มีหลักในการพิจารณาดังนี้
1. พิจารณาว่างานนั้น “เป็นงานสร้างสรรค์(Creative work)” หรือไม่
งานสร้างสรรค์จะต้องเกิดจากความคิดริเริ่มของผู้สร้างสรรค์ (Idea) มีการแสดงออกมาเป็นรูปธรรมซึ่งความคิด (Expression of Idea) มีการคิดที่เกิดจากตนเอง (Originality) ใช้ความวิริยะอุตสาหะการพยายามในการทำงาน (Creative effort)ซึ่งสิ่งต่างๆที่กล่าวมาอาจเกิดจากการที่ได้สะสมประสบการณ์ในการดูสิ่งต่างๆและนำมาสร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ (Standing on the shoulder of giant) ก็ถือว่าเป็น “งานสร้างสรรค์” (Creative work)
2. พิจารณาว่างานนั้นเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์(Copy rights)หรือไม่
โดยพิจารณาจากมาตรา 6 ประกอบมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
มาตรา 6 “งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด
การคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่คลุมถึงความคิด หรือขั้นตอน กรรมวิธีหรือระบบ หรือวิธีใช้หรือทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์”
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
“ผู้สร้างสรรค์” หมายความว่า ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
“ลิขสิทธิ์” หมายความว่า สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำการใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น
3. พิจารณา “การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์”
ปกติการสร้างสรรค์งานย่อมตกได้แก่ผู้ก่อหรือทำให้เกิดงานสร้างสรรค์ ตามมาตรา 4 ประกอบมาตรา 8 แต่มีข้อยกเว้นที่ลิขสิทธิ์ตกแก่ผู้อื่น ตาม มาตรา 9 ถึงมาตรา 14
ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
มาตรา 8 “ให้ผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้นภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ยังไม่ได้มีการโฆษณางาน ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยหรืออยู่ในราชอาณาจักรหรือเป็นผู้มีสัญชาติหรืออยู่ในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ตลอดระยะเวลาหรือเป็นส่วนใหญ่ในการสร้างสรรค์งานนั้น
(2) ในกรณีที่ได้มีการโฆษณางานแล้ว การโฆษณางานนั้นในครั้งแรกได้กระทำขึ้นในราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย หรือในกรณีที่การโฆษณาครั้งแรกได้กระทำนอกราชอาณาจักรหรือในประเทศอื่นที่ไม่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย หากได้มีการโฆษณางานดังกล่าวในราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้มีการโฆษณาครั้งแรก หรือผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ใน (1) ในขณะที่มีการโฆษณางานครั้งแรก
ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย ถ้าผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล นิติบุคคลนั้นต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย”
4. พิจารณาจากจุดเกาะเกี่ยว(Connecting Points)
ใน 3 หลักคือ หลักสัญชาติ หลักถิ่นที่อยู่(ในการสร้างสรรค์งาน) และ หลักการโฆษณางานครั้งแรก และ การเป็นสมาชิก Berne Convention & TRIPs
สำหรับคนนอก กรณีโฆษณาในประเทศไทยภายใน 30 วัน และ กรณีโฆษณาในประเทศสมาชิกภายใน 30 วัน
รวมทั้งหมด 8 ช่องทาง ซึ่งต่างประเทศย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไทยอยู่ ตามปกติ 6 ช่องทาง (ตามตารางช่องทางที่ 3-8)
รวมช่องทางที่ 2 กรณีต่างด้าวมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ดังนั้นรวม 7 ช่องทาง ตามตาราง
ช่องทางที่ |
หลักสัญชาติ |
หลักถิ่นที่อยู่ |
หลักการโฆษณางานครั้งแรก |
สัญชาติปท.อื่น |
หมายเหตุ |
1 |
ไทย |
|
ไม่ |
|
|
2 |
|
ไทย |
ไม่ |
|
|
3 |
ปท.ภาคี |
|
ไม่ |
|
|
4 |
|
ปท.ภาคี |
ไม่ |
|
|
5 |
|
|
โฆษณาปท.ไทย |
|
|
6 |
|
|
โฆษณาปท.ภาคี |
|
|
7 |
|
|
โฆษณาปท.อื่น |
โฆษณาปท.ไทย |
ภายใน 30 วัน |
8 |
|
|
โฆษณาปท.อื่น |
โฆษณาปท.ภาคี |
ภายใน 30 วัน |
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Phachern Thammasarangkoon ใน Phachern Law Adiministration
เพื่อเป็นการตอบสนองต่อคำร้องเรียนที่เราได้รับเกี่ยวกับ Digital Millennium Copyright Act ของสหรัฐอเมริกา เราได้ลบผลการค้นหาจำนวน 1 รายการออกไปจากหน้านี้ หากต้องการ คุณสามารถอ่านคำร้องเรียน DMCA ที่เป็นสาเหตุครั้งนี้ได้ที่ChillingEffects.org
=============================================
http://www.google.com/