Rat
นางสาว รัตนาพร รัตน์ แก้วมณี

การใช้ภาษาไทยของวัยรุ่นในการสื่อสาร


ภาษาไทยกับวัยรุ่นไทย

การใช้ภาษาไทยของวัยรุ่นในการสื่อสาร

หมายเลขบันทึก: 46692เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2006 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มิถุนายน 2012 19:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

วันรุ่นใช่ภาษากันอย่างไรในปัจจุบันนี้

นักเรียนโรงเรียนสตีศึกษา

หลังเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงการที่มีนักวิชาการ ออกมาโจมตีการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่นปัจจุบันที่ผิดเพี้ยน โดยเรียกการพูดจาลักษณะดังกล่าวว่า เป็นการใช้ภาษาแบบ “แอ๊บแบ๊ว” พร้อมทั้งระบุเป็นการพูดเพื่อความโก้เก๋ ที่มีดารานักร้องเป็นตัวอย่าง จนห่วงว่าอาจทำให้เกิดวิกฤติจนถึงขั้นภาษาไทยวิบัติได้ ซึ่งก็ยังคงมีความคิดเห็นจากบุคคลที่เกี่ยวข้องตามออกมาอย่างต่อเนื่องโดยนายกิจมาโนจญ์ โรจนทรัพย์ หรือ “ครูลิลลี่” กล่าวในฐานะติวเตอร์วิชาภาษาไทย ว่าการที่เด็กและเยาวชนใช้ภาษาไทยแบบแอ๊บแบ๊วนั้น ไม่ใช่เรื่องผิด เพราะบางครั้งเด็กจะใช้สื่อสารระหว่างเพื่อนระหว่างกลุ่มเท่านั้น เพื่อเป็นการสร้างสีสันให้แก่กลุ่ม แต่บางคนอาจจะติดมาใช้กับผู้ใหญ่บ้าง ผู้ใหญ่ก็ควรแนะนำให้เด็กรู้วิธีการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง เพราะภาษาไทยมีการพูดและการใช้หลายระดับ เช่น พูดกับผู้ใหญ่ พูดกับเพื่อนด้วยกันเอง จึงไม่อยากให้ไปกล่าวหาเด็กว่า ทำให้ภาษาไทยวิบัติ เนื่องจากการใช้ภาษาไทยแบบแอ๊บแบ๊ว เป็นวิวัฒนาการของภาษารูปแบบหนึ่ง และไม่มีใครสามารถไปบังคับไม่ให้เกิดขึ้นได้ในโลกยุคโลกาภิวัตน์

ทั้งนี้ ครูลิลลี่ยังกล่าวด้วยว่า ไม่ห่วงว่าภาษาไทยจะวิบัติ เพราะภาษาเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย แต่ห่วงการนำไปใช้ของเด็กและเยาวชนมากกว่า ถ้าเด็กนำไปใช้แบบไม่ถูกกาลเทศะก็จะเกิดอันตรายต่อเด็กเป็นอย่างมาก เช่น นำไปใช้ในการเขียนข้อสอบ นำไปเขียนหนังสือที่เป็นทางการ ดังนั้น จึงอยากให้หน่วยงานภาครัฐ สื่อมวลชน พ่อแม่ ครู ช่วยสร้างความเข้าใจให้แก่เด็ก อย่าโทษเด็กว่าทำให้ภาษาวิบัติ เพราะเป็นคำที่รุนแรงและจะเป็นการปิดโอกาสไม่ให้เด็กได้เรียนรู้

ด้านเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ กล่าวว่า การใช้ภาษาไทยแบบแอ๊บแบ๊วของวัยรุ่นนั้น เกิดจากวิวัฒนาการใช้ภาษาสื่อสารแบบภาษากลาย และการสื่อสารแบบโพสโมเดิร์น หรือวัฒนธรรมมือถือ ที่เข้ามามีอิทธิพลทางด้านภาษาและการสื่อสาร เนื่องจากคนต้องการสื่อสารกันมากขึ้น แต่มีคำศัพท์ที่ใช้น้อยลง จึงทำให้คนต้องคิดคำศัพท์ใหม่ขึ้นมาใช้กันเอง

ขณะเดียวกันเด็กและเยาวชนก็ไม่อ่านหนังสือ จึงทำให้เกิดจุดด้อย คือ คนไม่สามารถคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ที่เป็นภาษาสละสลวยได้ ส่งผลให้เกิดภาษาสแลง คือการใช้ภาษาแบบแอ๊บแบ๊ว การใช้สำเนียงฝรั่งเข้ามาสื่อสารมากขึ้น จนกระทั่งภาษาไทย กลายเป็นภาษากลาย ซึ่งการใช้ภาษาแบบแอ๊บแบ๊ว เป็นผลพวงมาจากระบบการศึกษาที่ล้มเหลว เมื่อเด็กและเยาวชนใช้กันมากขึ้นจะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ เพราะจะพูดกันไม่รู้เรื่อง อย่างไรก็ตาม ภาครัฐควรแก้ที่ต้นเหตุ คือ การที่เด็กไม่อ่านหนังสือจะดีกว่า ถ้าแก้ได้ก็จะทำให้การใช้ภาษาไทยแบบผิดเพี้ยนไม่เกิดขึ้น ทั้งนี้การใช้ภาษาไทยแบบแอ๊บแบ๊วไม่ใช่วิกฤติของภาษา แต่การไม่อ่านหนังสือเป็นเรื่องที่น่ากังวลยิ่งกว่า

ด้านรอง เค้ามูลคดี นักแสดงอาวุโส ผู้ที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติและยกย่องเป็นผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นของกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ยอมรับว่าส่วนหนึ่งมาจากการพูดของคนในวงการบันเทิง ที่พูดไม่ชัดแล้วส่งผลต่อเด็กที่รับชมนำไปเลียนแบบ อย่างไรก็ตามส่วนตัวเห็นว่าเรื่องนี้คงโทษนักแสดงทั้งหมดไม่ได้เพราะทุกอย่างเป็นไปตามบทบาท แต่อยากเชิญชวนผู้ผลิตสื่อในวงการบันเทิงให้ช่วยระมัดระวังในการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง อย่าให้ผิดเพี้ยนมากจนเกินไป

ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับโลกเราเป็นอย่างมาก ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันรวมทั้งการสื่อสารมีความสะดวกสบายมากขึ้นด้วย ซึ่งในปัจจุบันนี้วัยรุ่นยุคใหม่บางส่วนได้นำค่านิยมผิด ๆ มาใช้กัน นั้นก็คือการใช้ภาษาไทยที่ผิด โดยคิดว่าเมื่อใช้แล้วมันเก๋ดี มันเท่ห์ดี แต่หารู้ไม่ว่าอาจจะทำให้ภาษาไทยของเราเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงและทำให้เยาวชนยุคหลังๆใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้องตามไปด้วย ประเทศไทยของเรามีภาษาเป็นของตนเองแสดงออกถึงความเป็นเอกราชและความภาคภูมิใจ แต่เยาวชนบางส่วนกลับไม่รู้คุณค่าของมัน

การใช้ภาษาไทยที่ผิด ๆ ของวัยรุ่นนั้นเป็นสิ่งที่จะทำให้ภาษาไทยวิบัติลงไปจริง ๆ ซึ่งจะเห็นได้จากที่วัยรุ่นใช้สื่อสารกันทาง msn เช่นคำว่า โกรธ -โกด คิดถึง - คิดถุง แล้ว - แร้น เพราะคำเหล่านี้ทำให้พิมพ์ง่าย สื่อสารกันได้เร็ว และดูเก๋ด้วย แต่ถ้าคิดอีกแง่มุมหนึ่ง คือภาษาไทย 1คำ สามารถเขียนได้หลายแบบ เพราะภาษาไทยมีพยัญชนะที่ออกเสียงเหมือน ๆ กัน มีสระที่เสียงคล้าย ๆ กัน จึงทำให้สามารถเขียนออกมาได้หลายแบบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาษาไทยนั้นสามารถดัดแปลง เปลี่ยนแปลงคำได้หลากหลาย โดยที่ความหมายเหมือนเดิม แต่ลักษณะการเขียนผิดออกไป

อย่างไรก็ตาม การรักษาภาษาไทยที่เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของไทยที่มีมาแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหง นั้นเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน โดยเฉพาะเยาวชนที่จะต้องช่วยกันและหันมาเอาจริงเอาจังกับการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่าที่จะใช้ภาษาที่เก๋ไก๋แต่ทำให้ภาษาพ่อภาษาแม่ของเราวิบัติไป ผมจึงอยากเชิญชวนให้คนไทยทุกคนช่วยกันรณรงค์ให้ใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง ช่วยกันสืบต่อให้คนรุ่นหลังของเราได้ใช้ภาษาไทยต่อไป

เรามาใช้ภาษาอย่างถูกต้องกันเถอะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท