จากโจทย์จริงสู่ปัญหาการวิจัย


ฐานข้อมูลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชเดิม...ในชุมชน ก็ยังคงเป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องเยียวยาด้วยเช่นกัน

จาก...

 

 

อาจารย์มีแนวคิดการดูแลและจัดกา รกับปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนอย่าง ไรบ้างครับ ชุมชนผมมี 3 ตำบล (3 รพ.สต) ประชากรหมื่นคน

 

สมมติว่าก่อนลงพื้นที่ข้าพเจ้าได้รับข้อมูลเพียงเท่านี้ ...แต่จะต้องมีการเตรียมการและวางแผน

การลงไปช่วยเหลือและเยียวยาคนในพื้นที่เพื่อกู้ใจให้มีกำลังจิตกำลังใจกลับมาเพื่อเผชิญกับสภาวะวิกฤติในชีวิต

เราไม่อาจรู้ได้ว่า...คนในชุมชนเหลืออยู่มากน้อยเท่าไร

แต่ข้าพเจ้าก็มองว่าทุกๆ คนในชุมชนควรได้รับการเยียวยา ...

แต่ถ้าหากว่า "กำลังคนที่เราจะลงไปช่วยนั้นมีจำนวนน้อย" แล้วเราจะทำอย่างไร?

จากสภาวะการณ์เช่นนี้เราจำเป็นต้องศึกษาพื้นที่

แต่...หากเราได้พบกับข้อจำกัดในเรื่องของการได้มาซึ่งข้อมูล ก็อาจไม่ต้องกังวลก็ได้ เราลงพื้นที่ไปก่อนในชุดแรก ถือว่าเป็นการไปสำรวจพื้นที่ไปในตัว...

จากนั้นเราก็อาจสามารถวางแผนคร่าวๆ ได้เราจะให้การช่วยเหลือเยียวยาทางด้านจิตใจได้อย่างไร

ข้าพเจ้ายังเชื่อในเรื่องของพลังชุมชน...

และการคัดกรองระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้นในจิตใจ การใช้แบบคัดกรองอาจใช้ได้ในระดับที่ดีพอในห้วงเวลาหนึ่ง เพราะสกรีนได้รวดเร็วแต่ไม่ลึกซึ้งในแง่มิติความลุ่มลึกทางจิตใจ

ความทุกข์ของคนวัดออกมาเป็นตัวเลขไม่ได้

และเปรียบเทียบค่าตัวเลขแห่งความทุกข์ระหว่างกันและกันไม่ได้

แต่...การคลุกคลีพูดคุย ถามไถ่ สังเกต...ภายใต้สัมพันธ์ภาพที่ดีงาม ย่อมให้เราได้รับข้อมูลแห่งความทุกข์ในใจของผู้คนได้ดียิ่งขึ้นกว่า

...

ค้นหาศักยภาพของคนในครอบครัว และชุมชน...

เน้นให้ครอบครัวและชุมชนได้เยียวยากันและกัน ผ่านวิถีการช่วยเหลือ

ที่มา Chu Narak

ดั่งในภาพเยียวยากันและกัน

 

จากนั้น...

เริ่มคัดกรอง...ข้าพเจ้าชอบในวิถีธรรมชาติ การทำกระบวนการกลุ่ม supportive อาจทำให้เราได้มองเห็นขวัญและกำลังใจในแต่ละคนที่เข้ากลุ่มว่ามีมากหรือน้อยเพียงใด

จากนั้นนำผู้ที่มีในระดับที่ไม่มาก สามารถปรับตัวได้ในระยะเวลาอันสั้น empower ให้ลุกขึ้นมาร่วมเป็นจิตอาสาเยียวยาจิตใจกันและกัน เพราะขณะที่ทำหน้าที่เป็นจิตอาสานั้น ...สภาวะจิตใจของเขาก็จะได้รับการเยียวยาอย่างอัตโนมัติ

ส่วนผู้ที่มีสภาวะจิตในกลางและระดับละเอียด...

จำเป็นต้องรับการให้คำปรึกษา (Psychology of Counseling) หรืออาจออกมาในรูปของกลุ่มบำบัด...ซึ่งในสภาพการณ์เช่นนี้ข้าพเจ้ามองว่าการทำกลุ่มบำบัด (Group Counseling / Group Therapy)ให้ผลได้ดี ...เพราะจะเกิดเป็นพลังแห่งกันและกัน

เมื่อสภาวะจิตเคลื่อนมา...สู่ในระดับหนึ่งคือ มีกำลังใจดีขึ้น นำพาพวกเขาเคลื่อนไปสู่การเยียวยาผู้อื่น ดั่งกลุ่มแรก...เพราะการเยียวยาจากผู้ประสบภัยด้วยกันจะทำให้เข้าอกเข้าใจกันมาก และอาสาสมัครที่เข้าไปช่วยเหลือเยียวยาก็ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงประคับประคอง

ยิ่งหากว่าการเยียวยาสามารถทำผ่านกิจกรรมการทำงาน การบูรณะพื้นที่ในชุมชน ...จากนั้นก็หาเวลามานั่งล้อมวงทำกลุ่มบำบัดเยียวยาก็จะยิ่งฟื้นฟูได้เร็วขึ้น

หากบุคคลใดมีอาการที่ส่อนำไปในแนวทางการเกิดอาการทางจิตอาจต้องนำส่งจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

เป้าหมายแห่งการเยียวยา...

ไม่ควรถูกกดด้วยยา เช่น แจกจ่ายยานอนหลับหรือยาคลายเคลียด...เพราะไม่ใช่การแก้ไขที่ลงไปสู่ในระดับจิตวิญญาณอย่างแท้ เพราะนั่นเป็นเพียงการกดทับความทุกข์ทางใจไม่ให้โผล่พ้นขึ้นมาในชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น

การนำพา...

ไปสู่การยอมรับความจริงและการเผชิญหน้ากับความทุกข์ อันมาจากความรู้สึกสูญเสีย และหวาดกลัว โกรธแล้วแปรเปลี่ยนมาเป็นความเศร้า...ถูกปลุกเร้าด้วยพลังแห่งความรักและความกรุณา...

การให้อยู่กับลมหายใจ เป็นการฝึกเจริญสติที่เป็นเทคนิคที่ทำได้ง่ายและสะดวกสำหรับทุกคน ทำได้ทุกอิริยาบท อีกทั้งสามารถช่วยให้นอนหลับได้ดี

การจัดบรรยากาศ...ของศูนย์พักพิงที่เอื้อต่อการเยียวยาทางจิตใจ ที่ไม่อึกทึกมากนัก หากแต่เหมาะต่อการนั่งพูดคุยแลกเปลี่ยน ให้กำลังใจ และฝึกผ่อนคลายจะสามารถช่วยได้

...

นี่คือ...วิธีการคร่าวๆ ในใจของข้าพเจ้า

และถ้าหากลงไปในพื้นที่สามพื้นที่ดังกล่าว จุดที่เลือกเป็นสถานที่เยียวยาก็คงจะเป็นบริเวณศูนย์ที่เหมาะจะทำกลุ่มบำบัด,กลุ่มให้คำปรึกษา,กลุ่มเยียวยาได้ดี

มองหากำลังสำคัญที่เป็นบุคคลในพื้นที่...ในศูนย์มาเป็นกำลังหนุนสำคัญในการทำงานนี้

ที่สำคัญ...

การทำงานเช่นนี้ต้องวางแผนระยะเวลา...ไม่ใช่ว่าจะทำครั้งเดียวแล้วได้ผล ต้องอาศัยระยะเวลานานพอสมควร ดังนั้นจึงมีการวางแผนทั้งในระยะยาวและระยะสั้น หากเป็นข้าพเจ้ามักจะถนัดการเทรน (train) คนในพื้นที่ให้มีทักษะการเยียวยาและสามารถทำงานร่วมกับอาสาสมัครนั้นได้ไปในตัว

ทั้งนี้ทั้งนั้นนักจิตวิทยาทำงานโดยลำพังไม่ได้ ...ต้องร่วมงานเป็นทีมกับผู้ช่วยเหลือในด้านต่างๆ ร่วมด้วย

และแนวคิดจาก การเยียวยาจิตใจในพื้นที่วิกฤติ ก็ยังสามารถนำมาร่วมกันได้ระหว่างการทำงานของนักมานุษยวิทยาและนักจิตวิทยาและผู้ให้การเยียวยาทางด้านจิตใจ

...

๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๔

 

 


หมายเลขบันทึก: 467254เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2011 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2013 06:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Ka Poom หากดูเรื่องจิตใจ...จะนึกถึง ๑ ผู้นำทางจิตวิญญาณในชุมชน ผู้นำชุมชน อสม. และทีมช่วยเหลือนักจิต/จิตแพทย์/บุคลากรสาธารณสุข (ทำหน้าที่เป็นโค้ช)...และการฟื้นฟูจิตใจผ่านกิจกรรมการบูรณะชุมชนร่วมกัน ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจะช่วยเยียวยาใจเขาได้

Ka Poom นึกถึงจิตแพทย์ท่านหนึ่งหลังเกิดเหตุการณ์สึนามิ ได้ลาออกจากงานไปฝังตัวในพื้นที่เพื่อฟื้นฟูและเยียวยาจิตใจ...และนึกถึงเรื่องหมู่บ้านคีรีวงศ์ เป็นต้นแบบเรื่องการฟื้นฟูจิตใจหลังน้ำท่วมได้ดีทีเดียวค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท