โรงเรียน อสม.ตำบลแร่


กิจกรรมสำคัญ 1) วิ่งป่วนบ้านป่วนเมือง 2) ทำความสะอาดครัวเรือน 3) โสเหล่ (แลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบชาวบ้าน)

คลิปวีดีโอสรุปกิจกรรมโรงเรียน อสม.ตำบลแร่

การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานโรงเรียน อสม. ตำบลแร่
อำเภอพังโคน  จังหวัดสกลนคร ปี 255
4

(โรงเรียน อสม. สไตล์ ดร.สุขสมัย)

ความเป็นมา/หลักการและเหตุผล

โรงเรียน อสม. คือ “สถานที่ที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มาแลกเปลี่ยน เรียนรู้ทักษะ วิธีการต่างๆ และวางแผนในการปฏิบัติงานร่วมกัน... เพื่อกระตุ้นให้  อสม. ตื่นตัวต่อการพัฒนา และพัฒนาศักยภาพของตนเอง โดยสามารถกำหนดหลักสูตรได้ตามความสนใจของตนเองซึ่งสามารถวัดระดับความสำเร็จของโรงเรียน อสม. จากการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน  โดยเริ่มจากการมีมุมมอง วิธีคิด และวิธีการทำงานแบบใหม่ร่วมกับชุมชน และมีเป้าหมายเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1) การเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและสร้างวิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ 2) สร้างสังคมสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพดีขึ้น 3) การปกป้องสิทธิผู้บริโภคของคนในชุมชน” (กระทรวงสาธารณสุข, 2554)

สถานการณ์ปัญหาที่ต้องเผชิญ 

โรงเรียน อสม.ตำบลแร่ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2553 ในระยะแรกประสบปัญหาในด้านรูปแบบการดำเนินงานที่ยังไม่เป็นรูปธรรมชัดเจน ลักษณะการจัดกิจกรรมของโรงเรียนเป็นไปในลักษณะการประชุมประจำเดือนและให้ความรู้โดยเจ้าหน้าที่เป็นหลัก  มีเพียงเจ้าหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการ ทำให้เจ้าหน้าที่มีภาระงานเพิ่มมากขึ้นและส่งผลให้ประสิทธิผลของการทำงานต่างๆ ลดลง ในระยะต่อมา รศ.(พิเศษ) ทพ.ดร.สุขสมัย สมพงษ์ นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ(ด้านส่งเสริมพัฒนา) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร ได้พัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนโดยใช้กระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมทั้งภาคประชาชน (อสม., ผู้นำชุมชน) และภาครัฐ (รพ.สต.แร่, คปสอ.พังโคน)

แนวคิดหรือแนวทางใหม่ 

       แนวคิดในการดำเนินงานโรงเรียน อสม.ตำบลแร่ คือ เสริมพลังภาคประชาชน (อสม.) ให้มีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน อสม. ในรูปแบบของคณะกรรมการ ปรับบทบาทเจ้าหน้าที่จากผู้ให้บริการเป็นผู้สนับสนุน ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ คือ มีคณะกรรมการโรงเรียน อสม.ที่เข้มแข็ง สามารถจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน อสม.ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีการจัดการสุขภาพในชุมชนโดย อสม. ที่มีผลสัมฤธิ์ที่ดี

ขั้นตอนการดำเนินการ 

1.  ประชุมชี้แจงความสำคัญของการจัดตั้งโรงเรียน อสม. โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมคือ อสม.ทุกคน และ จนท. ประจำ รพ.สต.แร่

  1. คัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการโรงเรียน โดยเน้นภาคประชาชน (อสม.) เป็นหลัก
  2. คณะกรรมการโรงเรียน อสม. ร่วมกันพัฒนาโครงสร้างกิจกรรมโรงเรียน อสม.

 

งบประมาณ 

-         การระดมทุนจากชุมชน (จัดทำผ้าป่าสามัคคี) เพื่อสร้างอาคารเรียน

-         การระดมทุนค่าอาหารจาก อสม.ในการจัดกิจกรรม คนละ 20 บาท ต่อเดือน

-   งบประมาณสนับสนุนงานสาธารณสุขของหมู่บ้าน จาก อบต.  โดยสนับสนุนแผนงานสาธารณสุขด้านการพัฒนาศักยภาพคนในชุมชน

ผลลัพธ์ 

1.  มี คณะกรรมการโรงเรียน อสม.ที่สามารถจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน อสม.ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.  ลดภาระงานของเจ้าหน้าที่เพิ่มประสิทธิผลของการทำงาน โดยมีภาคประชาชนช่วยผลักดันกิจกรรม

3. ผลลัพธ์รายประเด็นในการดำเนินกิจกรรมเน้นหนัก

  • คนในชุมชนตื่นตัวในการออกกำลังกายมากขึ้น
  • มีครัวเรือนผ่านเกณฑ์ครัวเรือนสะอาดเพิ่มมากขึ้น
  • มีการนำปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่มาโสเหล่ หาข้อสรุปและกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน

ปัญหาอุปสรรคและการแก้ไข

        ในระยะแรกพบว่ามี อสม.บางคนมาเรียนไม่ครบตามกิจกรรมที่กำหนด ต่อมาจึงแก้ไขโดยการจัดกิจกรรมการสอนซ่อมเสริม  และมีการกำหนดมาตรการทางสังคมให้ไปช่วยกิจกรรมสาธารณสุขหรือเป็นจิตอาสา ที่ รพ.สต.แร่ จำนวน 2 วัน วันละ 3 ชั่วโมง 

สรุป วิเคราะห์และอภิปรายผล

จะเห็นได้ว่าการพัฒนารูปแบบการดำเนินการโรงเรียน อสม.ตำบลแร่ ใช้กระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของทั้งภาคประชาชนและภาครัฐ ส่วนคณะกรรมการของโรงเรียน อสม.ตำบลแร่นั้น ก็มีการให้ความสำคัญกับคณะกรรมการที่มาจากภาคประชาชน (อสม.) เป็นหลัก  ปรับบทบาทเจ้าหน้าที่จากผู้ให้บริการเป็นผู้สนับสนุนบริการ มีทรัพยากรในการบริหารจัดการที่มีความสอดคล้องกับองค์ประกอบของระบบสุขภาพภาคประชาชน  กล่าวคือ มีองค์ประกอบหลักๆ 3 อย่าง คือ คน องค์ความรู้ และทุนในการพัฒนา ในการผลักดันกิจกรรมให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง

สามารถสืบค้น/สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

  1. เว็บไซต์ http://www.raepk.blogspot.com/  และ  http://www.mongkolsoft.com/
  2. E-mail : [email protected] และ  [email protected]



หมายเลขบันทึก: 467467เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2011 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 07:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท