (ภาพที่ 3)    ผ่านวันราดน้ำหมักไปแล้ว 6 วัน สภาพคูตรงปลายน้ำที่มีต้นทางดังภาพที่ 11 ก็เปลี่ยนไปเป็นภาพที่ 13

ตลอด 6 วันหลังวันราดน้ำหมัก คูส่วนนี้สว่างตลอดวัน อยู่ที่ร่ม ไม่โดนแดดตรงๆ  กลิ่นคาวและเหม็นหายไปมาก ถึงแม้จะมีของเสียสดใหม่ปนลงมาทุกๆวัน

มิถุนายน 2554

หมายเลขบันทึก: 467840เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2011 21:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 20:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Very interesting and informative.

What the amount of waste water flowing through that section?

Have you tried dispensing EM solution with a plastic bottle with 2 very small (1 mm) holes -- one at the bottom to release, another at the cap to let air in?

The size of the release hole can vary to control the rate of release ;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท