ชาวนาวันหยุด ตอนที่ 9.4 โตขึ้นหนูๆอยากเป็นอะไร


กิจกรรม การเรียนรู้ ร่วมกันของสมาชิกครอบครัว ชาวนามืออาชีพ และชาวนาวันหยุด

กิจกรรมชาวนาวันหยุด 14 สิงหาคม 2554

เดินทางช่วงเช้า จาก อ.เมือง จ.กำเเพงเพชร มาถึงยัง อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ ช่วงสาย เพื่อ  

1.นัดแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับชาวนามืออาชีพ พร้อมครอบครัว

2.กิจกรรม สุ่มวัดผลผลิต บนพื้นที่ 1 ตารางเมตร

3.เตรียมบ่อพลาสติกอนุบาลเเหนเเดง

4.สำรวจเเปลงนา ก่อนการเก็บเกียว

5.อาหารมื้อเย็น ที่ภัตตาคารบ้านทุ่ง

 


เริ่มต้นด้วย บันทึก กิจกรรมที่ 1 นี้ครับ 

1.นัดแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับชาวนามืออาชีพ พร้อมครอบครัว

เคยเขียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ เรื่อง ลูกหลานชาวนาไว้ที่นี่ครับ 

รักลูก ให้ลูก ทำนา อย่างมืออาชีพ

        สิ่งที่เป็นผลสืบเนื่องจากการเปลี่ยนระบบการเพาะปลูก (นาดำ->นาหว่าน) ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของครัวเรือนตามไปด้วย เดิมกิจกรรมในท้องนา สามารถทำร่วมกันได้ทั้ง พ่อ แม่ ลูก หลาน ทำนา ไม่กี่ไร่ ไม่กี่งาน ก็สามารถทานกันได้ทั้งปี ทั้งครอบครัว ... ทุกคนมีส่วนร่วม มีบทบาท มีความผูกพัน มีคุณค่า มีความภาคภูมิ กับอาชีพชาวนา เกษตรกรผู้ยิ่งใหญ่

        จากยุคสมัยที่เปลี่ยนเเปลงไป ด้วยแรงกระตุ้นของนโยบายส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม ส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ มีการดึงแรงงานเเฝง ออกจากภาคการเกษตร(จากเจ้าของกิจการ) มาเป็นลูกจ้าง ในระบบอุตสาหกรรม การบริการ และกลายเป็นผู้บริโภคอย่างขนานใหญ่ 

         การผลิตภาคเกษตร ส่งเสริมการผลิตเพื่อการส่งออก มีการนำเข้า ปัจจัยการผลิตไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี สารเคมี เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และเพื่อลดปัญหาการขาดเเคลนแรงงาน จึงต้องหาวิธีการเพาะปลูกที่พึ่งพาแรงงาน อย่างนาดำ มาเป็นการทำนาหว่าน ที่ทำได้ง่าย สบายกว่า ไม่ต้องไปก้มๆเงย หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน  

        เเปลว่า "ชาวนา ส่วนใหญ่น่าจะมีเวลา เพิ่มขึ้น สามารถประกอบกิจกรรมนอกภาคเกษตร ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น (แต่ไม่ได้ใช้เอง เอาไปให้ลูกใช้หมด)"  

       และสิ่งที่เกิดขึ้นกับลูกหลาน คือ การเปลี่ยนเเปลงค่านิยม  ถึงอนาคตการทำงาน และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น กับอาชีพใหม่ -"มนุษย์เงินเดือน" การศึกษา เปลี่ยนไป  เริ่มห่างไกลจากรากฐาน ของครอบครัว เกิดการแข่งขัน และมีค่าใช้จ่าย ในการเรียน การศึกษาเพิ่มสูงขึ้น  

        ลดชั่วโมงในท้องนา มาอยู่กับตำรา มากขึ้น ...

        เพื่อโอกาส การเป็นเจ้าคน นายคน ในสายงานอาชีพลูกจ้าง .... 

พร้อมๆกับการลดบทบาท ลดความผูกพัน ลดประสบการณ์  ใน อาชีพชาวนา เกษตรกรผู้ยิ่งใหญ่ ที่ละน้อยๆ ... จนบอกได้แค่ว่า เคยดูพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตายาย ทำ  แต่ไม่เคยลงมือทำ ... การพัฒนาด้านการเกษตร จากคนในจึงขาดตอน 

ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่จะตั้งคำถาม กับตัวเอง  ...???

       ถึงเวลา กลับมาพัฒนา จากพื้นฐานที่มี + ต่อยอดความรู้ด้านการเกษตรที่ขวนขวายเรียนรู้ มาลงสู่การปฏิบัติ กันจริงๆ หรือยัง ??? 


     

  วันนี้ผมมีนัด กับ คุณ สำเริง แสนคำ ชาวนามืออาชีพ พร้อมครอบครัว

จาก อ.โพทะเล จ.พิจิตร  ชาวนาโดยกำเนิด ที่พลิกผันชีวิต  เปลี่ยนเเปลง วิธีคิด วิธีทำ จาก การทำนาเอาโล่ห์ แข่งกันที่ผลผลิต แต่ไม่เคย เอาต้นทุน ผลตอบแทนที่แท้จริง มาคุยกัน  

     

มาสู่การทำนา ด้วยการแสวงหาแนวทางลดต้นทุน ด้วยการทำนาดำ และเลี้ยงเป็ดไข่ ในร่องนาดำ เเปรรูปผลผลิตข้าว และหาตลาดเอง

- ลดต้นทุนปุ๋ยเคมี สารฆ่าหญ้า ฆ่าแมลง

- เพิ่มรายได้จากการขายไข่เป็ด ให้กับครอบครัว

- ลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของครอบครัว (เเหล่งอาหารโปรตีน)

- ลดภาระค่าใช้จ่าย ด้านสุขภาพ  

 
 

 และคุณฉัพพัณณ์ จิระเศรษฐพงศ์ ชาวนามืออาชีพ พร้อมครอบครัว

พื้นฐานครอบครัวจาก กรุงเทพฯ จบวิศวะโทรคมนาคม เคยทำงานเป็นลูกจ้าง "มนุษย์เงินเดือน" บริษัทข้ามชาติด้านการวางระบบการสื่อสาร  แต่เลือกที่จะหันหลัง ให้กับชีวิตเมือง มาทำนา โดยที่ไม่เคยมีประสบการณ์ทำนา มาก่อน แต่วันนี้ เค้าเป็นชาวนามืออาชีพ ด้วยการสวมบท ชาวนานักบริหาร บริหาร "คน" เพื่อผลสำเร็จของงาน บนพื้นที่นา กว่า 400 ไร่

          (อะไรคือแรงบันดาลใจ ให้ไปทำนา ไปติดตามชมได้ที่นี่ครับ)  

มาชมความซุกซน ของเด็ก กันครับ 

 

หมายเลขบันทึก: 467257เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2011 23:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท