วัดความสุข..วัดไงเพ่


ห้องเรียนกระบวนกรตอนที่ 389

ได้ยินมาหลายครั้งว่า..ความสุขจะวัดอย่างไร...จะเปรียบเทียบอย่างไร..แนะนำให้ใช้ Kirkpatrik's Evaluation Model ครับ...เอาเรื่องเรียนครับ..ถ้าเด็กมีความสุข..จะมีปฏิกิริยาที่ดีต่อการเรียนนั้น เช่นยิ้ม มีส่วนร่วม ดูสนุกสนาน (Reaction) แต่ไม่พอครับ ต้องดูว่ามีการยกระดับไปสู่การเรียนรู้หรือไม่ ดูง่ายๆ เช่นการเข้ามาสอบถาม เพิ่มเติม (Learning)...ต่อมาดูอีกว่า..เขาเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีหรือไม่ (Behavioral Change)  เช่น จากไม่ชอบคณิตศาสตร์ มาชอบคณิตศาสตร์...สุดท้ายดูอีกว่า ผลการเรียนดีขึ้นหรือไม่ (Performance)...ตอนนี้ลูกสาวชอบคณิตศาสตร์มากๆ..เธอชอบครูของเธอมาก..ถามพ่อถามแม่เรื่องคณิตศาสตร์ทุกวัน..

....

โมเดลประเมินความสุขแบบนี้ใช้ได้ทุกวงการครับ...เช่นเราดูแลคนไข้เรื่องเบาหวาน...เราทำกิจกรรมเช่นชวนออกกำลังกาย แบบรำตะบอง...เขาก็มากัน...มาประเมินกันครับ..เริ่มจาก ตอนเขาทำกิจกรรม เขาดูสนุกสนาน ชอบใจไหม หัวเราะไหม..ถ้าไม่ ก็อาจต้องปรับปรุงวิธีการใหม่..ตรงนี้เรียกว่าเราดูปฎิกิริยา (Reaction)...ซึ่งถ้าผ่าน..ตรงนี้ได้ ก็น่าจะขยับมาที่ขั้นที่สอง คือเขาเข้ามาซักถาม หรือขอเรียนรู้เพิ่มเติมไหม...ถ้าไม่...อาจไม่ยั่งยืน ไม่กลับไปทำต่อ..แต่ถ้าเกิดมีการซักถามขึ้นมา ก็แน่ใจได้ว่า..เธอจะไปทำต่อ จนเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรม (Behaviroal Change)..ที่สุด จะทำให้ค่านำ้ตาลของคนไข้ดีขึ้น (Perforamnce) ครับ..

....

นี่เป็นการประเมินแบบ "ความสุข" แบบง่ายๆครับ..คือสังเกตเลยว่ามีความสุข สนุก มีส่วนร่วมหรือไม่ (Reaction) แต่ไม่พอครับ ดูลึกมาอีกสามขั้น..ขั้นเรียนรู้ เพราะสนุกต่อไม่เรียนรู้ ไม่ซักถามก็เป็นไปได้ว่าสนุกไปงั้นเอง..ที่สุดก็ไม่ยั่งยืน..ไม่ทำต่อ..

...

เช่นเคยไปโค้ช ลูกศิษย์ที่เป็นผู้บริหารระดับสูง...สอนตัวต่อตัวเรื่องสุนทรียสนทนา (Dialogue) ...ตอนเขาเรียนเขาเรียนในห้องใหญ่มีพิธีการ ตอนเรียนทุกคนชอบมาก (Reaction) แต่ปรากฏว่าหลายคนไม่ทำต่อ เพราะคิดว่าถ้าไม่มีห้องอบรมดีๆ..มีเสียงระฆัง จะทำสุนทรียสนทนาไม่ได้...พอเราบอกว่า..ไม่จำเป็นที่ไหนก็ทำได้..กับลูก กับภรรยา กับลูกค้า กับลูกน้อง..น้าลิฟท์ ตอนทานข้าว ดื่มกาแฟก็ได้..ขอให้ฟังอย่างตั้งใจเท่านั้น...(Learnging) ได้เรื่องครับ..คราวนี้ไปทำกันใหญ่...เกิดเปลี่ยนพฤติกรรมกันขึ้นมาจริง...เคยไปทะเลาะกับลูกค้า เพราะไม่ฟัง ตอนนี้ฟังจนจบ (Behavioral Change) ...เกิดเป็น ผลงานที่ดีคือ

...

รายแรก.."อาจารย์ครับ..แต่ก่อนลูกค้าว่ามาก็เถียงกลับ..ปัญหาจากหนึ่งปัญหาก็งอกออกมาเป็นสิบปัญหา..ตอนนี้ฟัง ฟังเขาอย่างตั้งใจ...ฟังไปฟังมา...สิบปัญหาเหลือปัญหาเดียว. ตอนนี้ชีวิตดีขึ้นจม."...(Performance)

รายที่สอง.."อาจารย์ครับ..ทะเลาะกับลูกค้ารายนี้มานาน...พอฟังถึงได้เข้าใจว่า..เขาไม่ชอบเราเพราะ เขารับผิดชอบงานด้านนี้..แต่เขากลับรู้ปัญหาหลังคนอื่น...ด้วยขั้นตอนบริษัทนั่นแหละ..ตอนนี้พอฟัง เลยจับจุดได้..มีปัญหา เที่ยวคืน ตีหนึ่ง ผมโทรบอกเขาเป็นคนแรก..เขากลับแฮ๊ปปี้...เพราะเขารู้เป็นคนแรก..และพยายามหาทางช่วยพวกเรา..ตอนนี้กลายเป็นเหมือนเพื่อน เป็นหุ้นส่วนกันไปเลย..."

...

เห็นไหมครับ..การประเมินแบบนี้เปิดโอกาสให้เราปลดล๊อก ในบางจุด...ที่สุด..ความสุข จึงเบ่งบานขึ้น..จนกระทั่งนำไปสู่การเรียนรู้ การเปลี่ยนพฤติกรรม และ การแก้ปัญหาได้จริงในที่สุด..

....

โมเดลนี้เน้นปัจเจกบุคคลครับ..ทำเป็นกลุ่มก็ได้..แต่จะเป็นประโยชน์มากๆ กับแต่ละบุคคลครับ...เอาเชิงปริมาณมาผสมได้ช่วง การเปลี่ยนพฤติกรรม...ครับ..ถ้าเป็นกลุ่มใหญ่...ครับ..แต่การสังเกต จะช่วยได้มากครับ...การเก็บข้อมูลทำอย่างนี้ครับ..

Reaction ใช้การสังเกต 

Learning สังเกต 

Behavioral Change ใช้สังเกต หรือแบบประเมิน เชิงปริมาณก็ได้...

Performance ดูจากเอกสาร (Document) เช่นใบเกรด..ผลการเรียน..ผลเบาหวาน..หรือ สัมภาษณ์ (Interview) ก็ได้..

...

แล้วความสุข ก็วัดได้ครับ..ถามเรื่องเปรียบเทียบ..ใจเย็นครับ..เดี๋ยวจะเขียนในตอนต่อๆไป...

...

คุณละ คิดอย่างไร

หมายเลขบันทึก: 467465เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2011 10:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

This is very much 'lots of observations' (data) on personal interactions with (controlled) stimuli.

Perhaps, we can use 'averages' of various 'aspects' to 'profile' (or measure) personal happiness.

Bhutan (from what I read) implemented 'gross national happiness' measures (on the population) -- not by responses eg. opinion polls or referendum/voting -- but on the statistics of use of infrastructures provided for creating happiness.

In a way, Bhutan silently profiles/measures happiness from 'consumption' of certain goods and services over time.

(No, confronting, knee-jerking responses on individuals who are aware they are being measured -- thus eliminating the 'say cheese' reactions.)

My view of 'good measures' would include characters of kusala-citta and data on events of 'lobha', 'dosa' and 'moha'.

Perhaps, the ratio of sum of kusala-citta events over lobha+dosa+moha events. This way we can have infinitely great happiness when the denominator is minimized. ;-)

This measure is scalable from individual to family to community to region ...

What are kusala-citta events?

I will leave that to be defines by our religious leaders.

The lobhaa-dosa-moha events are well described in the law books. the number of court cases or convictions or police arrests may be used to approximate the denominator.

เป็นประโยชน์มากคะ

เป็นซีรีส์ที่ต้องมาติดตามแน่ๆ

น่าสนใจ ผลลัพท์ของความสุขที่วัดจาก Performance

กับอ่านความเห็นคุณ Sr วัดจาก consumption

.....

นึกโยงไปถึง palliative

เรามักวัด ความพึงพอใจ ซึ่งก็ดี แต่คงต้องยอมรับ "cheese effect" (เข้าใจว่า หมายถึง คนเราไม่อยากให้คนที่ดีกับเราเสียใจ)

หากลองวัดที่ การมาห้องฉุกเฉิน ด้วยสาเหตุที่พอป้องกันได้ ( เช่น อาการปวด, อาการที่ญาติเห็นแล้วกลัว) จะพอได้ไหม..

....

ขออนุญาตเล่า เรื่องการวัดนิดนึงคะ

บทเรียนจากการพบอาจารย์ คุยเรื่องงานวิจัย

ตัวเอง " Epidemiologist เขียนในเอกสารนี้ ว่า การวัดที่ถูกต้องควรแสดงวิธีนี้...คะ "

อาจารย์ "งานวิจัยนี้ เธอเขียนให้ใครอ่าน"

ตัวเอง " Clinician คะ"

อาจารย์ " อืมม์ ถ้าเขาไม่เข้าใจ เขาก็ไม่แคร์..คนเรามักไม่แคร์ สิ่งที่เราไม่เข้าใจ.."

--------------

ขออภัยคะ วันนี้ log in เข้า gotoknow ไมได้ แปลกเหลือใจ

สวัสดีครับคุณ SR

ชอบตรงที่ "ภูฎานเก็บข้อมูลทีี่น่าจะสะท้อนความสุข" ไม่ได้ถามโดยตรง "ลดอคติ" จากการออกไปสอมถามได้โดยตรงครับ..

ผมเคยอยู่ในวงตอนที่หน่วยงานของรัฐต้องการออกแบบดัชนีวัดความสุข...แต่กลับได้สถิติพื้นฐาน ประเภท จำนวนอุบัติเหตุ...เพราะหาสถิติลำบากเหมือนกัน..เราน่าเรียนรู้จากประเทศนี้มากๆ..ครับ..ผมเองในฐานะที่ทำเรื่อง Creative Economy มาก่อนก็เสนอว่า "จำนวนนักออกแบบผลิตภัณฑ์" นี่เป็นตัวเดียว เพราะในแง่เศรษฐกิจ..คนเราไม่ค่อยคิดผลิตภัณฑ์เอง..ชอบเลียนแบบ..ที่สุด เราก็จน ครับ..ผลิตแต่สินค้าใช้แรงงานเยอะ..ตอนนี้แพ้เพื่อนบ้านไปแล้ว เพราะค่าแรงแพง..อยากจะเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ก็ต้องมีคนสร้างสรรค์เยอะ...เป็นต้น..ผมว่าเรื่องนี้คุยกันอีกยาว..

ส่วนแนวทางการวัดแบบที่ผมเสนอเป็นแนวพัฒนาองค์กรครับ...วิจัยแนวนี้จะเป็นพวก Action Research, R2R, Appreciative Inquiry..ตรงนี้นักวิจัยแนวอื่น โดยเฉพาะสายที่ทำ Randomized control หรือเชิงปริมาณใดๆ..จะประหลาดใจมาก ว่าทำไมเราดูไปยุ่งกับผู้ร่วมวิจัย..จริงๆ เราไปยุ่งมากเลยครับ..เพราะเราไปช่วยให้้เขาสร้างการเปลี่ยนแปลง การมีส่วนร่วมจะสูง และจะไม่มีตัวแปรควบคุมครับ..เป็นงานที่มีพลวัตพอสมควร..จุดประสงค์คือ "พัฒนาองค์กร" นั้นๆ ครับ...ความรู้เกิดจากการปฎิบัติ...ซ้ำแล้วซ้ำอีก..ที่เราเรียกว่า Learning by Doing นั่นเอง..แต่ยังไม่พอยังต้อง Learn How to Learn อีก เรื่องนี้ต้องเขียนกันเป็นตอนๆ เลยครับ..

...

งานแนวนี้เลยมี Bias สูง แต่เรามีวิธีควบคุม ไม่ให้ตกขอบจนเป็นอคติ เกินไป ครับ เช่นเราใช้ Validity คือ Outcome Validity ทำ ต้องมีการวัดผล..Process Validity วัดหลายวิธี ดูความสอดคล้อง (ตรงนี้ที่แนะนำให้ใช้โมเดลข้างบน) Catalytic Validity คนทำ และผู้มีส่วนร่วมต้องเกิดการเรียนรู้ (ใช้ BAR,AAR หรือ Reflection ช่วย) Democratic Validity ผู้มีส่วนร่วมต้องเต็มใจ และได้รับข้อมูลตามจริง..ไม่ถูกหลอกมาเป็นหนูทดลอง สุดท้ายต้องมี Dialogic Validity ตลอดการทำวิจัย ต้องหาผู้ที่เป็นมืออาชีพ เช่นอาจารย์ ช่วยดูงานให้ จะได้ไม่อคติ หรือตีความเข้าข้างตนเองเกินไไป..

...

จะเห็นว่าเป็นการควบคุฒที่ยุ่งยากพอสมควร...การวัดจึงออกมาทางสังเกต มาก..ครับ..แต่ก็ประกอบกัน..

ครับสุดท้ายขอบคุณคุณ SR มากครับ ที่เข้ามาให้ข้อเสนอแนะดีๆ

คุณหมอปัทมาครับ

ขอบพระคุณที่แวะมาให้ข้อคิดดีๆ นะครับ..ผมประมวลทั้งคุณ SR และคุณหมอเอง..ทำให้ผมได้แรงบันดาลใจจะเขียนเรื่องการวัด แบบ (ทางบริหารเรียกว่า Proxy) ต่อนะครับ นอกจากนี้ยังมีเรื่องการสังเกต ปรัชญา Epistemology ของงานด้าน Appreciative Inquiry ครับ..

ได้ความรู้เยอะเลยครับ อธิบายซะเห็นภาพ ขอบคุณมากเลยครับ

1) First my apologies for my typo: 'defines' should be 'defined' (blame on 'a s d')

"What are kusala-citta events?

I will leave that to be defined by our religious leaders."

2) Second, we have semantic issues on 'ความสุข' (happiness:feeling good/content) and 'ความพึงพอใจ' (satisfaction:having a wish served). It seems, there is a strong 'correlation' between the two concepts. Children usually say they are happy when they are satisfied (eg. when given a gift they want, when their team wins a competition or when they escape punishment).

3) If we can find a 'correlation' or 'co-agent' on a (statistical) 'variable', we may use a measure on one to reflect another (eg. satisfaction count --> happiness count). But, we have 'relational issues' like transitivity (A --> B --> C ...). Does A --> C? C --> A? Does (A and B together --> C), etc.

One less visible example of correlation may be called 'influence' (as in Boss-->Worker; Teacher-->Student; and Doctor-->Patient). Asymmetrical relations like these subject 'receivers' to modify their responses to fit/learn the framework of 'senders/actors'. Thus, the responses are 'masked' (not necessarily 'biased' but 'repackaged' to fit demand). by the same token, the stimuli are 'customized' to fit receivers (according to actors' perception/assumption on receivers).

Do we not bring upon ourselves, the complication/condition of measurement?

4) Happiness as a "mind" state (from a number of configurations/conditions), in a 'spiritually' way is a religious matter -- "when I believe I am happy, I am happy", I don't need a meter to tell me that! We can 'condition'/train people to be happy in response to certain stimuli (eg. when patients receive medication, when students get a good pass, when we offer 'daana' to monks).

5) Currently, more governments are looking at 'happiness indexes' and ways to govern for greater happiness among people. (They have tried govern for economy -- they have failed.) Definitions of 'happiness' (and measure of happiness) will vary among nations (like definitions of 'human rights'). Which will we favor? The happiness defined by academics and politicians (then 'given' to people) or the happiness realized by people in their everyday life? And which is 'simple/pure'?

สวัสดีครับคุณ SR

อาจารย์จุดประกายให้ผมต้องสืบค้น และทบทวนเรื่องต่อไปนี้เลยครับ...

1. กุศลจิต อกุศลจิต กับความสุข...น่าเขียนต่อครับ...เพราะ Appreciative Inquiry เติบโตมาจากจิตวิทยาบวก (PositivePsychology) เรื่องจิตวิญาณ ศาสนาพุทธ ทางจิตวิทยาก็พูดถึงมากเหมือนกัน...โดยแยกออกจาก Positive Thinking อย่างชัดเจน

2. ส่วนเรื่องความสุขกับความพึงพอใจ ตอนนี้น่าคิดครับ เรามี Marketing 3.0 ซึ่งผมจะเขียนในตอนถัดไป อธิบายปรากฏการณ์ที่ว่านี้ครับ

3. ส่วนเรื่องอะไร เป็นผลอะไร อะไรเป็นตัวกวน ในทาง Action Research หรือ Appreciative Inquiry เราจะรวมเข้ามาในระบบเลยครับ...เพราะเราถือว่ากำจัดไม่ได้..และมันก็จะคงอยู่อย่างนั้น..เราถือความรู้ที่เกิดจากภาคปฏิบัติ ผ่านการทดลองทำซ้ำ...หลายครั้ง จนมั่นใจว่าอะไรเป็นผล อะไรเป็นเหตุ..เรายืนอยู่บนทฤษฎี The Open System ครับ...บางทีเราเรียกว่า Quasi-experiment ครับ...

4. เรื่อง Mind State อาจารย์ทำให้ผมคิดถึงเรื่อง Experiential Marketing ครับ...ประสบการณ์ทำให้เรามองโลก ต่างไป..เงื่อนไขไม่เหมือนเดิม

5. เรื่องรัฐบาลเอง ผมว่า..ผมงงๆ กับ Happiness Index เหมือนกัน เพราะวัดแล้ว So what???

ขอบพระคุณอาจารย์มากๆครับ..(ผมขอเรียกคุณ SR ว่าอาจารย์นะครับ..เพราะข้อคิดเห็นทรงคุณค่ามากๆ..มีโอกาสอยากเจอตัวจริงอาจารย์ครับ.)

ขอบคุณคุณบีเวอร์ที่แวะมานะครับ..

ดร. ภิญโญ,

1) I have been working on release from my attachments, especially self-focusing conditions. I am not teaching but learning. It'd be better to call me "นร sr" ;-)

2) Thank you for "... กุศลจิต อกุศลจิต กับความสุข...น่าเขียนต่อครับ...เพราะ Appreciative Inquiry เติบโตมาจากจิตวิทยาบวก (PositivePsychology) เรื่องจิตวิญาณ ศาสนาพุทธ ทางจิตวิทยาก็พูดถึงมากเหมือนกัน...โดยแยกออกจาก Positive Thinking อย่างชัดเจน..."

I have come to look at happiness index = (kusala-cittas)/(Akusala-cittas) because these cittas are already defined in Buddhist text (Abidhamma of the Tipitaka). To most Buddhists, they are known for over 2 thousands years. they are complete. They are relevant to (Buddhist) Thais. And if we really look closely, Buddhism is not about dwelling in Dukkka (suffering) but release from Dukkha which (Buddhists would agree) has strong (reverse) correlation with Sukha (happiness).

In a more basic practical measure, we may say, hix = (kusala-acts/akusala-acts) and simply using 5-dhammas and 5-siilas as our guides, we may counts our acts over a period for measurement and get a measure.

We can see that the measure of 1 roughly says we are mixed/messed up. If we have not committed against any siila (no acts rooted in lobha, dosa, moha) then the denominator is 0 and we say we have infinitely high happiness. On the other hand, we have not committed any kusala-acts, our numerator is 0, we are deemed unhappy whatever else we have done. The measurement is not 'linear', the less akusala-acts we do, the more happy we are even when we only a few kusala-acts.

But people say, I have a car, I am more happy than people on public bus. Some people say I have education, I am more happy than illiterate laborers. Some people say I have extra-rights and statuses, I am more happy than Mrs See and Mr Saa. And so on. They beg measurement of happiness on 'materials' and 'economics' and 'social powers'. I can only say that "all" people should find "happiness" whatever, whoever, whenever they are. Were our great grand parents happy without cars, degrees, titled jobs?

Much has been done in laws and orders and religions to help people to live happily in harmony in societies. The systems are not perfect yet because there are still people who don't know happiness or strive to build heavens (ivory towers) amid hells (slums) rather than to live as a happy part of of the whole happy community.

Please excuse my rhetorics. I forget my place and babble some times. ;-)

เรียนคุณ SR

อย่างไรต้องขอคารวะครับ..`ชอบมากที่คุณ SR บอกว่า ทำงานเพื่อลดความเป็นตัวตนลง..ดีครับ..."

และขอบคุณสำหรับแง่คิดดีๆ ครับ..คุณ Sr จุดประกายผมเรื่อง Worldview ครับ..ผมว่าคนเรามองโลกต่างกัน เหมือนยังกับอยู่คนละภพภูมิครับ..ผมว่าอธิบายด้วยภพสามครับ..คนเราเป็นเปรตก็ได้ อสุรกายก็ได้ เป็นเดรัจฉานก็ได้..ถ้าขาดการดูแลตัวเองเรื่องศีล..ผมพึ่งอ่านงานของพระอาจารย์ภาสกร ภาวิไลมา ดีมากๆครับ..อาจแล้วอยากเตรียมตัวตายให้ดีกว่านี้..เพราะเมื่อไม่กี่วันพึ่งเข้าโรงพยบาบมา รู้เลยว่า..เรา "อ่อน" จริงครับ..ทุรนทุราย..ไอ้ที่ฝึกมาไม่เข้มพอ..กินน้ำเกลืออยู่ 10 กว่าวัน รู้เลยชีวิตควรเปลี่ยนไปมากกว่านี้..

ผมทำworkshop เรื่อง จิตวิญญาณ (Spirituality) ครับ..เป็นส่วนหนึ่งของ Positive Psychology ผมจะขอแชร์เรื่องที่ผมเจอให้ท่านฟังในตอนหน้าครับ..ตรงกับเรื่องศีลนี่เลยครับ...

ขอนำไปแชร์ในวงสนทนานะครับ อ.โย

AI ช่วยให้ต้นพบจุดเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่อีกแล้วคะ

ขอบคุณมากค่ะ ^_^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท