จิตติ์ ดวงบุปผาวงค์
พระครูปลัด จิตติชัย จิตติชโย มาตย์วงค์

จริตกับการบริหาร


จริตหกกับการบริหารงาน
จริตหกในการบริหารงาน (Six Styles of people in Management) 1. บทนำ การบริหารงานสมัยนี้ ส่วนใหญ่มาเน้นเรื่องการบริหารงานบุคคล เพื่อหาวิธีการทำให้คนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเต็มใจ และมีความสุขด้วย โดยทำให้คนมีความสามารถขึ้นเรื่อยๆ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ การวิเคราะห์งาน แล้วนำผลสรุปมาพัฒนางาน แล้วทำให้องค์กรพัฒนาขึ้น ปัญหาหนึ่งที่ผู้บริหารประสบปัญหาก็คือ ไม่สามารถนำวิธีการหนึ่งๆ ที่ใช้ไปกับคนหนึ่ง แล้วเอาไปใช้กับอีกคนหนึ่ง กับไม่ได้ผล สาเหตุหลักๆ ก็คือ คนมีจริตไม่เหมือนกัน การนำเรื่องจริตคน มาขับเคลื่อนองค์กร จึงเป็นแนวคิดใหม่ ที่ควรมาศึกษาทดลองใช้ ซึ่งก็มีความยากที่ว่าอีกอย่างคือ คนๆ หนึ่ง ไม่ได้มีจริตเดียว อาจมีสองสามจริต และอาจเป็นตัวนำ ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และอาจกับคนบางคน หรือ อาจเป็นกับของวัตถุบางอย่าง อย่างไรก็ตาม การศึกษาเรื่องจริต ก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น ที่จะต้องศึกษากับคนรอบตัว ทั้งลูกน้อง เพื่อร่วมงาน เจ้านาย และลูกค้า 2. ประเภทบุคคลตามพฤติกรรม ในการบริหารองค์กรนั้น เราต้องจำแนกประเภทบุคคล เพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้ดีขึ้น ซึ่งแต่ละคนก็ใช้วิธีการพัฒนาไม่เหมือนกัน เวลาเกิดปัญหาก็มาจากคนบางกลุ่ม และการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในองค์กร คนใดขัดขวาง คนใดเห็นชอบก็ขึ้นอยู่กับประเภทของบุคคล เราสามารถเปลี่ยน ประเภทบุคคลได้ แต่ต้องพิจารณาให้ลึกซึ้ง ตามประเภทบุคคลตามพฤติกรรมมี 6 ประเภทดังนี้ 1. รักสวยรักงาม เขากลัวไม่สวย กลัวความเสื่อม ควรพัฒนาเขาด้วยพบ หลักแห่งความจริงตามรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนกฎความไม่แน่นอน 2. โกรธง่ายใจร้อน มักหงุดหงิด ขัดเคือง ใจร้อน กลัวช้าไม่ทันใจ ควร พัฒนาเขาด้วยการฝึกให้ช่วยคนอื่น ฝึกเมตตา 3. เหงาซึมงมงาย มักเงื่องงง เบาปัญญา เชื่อคนง่าย กลัวไม่ทันคน กลัวรับผิดชอบ งานใหญ่ กลัวเรียนรู้ กลัวปรับตัว กลัวการแก้ปัญหางาน ควร พัฒนาเขาด้วยการให้อยู่ใกล้ชิดครู ระบบพี่เลี้ยง 4. ซาบซึ้งเลื่อมใสง่าย มักมีจิตชื่นบาน น้อมใจ เชื่อง่าย ไม่ค่อยไตร่ตรอง ให้ชัดก่อน ควรพัฒนาเขาด้วยการชี้ทางแห่งปัญญา 5. คิดพิจารณามีเหตุผล มักชอบไตร่ตรองคิดมีเหตุมีผล ควรพัฒนาเขา ด้วยการปรับปรุงงาน ส่งไปเรียนรู้ ฝึกให้ระดมสมอง 6. จับจดฟุ้งซ่านวิตก มักคิดฟุ้งซ่าน อ่อนไหว วิตก กังวล และชอบคัด ค้านเพราะกลัวการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาเขาต้องควรมีพี่เลี้ยง คู่มือ แนะนำ ให้กำลังใจ อ้างอิง : จริต, จริยา มหานิทเทส ขุททกนิกาย สุตตันตปิฎก พระไตรปิฎกเล่มที่ 29 3. โครงสร้างจริต โครงสร้างจริต เป็นโครงสร้างที่ซับซ้อน ไม่แน่นอน แต่ก็พอมีหลักได้ จริตจะมี - จริตนำ - จริตหนุน - จริตฐานซ่อนลึก จริตนำ คือ ส่วนโผล่ก้อนน้ำแข็งเหนือน้ำ เห็นชัดเจน ว่าเป็นคนแบบนี้ จริตหนุน คือ ส่วนน้ำแข็งที่อยู่แถวๆ ระดับน้ำ กระพึ่มขึ้นลง เห็นบ้าง ไม่เห็นบ้าง ตามคลื่นกระแทก จริตฐานซ่อนลึก คือ ส่วนก้อนน้ำแข็งที่จมน้ำอยู่ มองเห็นได้ยาก และเป็นจริตส่วนใหญ่ และมีโอกาสโผล่ขึ้นมา หากมีกระแสพายุ ปรับเปลี่ยน ผลักก้อน้ำแข็ง เอาส่วนฐานขึ้น เป็นส่วนโผล่แทน จริตนำ ก้อนน้ำแข็งส่วนโผล่น้ำ ก้อนน้ำแข็งส่วนปริ่มน้ำ ก้อนน้ำแข็งส่วนจมน้ำ จริตหนุน จริตหนุน จริตฐานซ่อนลึก 4. การใช้จริต การใช้จริต - เอาจริตนำออก - เอาจริตหนุนออก - เอาจริตฐานซ่อนลึกออก การใช้จริต ตามสถานการณ์ เมื่อ พบกับ เหตุการณ์หนึ่งๆ พบคนนั้นๆ สถานที่หนึ่งๆ และกับงานหนึ่งๆ อาจใช้ไม่เหมือนกัน จริตกับเหตุการณ์ เหตุการณ์ปกติ (อาจิณกรรม สิ่งทำประจำวัน) มักใช้ จริตนำ เหตุการณ์ยุ่งยากซับซ้อน มักใช้ จริตนำ และจริตหนุน เหตุการณ์ฉุกเฉิน ความเป็นความตาย มักใช้จริตฐานซ่อนลึก จริตกับสถานการณ์ ไปเที่ยวไหนดี ขอที่สวยๆ (ใช้จริตนำ รักสวยงาม) โจรเข้าบ้าน จะฆ่าตนและเมีย แต่ทิ้งเมียเอาตัวรอด ซึ่งปกติเป็นคนรักสวยรักงาม มีเหตุผล (ใช้จริตฐาน วิตก มาแทน ทิ้งจริตรักสวยงาม และมีเหตุผล ออกไป) จริตที่มักใช้ในยามฉุกเฉิน มี วิตก โกรธ ใจร้อน จริตที่มักใช้ในภาวะปกติ มี รักสวยงาม มีเหตุผล จริตที่มักใช้ในภาวะไร้ที่พึ่ง มี เหงาซึมงมงาย เลื่อมใสง่าย จริตกับคน คนที่ไม่ชอบหน้า มักใช้จริต โกรธ และ วิตก คนที่ชอบหน้า มักใช้จริต รักสวยงาม มีเหตุผล จริตกับงาน งานยาก มักใช้จริต วิตก เชื่อง่าย งานง่าย มักใช้จริต มีเหตุผล งานใหม่ มักใช้จริต วิตก ใจร้อน งานเก่า มักใช้จริต รักสวยงาม 5. กลวิธีเข้าถึงจริต ลูกค้าเป็นจริตรักสวยงาม ให้ตกแต่งร้าน สร้างบรรยากาศโรแมนติก ทะนุถนอม คำพูดไพเราะ ลูกค้าที่มีจริตเลื่อมใสง่าย งมงาย มักใช้เหยื่อล่อ หรือทำไซดักปลา เช่น ใช้ยากล่อม ใช้คาราโอเกะ ใช้เงินล่อ หรือตำแหน่ง มาล่อ 6. สรุปจริตหก จริตทั้งหกนี้ เป็นแนวทางในการคบคน ใช้คนให้ตรงกับงาน การนำเสนอขายความคิด ขายสินค้า การผูกมิตรสัมพันธ์ การทำชุมชนสัมพันธ์ การก่อสร้างที่ต้องเอาใจจริตของเจ้าของบ้าน การออกแบบบ้าน ห้องทำงาน ห้องนอน ร้านค้า ธนาคาร การออกแบบการบริการแบบใหม่ๆ การจัดทำหนังสือแบบต่างๆ การโน้มน้าวให้คนเข้าวัด การเรียกลูกค้า การจัดบ้าน จัดสไตล์สวน การเลือกอาชีพของตนเอง การสอนคนให้ตรงจริต การทำหนังสือตำรา การจัดกิจกรรม การสร้างแนวบันเทิง การลดความขัดแย้ง การบริหารการเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับจริต การปลุกระดมกู้ชาติ การบริหารปกครองบ้านเมือง การเอาใจผู้ป่วยในระยะต่างๆ การออกแบบสินค้าให้รู้สึกประทับใจ การออกแบบร้านค้าที่น่าประทับใจ การออกแบบเครื่องจักรให้สอดคล้องกับจริต การออกกฎความปลอดภัยที่สอดคล้องกับจริต การเปลี่ยนทัศนคติของคน ที่เอาจริตเป็นตัวตั้ง การบริหารทีม การบริหารแบบมีส่วนร่วม ล้วนแต่ต้องนำหลักจริต 6 มาประยุกต์ใช้งาน เรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนนั้น ไม่ใช่มีแค่ จริตหก เท่านั้น นอกจากนี้ยังแบ่งคน ตามประเภทบัวสี่เหล่าอีกด้วย เพื่อนำมาประกอบการใช้งานในชีวิตประจำวันอีกด้วย อ้างอิง สมหวัง วิทยาปัญญานนท์ 20 กุมภาพันธ์ 2550
หมายเลขบันทึก: 467471เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2011 12:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 14:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท