บุนนาค
ดร. วรนันท์ มุฮัมมัด รอมฎอน บุนนาค

ถึงเวลายกระดับบทบาทสตรีไทยได้หรือยัง


ข้อคิดนี้ไม่ได้หมายความถึงยุคนี้มีนายกคือคุณยิ่งลักษณ์ ซึ่งเป็นสตรี แต่ข้อคิดข้อเขียนนี้ ประสงค์สะท้อนให้เห็นบทบาทที่จริงๆจังของสตรี ที่ดำเนินการมาช้านานแล้วแต่คนไม่รู้ ผู้ชายที่มีบทบาทในบ้านเมืองไม่รู้ ประชาชนไม่รู้ ผู้นิยมชายนำไม่เคยสนใจ ได้ทราบว่า ปัจจุบันในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ มีสตรีเข้ามามีบทบาททั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม การแก้ปัญหาความยากจน การแก้ไขปัญหาสังคม การพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง รวมถึงการเป็นพลังขับเคลื่อนในองค์กรภาคประชาชน ที่มีต่ออำนาจรัฐที่ฉ้อฉล และนักลงทุนนักธุรกิจและผู้ประกอบการเลว ในหลายจังหวัด เป็นบทบาทที่มีความสำคัญยิ่งในด้านการเมือง การปกครอง และผลักดันขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะของประเทศที่สำคัญยิ่ง อาทิ เครือข่ายชาวบ้านต้านเขื่อนปากมูล เครือแข่ยท่อก๊าชไทย มาเลย์ เครือข่ายต้านเหมืองแร่โปแตซ ฯลฯ

บทบาทของผู้หญิงไทยที่น่าสนใจคือบทบาทในด้านการเมืองการปกครอง การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ซึ่งบทบาทดังกล่าวไม่ค่อยถูกกล่าวถึงหรือให้ความสำคัญมากนัก สตรี เป็นนักต่อสู้ที่เห็นกงจักรสำคัญอย่างยิ่งยวดทีเดียวไม่ว่าจะเป็นการขับเคลื่อนของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ล้วนแล้วพลังส่วนใหญ่มาจากสตรีแทบทั้งสิ้น ผู้หญิงไทยจึงนอกจากจะเป็นบทบาทของแม่แล้วยังมีบทบาทในการผลิตและเป็นแรงงานขับเคลื่อนการผลิต บทบาทในการขับเคลื่อนสังคม ชุมชน สตรีไทยมีลักษณะพิเศษที่โดยส่วนใหญ่ เมื่อพบเห็นความไม่ดีงาม ความไม่ถูกต้องเขาจะกล้าลุกขึ้นมาต่อสู้ คัดค้าน ต่อต้าน และไม่น้อยที่หนุนเสริมให้พ่อชาย ลูกชาย ลูกสาวออกมาร่วมเคลื่อนไหวต่อสู้ในทุกภูมิภาค  สตรีไทยควรได้รับการยอมรับ และยกระดับ ยิบยกเรื่องของพวกเธอให้สังคมไทยในวงกว้างได้รับรู้ รับทราบ เปดโอกาสให้เธอได้เข้ามามีบทบาทในการเมือง การปกครองทุกระดับ เป็นที่น่าเสียใจที่องค์กรมุสลิมในประเทศไทย ปฏิเสธบทบาทของสตรีอย่างร้ายแรง กรรมการอิสลามประจำจังหวัด กรรมการอิสลามประจำมัสยิด แม้แต่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ไม่มีสตรีเลยสักคนที่เข้ามานั่งในตำแหน่งต่างๆเหล่านี้ นี่เป็นเรื่องที่น่ารังเกียจอย่างยิ่ง (ผมนำเสนอเรื่องนี้เพื่อต้องการให้พี่น้องไทยพุทธช่วยกันสะท้อน ช่วยกันประนามการปิดกั้นบทบาทสตรี ในองค์กรศาสนาอิสลามเป็นเรื่องร้ายแรงมาก คนพวกนี้ไม่รู้สึกว่ากำลังปิดกั้นสตรีสตรี เสมอภาค สร้างสรรค์ ทั้งๆที่ในสมัยท่านศาสดามูฮัมมัด(ซ๊อล)ท่านไม่เคยปิดกั้นสตรีสตรีแม้แต่น้อย ดังนี้การจะสร้างบทบาทสตรีไทยให้ก้าวเข้าสู้ยุดแห่งการบริหารจัดการ ยุคแห่งการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน จึงควรให้มีการวางแผนและวางนโยบายระดับชาติกำหนดสัดส่วนสตรีในทุกระดับ ทุกองค์กร ไม่เว้นแม้องค์กรอิสลาม  ต้องเร่งสร้างความเสมอภาคและส่งเสริมสถานภาพให้กับสตรีไทย ทั้งนี้เพราะที่ผ่านมาทุกแผนพัฒนาประเทศละเลยการสร้างความเสมอภาคให้กับสตรี  เร่งสร้างนโยบาย และมาตรการส่งเสริมให้สตรีมีอำนาจในการคิด ตัดสินใจ จนสามารถดำเนินกิจกรรมที่พึ่งตนเองได้  ต้องเร่งปฏิรูประบบราชการทำให้ท้องถิ่นได้รับการถ่ายโอนอำนาจ ซึ่งสตรีจะต้องมีบทบาทที่มีส่วนร่วมในภารกิจการเมือง การปกครองท้องถิ่นอย่างจริงจัง เข้มแข็ง รัฐควรจะมีนโยบายส่งเสริม ฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพ ยกระดับ จิตสำนึกสตรีทางการเมืองการปกครองอย่างจริงจัง  ที่สำคัญแก้กฏหมายที่กดขี่ ล่วงละเมิดทางเพศ กฎหมายที่ว่าด้วยการลดความเหลื่อมลำไม่เสมอภาคที่ได้รับจากผู้ชายให้น้อยลงมากที่สุด  ผลักดันให้มีการจัดตั้งองค์กรสตรีด้านการจัดการชุมชนสังคมอย่าง่กว่างขวาง ทุกรูปแบบ  ลอความยากจนในชุมชนสังคมลงและส่งเสริมงานการอาชีพเต็มแผ่นดิน ด้วยธุรกิจขนาดย่อม ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพความสามารถในการประกอบอาชีพอีกทางหนึ่ง   ดังนั้นควรจะถึงเวลาจริงๆที่สังคมไทยต้องลดความรู้สึกชายนำ หญิงตาม และยกระดับสตรีไทยให้มีสิทธิเสมอภาคกับชายในทุกๆเรื่องได้แล้ว

หมายเลขบันทึก: 465600เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2011 09:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท