มาทำให้สมองเราหยุดคิดหยุดกังวล.. สบายและปลอดโปร่ง..ด้วย ....กันเถอะครับ (ต่อภาค2)


การกระทำวิธีคิดของเราทั้งหมดเกิดเพื่อตอบสนองความอยากของเรา ในอดีตนั่นเอง

ต่อจากบทความที่แล้ว http://www.gotoknow.org/blogs/posts/412546 

มาทำให้สมองเราหยุดคิดหยุดกังวล.. สบายและปลอดโปร่ง..ด้วย ....กันเถอะครับ (ต่อภาค2)

3. การอยู่ด้วยกันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะพูดกันดีดี หรือเจรจาชอบ (สัมมาวาจา) (ศิล) ไม่ใช่ชอบเจรจานะครับ   มีภาษาอังกฤษอยู่คำว่า Talkative คือช่างเจรจา แบบนี้ใช้ในทางบวก คือเธอช่างพูดได้น่าฟังจริงๆ ไม่ใช่ ช่างพูด หรือพูดมาก อันนี้คือ More Talk แต่ Talkative แบบแรกนั้นคือการพูดมีน้ำเสียงไพเราะ พูดจามีเหตุผล พูดมีสาระเป็นแก่นสาร มีหลักการ พูดให้กำลังใจ แบบนี้ เจรจาชอบ Talkative ครับ เจรจาชอบหรือ วจีสุจริต 4 ประกอบด้วย   

(1) วจีสุจริต ชื่อก้อแสดง แล้วว่า ว่าไม่ได้โกหก พูดตามความจริง ครับ รวมถึง การนินทาเรื่องที่อาจไม่เป็นเรื่องจริงเพื่อการต่างๆที่มักเจตนาไม่ดี   แต่ถ้าเรามีเจตนาดี อันนี้เป็นคำถามที่คุณพระคุณเจ้าถูกศิษยานุศิษย์ถามอยู่เสมอๆ ว่า โกหกพ่อแม่แต่หวังให้ท่านสบายใจไม่ทุกข์ไม่เครียดอย่างนี้จะบาปไหม?  กรรมนั้นดูที่เจตนา เช่น ญาติผู้ใหญ่ที่เป็นมะเร็งระยะสุดท้าย เราไม่บอกหรือบ่ายเบี่ยงไปเรื่องอื่นไม่ทำให้ท่านต้องมารับรู้เรื่องราวต่างๆ เพื่อไม่ให้ท่านเครียดเพราะท่านเป็นโรคความดันสูงอยู่  ถ้าเจตนาดีแบบนี้ ทางพระเค้าบอกว่าไม่ผิดเป็นกรรมดี ถึงจะบาปเพราะโกหก แต่ก็บาปไม่มาก เพราะมีกรรมคือการกระทำเป็นเจตนาหวังดีนะครับ แต่ถ้าให้ดีกว่านั้นคือต้องหาทางอธิบายท่านถึงสิ่งที่ท่านเป็นจริงๆด้วยวิธีการที่ค่อยเป็นค่อยไปดีกว่า เพราะถ้าโกหกแล้วญาติท่านมาทราบทีหลังจะเสียใจมากที่ทุกคนตกลงกันว่าจะปกปิดความจริงท่านไว้

อย่างที่ (2)  ก็คือ   ไม่พูดส่อเสียด พูดเหน็บแนม สมัยนี้พูดกันเยอะแต่ใช้ในทำนองกระเซ้าเย้าแหย่ ระหว่างเพื่อนฝูง คิดว่าเพื่อนโกรธเดี๋ยวเดียวง้อหน่อยหรือกลับคำพูดว่าล้อเล่น เดี๋ยวก็จะหายโกรธ บางที่คือผู้ถูกกระเซ้าโกรธขึ้นมาจริงๆ แต่ไม่ได้โกรธคำพูดส่อเสียดนั้น แต่เป็นการโกรธที่มาแกล้งให้โกรธ โกรธที่ทำให้ใจเสีย หรือถ้าแรงหน่อยจริงจังหน่อยก็อาจขวัญหนีดีฝ่อ โกรธที่ทำให้จิตตกต่ำน้อยเนื้อต่ำใจตนเอง  เพราะคำพูดที่ล้อนั้น ส่วนใหญ่เป็นคำพูดที่ไม่จริงใจ เพื่อความสะใจ เอาสนุกเข้าว่า เอาความดูถูกชิงชังที่ปรับปรุงน้ำเสียงสูงทำให้เกิดอารมณ์พลุ่งพล่านแล้วทำอะไรโดยไม่ไตร่ตรอง หรืออาจขาดสติตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้โดยหุนหันพลันแล่น อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้แกล้งก็เป็นไปได้ ถ้าจะพูดง่ายๆก็คือ หรือพูดเพื่อสนองความสะใจของตนเองเป็นหลัก แบบนี้พอกลับมาหายโกรธอาจเกิดเป็นความคลางแคลงใจ ระแวงต่อกันแบบไม่เหมือนเดิม แบบนี้ต้องระวังให้ดีครับ

อย่างที่ (3) ของการเจรจาชอบก็คือ  ไม่พูดหยาบ พูดคำหยาบคาย กล่าวว่าคนนั้นคนนี้เป็นสัตว์ชนิดโน้นชนิดนี้  ใครเป็นพ่อใครแม่ใคร ใครใหญ่ ใครแน่ ใครเจ๋ง พูดจาแบบ Macho แบบเอาตนเองเป็นใหญ่ ยกตนข่มท่าน  เป็นใครได้ยินแล้วอารมณ์ก็พลุ่งพล่าน ไม่สบายใจ เป็นการไร้สาระไม่ก่อให้เกิดผลในทางดีใดๆ พูดในใจได้ครับ

อย่างที่  (4) อย่างสุดท้ายคือ ไม่พูดเพ้อเจ้อ พูดไม่มีสาระแก่นสาร พูดจับต้นชนปลายไม่ถูก ไม่มีคำนำ ไม่มีประธานกริยากรรม การพร่ำบ่นตามอารมณ์จะพาไป หรือการพูดเพื่อตีข่าวประโคมข่าวทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ การชักแม่น้ำทั้งห้ามาพูดหรือการพยายามดึงเรื่องอื่นๆที่ไม่ได้เกี่ยวข้องมาสนับสนุนเรื่องบางเรื่องโดยที่จริงๆแล้วไม่ได้เกี่ยวข้องใดใดกันเลย ถ้าเป็นหนักเป็นพวก Hyper หรือ Over Action สติไม่นิ่ง คิดตลอดเวลา เป็นต้น อันนี้ผู้อ่านคงไม่คิดว่าผมเพ้อเจ้อนะเพราะเรื่องที่ดึงมาเล่าขยายความผมว่ามันเกี่ยวกันอย่างมีนัยยะทีเดียวครับนะ

4.กระทำชอบ (สัมมากัมมันตะ) (ศิล) ได้แก่ กายสุจริต 3 ประกอบด้วย 1.ไม่ฆ่าสัตว์ 2.ไม่ลักทรัพย์ 3.ไม่ประพฤติผิดในกาม เรื่องหลังๆนี่ผมว่าเข้าใจได้แจ่มแจ้งตามชื่ออยู่แล้วนะครับ และผมมองเรื่องศีลเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราถือปฏิบัติกันจนเป็นกิจวัตร เรื่องที่ชัดเจนอย่างนี้ผมว่าเพื่อนๆผู้อ่านมีประสบการณ์อยู่กับตัวแล้ว จึงไม่ขอขยายความหรือยกตัวอย่างเพิ่มอีกนะครับ

5.เลี้ยงชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ) (ศิล) ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพอาชีพที่สุจริต ดดยเฉพาะอาชีพที่ส่งผลกระทบหรือไม่เบียดเบียนผู้อื่น ถ้ากระทำก็ต้องกระทำในลักษณะที่มีวิธีปฏิบัติให้กระทบน้อยที่สุด และมีการชดเชยทดแทนคืนธรรมชาติอย่างเป็นวัฏจักร เช่น น้ำเสียต้องบำบัดก่อนทิ้งลำคลองสาธารณะ ปล่องควันไฟที่ปล่อยควันพิษต้องดักจับสารพิษในที่ปล่อยในอากาศ  เสียงที่เกิดรบกวนชาวบ้านมีการวิเคราะห์ผลกระทบและชดเชยผลกระทบโดยการใช้วัสดุอุปกรณ์ป้องกันเสียงอย่างดี ที่เราเห็นได้ชัดคือบริเวณที่สถานีรถไฟฟ้าที่อยู่ใกล้โรงเรียน โรงพยาบาล หรือทางด่วนยกระดับที่ผ่านหรือใกล้กับสถานที่ห้ามใช้เสียงที่กล่าวมา

6.พยายามชอบ (สัมมาวายามะ) (สมาธิ) ได้แก่ สัมมัปปธาน 4 ประกอบด้วย

(1) เพียรระวัง หรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ทางโลกคือให้ระวังการกระทำที่หุนหันพลันแล่น อย่าทำตามความคิดแว้บแรก ให้รวบรวมขวัญมีคิดไตร่ตรองก่อนแล้วค่อยลงมือทำ 

(2) เพียรละ หรือเพียรกำจัด คือเพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว คือเมื่อคิดไม่ดี ให้ใช้คุณธรรมที่มีในใจทำดีดีกว่าทำชั่ว ให้ความคิดอกุศลหายไปเร็วที่สุด 

(3) เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้นคิดดีแล้วรีบทำตามความคิดดีนั้น ไม่รอเวลา ไม่ผลัดวันประกันพรุ่งจนการงานเสียหาย  แก้ความขี้เกียจด้วยกำลังใจที่แน่วแน่ มุ่งมั่นและความกระตือรือล้น โดยมุ่งจิตพิจารณาถึงผลที่เกิดว่าดีอย่างไร  การเริ่มลงมือทำยากกว่าการพยายามทำให้สำเร็จ  เราจะเสียใจที่ยังไม่ได้เริ่มทำมากกว่าเสียใจที่ทำไม่สำเร็จ 

(4) เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ตั้งมั่น และให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์ ทำดีแล้วให้พยายามมานะทำให้ดียิ่งๆขึ้นไป ไม่หยุดการพัฒนาต่อยอดให้เป็นประโยชน์อย่างแวดกว้างต่อเพื่อนมนุษย์

7.ระลึกชอบ (สัมมาสติ) (สมาธิ) ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย (1) การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย  ทำอะไรอยู่ (2) การตั้งสติกำหนดพิจาณาเวทนา  ทำด้วยความเมตตาให้เขาพ้นทุกข์หรือมีสุขอยู่ (3) การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ใจเราคิดให้ดีแล้วทำให้ดีที่สุดที่ คน วัสดุ อุปกรณ์ สิ่งแวดล้อมจะเอื้ออำนวยให้กระทำการ  (4)การตั้งสติ มีสติจดจ่ออยู่กับกาย เวทนา สติ ตลอดจนจบการกระทำหนึ่งๆไม่วอกแวกไปคิดเรื่องที่ไม่มีประโยชน์กับสิ่งที่ทำอยู่  เชื่อบทสรุปทางการแพทย์ที่ว่า คนเรา จะมีความสามารถทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดในช่วงเวลาๆหนึ่ง ได้ดีที่สุดเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น

8.ตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) (สมาธิ) ได้แก่ ฌาน 4 ประกอบด้วย (1) ปฐมฌาณ (2) ทุติยฌาน (3)ตติยฌาน (4)จตุตถฌาณ ขอยกไปเพราะผู้เขียนมิได้มีความรู้แจ้งในเรื่องนี้

ในทางปฏิบัตินั้น คำสอนทั้งหมดของพระพุทธองค์ที่ทรงอุทิศ พระองค์สั่งสอนในช่วงเวลา 45 ปี ๖(ท่านแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ 45 ปีหลังจากนั้นท่านเสด็จปรินิพพาน เริ่มปี พ.ศ.0001 (2555+45=2600 ปี)ฉนั้นปีมงคลปี 2555 นี้เป็นการครบรอบ พุทธชยันตี นั่นคือระยะเวลานานถึง 2600 ปีที่พระพุทธเจ้าได้สั่งสอนธรรม โดยธรรมที่ตรัสรู้นั้น มีส่วนเกี่ยวข้องกับทางสายกลางนี้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง พระองค์ทรงอธิบายทางสายนี้ โดยวิธีการ และใช้คำพูดที่แตกต่างกันไปตามความแตกต่างของบุคคลโดยให้สอดคล้องกับระดับการพัฒนา และศักยภาพในการเข้าใจ และตามได้ทันของบุคคลเหล่านั้น แต่สาระสำคัญของพระสูตรหลายพันสูตรที่กระจายอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ ของพุทธศาสนา ล้วนแต่มีเรื่องเกี่ยวกับมรรคซึ่งประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้ทั้งนั้น เพราะที่บอกว่าสิ่งต่างๆมีเกิดและดับไปตามกาลเวลาของมัน ฉนั้นสิ่งทุกสิ่งย่อมมีเหตุที่เกิด การเกิด ผลที่เกิด วิธีการป้องกัน ต่างๆกันไป

 ท่านคงไม่แปลกใจว่าทำไม ระบบบริหารความปลอดภัย หรือ Safety Management System  ก็มีองค์มรรคอยู่ในนั้นด้วย นั่นคือสิ่งที่พระพุทธเจ้าคิดได้ก่อนที่ระบบ SMS จะเพิ่งมีการนำมาใช้ในไม่นานมานี้  ซึ่ง องค์ หรือส่วนประกอบ 8 ประการของทางสายกลางนี้ จะต้องพัฒนาให้มีขึ้นพร้อมๆกันมากบ้าง น้อยบ้าง ตามแต่ขีดความสามารถของแต่ละบุคคลที่จะให้เป็นไปได้ องค์เหล่านี้ล้วนแต่เกี่ยวโยงกัน และแต่ละองค์ก็ช่วยส่งเสริมองค์อื่นๆไปด้วย

 โสตถิทัศน์  เอี่ยมลำเนา แต่งบทความ เสร็จเมื่อ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๔
มรรคมีองค์ ๘ เนื้อหาบางส่วนคัดมาจาก http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/the_four_jhanas.htm

หมายเลขบันทึก: 466564เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2011 16:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

  • ขอมวลมิตรพ้นภัยทั้งหลายเถิ
  • ขอให้เกิดกำลังใจในทุกที่
  • ผู้ประสบพิษภัยสายนที
  • ขอให้มีความหวังอันยั่งยืน
  • พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท