โครงสร้างรายวิชาโลกศึกษา Global Education : GE


โครงสร้างรายวิชาโลกศึกษา Global Education : GE

โครงสร้างรายวิชาโลกศึกษา (Global Education : GE)

0.5 หน่วยการเรียน                                              20 ชั่วโมง/ภาคเรียน

หน่วยการเรียนรู้

ที่

ชื่อหน่วยการเรียนรู้

ผลการเรียนรู้

สาระการเรียนรู้

เวลา

(ชั่ว

โมง)

คะ

แนน

ภาระงาน(ชิ้นงาน)

1

ความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship)

1-3

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ และสถาบัน การมีบทบาทที่เกี่ยวข้องในฐานะสมาชิกของสังคมทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศ และระดับโลก ตลอดจนการมีส่วนร่วมรับผิดชอบในฐานะพลเมืองที่ดีของสังคม ที่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนและอุดมการณ์ประชาธิปไตย

2

10

ใบบันทึกกิจกรรม (Activity Report)

2

ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice)

1-3

ความสำนึกตระหนักในความสำคัญของความเสมอภาคและความยุติธรรมในสังคม มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการสร้างความเท่าเทียมและความเป็นธรรมในสังคม

2

10

ใบบันทึกกิจกรรม (Activity Report)

3

สิ ทธิ มนุษยชน (Human Rights)

1-3

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน การเคารพและยึดมั่นในสิทธิและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

2

10

ใบบันทึกกิจกรรม (Activity Report)

4

การแก้ปัญหาความขัดแย้ ง(Conflict Resolution)

1-3

ความรู้ความเข้าใจธรรมชาติของความขัดแย้ง มีขันติ อดทน อดกลั้น ต่อความแตกต่าง ขัดแย้ง สามารถเจรจาต่อรอง          เชื่อมประสาน เพื่อลด ปัญหา หรือคลายปมขัดแย้ง โดยปราศจากการใช้ความรุนแรง

3

15

ใบบันทึกกิจกรรม (Activity Report)

5

การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development)

1-3

ความรู้ ความเข้าใจ หรือความจำเป็นในการจรรโลง รักษา และพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยปราศจากการทำลายโลก เพื่อความอยู่รอดของชีวิตในรุ่นต่อไป โดยคำนึงถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน

3

15

ใบบันทึกกิจกรรม (Activity Report)/นิทรรศการ

6

ค่านิยม และการสัมผัสรับรู้ (Values &Perceptions)

1-3

ความสามารถในการประเมินคุณค่าเกี่ยวกับประเด็นสาคัญระดับโลก และผลที่กระทบต่อเจตคติและค่านิยมของผู้คนที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงความสำคัญและค่านิยมด้านสิทธิมนุษยชน

2

10

ใบบันทึกกิจกรรม (Activity Report)

7

ความหลากหลาย (Diversity)

1-3

ความรู้ความเข้าใจการยอมรับ และตระหนักในความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ สังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี รวมทั้งความหลากหลาย ทางชีวภาพตลอดจนผลกระทบของสภาพแวดล้อมที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

3

15

ใบบันทึกกิจกรรม (Activity Report)

8

การพึ่งพาอาศัยกัน (Interdependence)

1-3

ความเข้าใจ ตระหนักรู้ ถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกัน ของผู้คน ถิ่นฐาน เศรษฐกิจ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เข้าใจสภาวการณ์ในระดับโลก สามารถเรียนรู้ที่จะจัดการกับความซับซ้อนได้

3

15

ใบบันทึกกิจกรรม (Activity Report)/นิทรรศ-การ

รวม

20

100

ประวัติวิทยากร 

           ปริญญาเอกการศึกษาดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

           ประกาศนียบัตรนักพูดจากสมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย และสถาบันฝึกพูดทางการฑูต

ประสบการณ์ ครูโรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการรัชดา และโรงเรียนสตรีวิทยา

                เป็นวิทยากรของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์วิทยาศาสตร์ศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และกระทรวงพัฒนาสังคมและทรัพยากรมนุษย์

เป็นวิทยากรบรรยาย และอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การออกแบบการจัดการเรียนรู้              ด้วยเทคนิค Backward Design การพัฒนาทักษะการคิด การวิจัยในชั้นเรียน การวิจัยแบบบูรณาการ และ การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School) ฯลฯ

ผลงาน Best Practice การพัฒนาทักษะการคิดโดยนักเรียนทำวิจัยแบบบูรณาการด้วย TCAIC Model

             Best Practice การพัฒนาบุคลากรด้วย PGKCASE Model

        Best Practice รักการอ่าน ผ่านกระบวนการคิด เศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่คุณธรรม ด้วย IRTSM Model

เคยเป็น เลขานุการของประธานกลุ่มประสิทธิภาพมัธยมศึกษา สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ปัจจุบัน เป็นนักวิชาการและนักวิจัยอิสระ

ดร.ดำเนิน  ยาท้วม 081-7862797 Fax 02-5135029

หมายเลขบันทึก: 467287เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2011 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท