ทองรูปพรรณต้องมีฉลาก..อย่างไร


ทองรูปพรรณ

ทองรูปพรรณเป็นสินค้าที่ต้องควบคุมฉลาก 

  เพื่อเป็นการป้องกันการหลอกลวงจากการรับซื้อหรือขายทองรูปพรรณและเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรม สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีจึงได้กำหนดให้ทองรูปพรรณเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก โดยฉลากต้องระบุข้อความดังนี้

๑) ชื่อประเภทหรือชนิดของทองรูปพรรณ

๒) ชื่อและสถานที่ประกอบการหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในไทยของผู้ผลิตหรือของผู้นำเข้า หากเป็นทองรูปพรรณที่นำเข้าจะต้องระบุชื่อประเทศผู้ผลิตด้วย

๓) ปริมาณความบริสุทธิ์ของทองรูปพรรณ โดยระบุเป็นกะรัตหรือเปอร์เซ็นต์หรือร้อยละ หรือใช้สัญลักษณ์ K หรือ % แทนก็ได้

๔) น้ำหนัก ระบุหน่วยเป็นกรัม หรือใช้สัญลักษณ์ ก. หรือ g. แทนก็ได้

๕) ราคา ระบุเป็นเงินสกุลไทย และจะระบุเป็นเงินสกุลอื่นหรือใช้สัญลักษณ์ของสกุลเงินแทนก็ได้

๖) ราคารับซื้อทองรูปพรรณขั้นต่ำตามที่สมาคมค้าทองคำประกาศ

ตัวอย่างฉลากทองรูปพรรณ (กรณีน้ำหนักต่ำกว่า ๑๐ กรัม)

สร้อยข้อมือทองคำ

น้ำหนัก ๗.๘๕ กรัม (๒ สลึง)

ผลิตจากทองแท่งบริสุทธิ์ ๙๖.๕%

ความบริสุทธิ์ทองคำหลังหลอมรวมน้ำประสานทองไม่น้อยกว่า ๙๒.๕%

ค่าแรง ๓๐๐-๕๐๐ บาท

 

การติดฉลากสามารถติดไว้ที่จุดขายหรือที่ตัวสินค้าก็ได้ ส่วนสัญลักษณ์ตอกที่ตัวทอง ทั้งน้ำหนักต่ำกว่า ๑๐ กรัม และน้ำหนักตั้งแต่ ๑๐ กรัมขึ้นไป ให้ใช้เหมือนกันคือ ๙๖.๕

หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามได้ที่ฝ่ายควบคุมกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก โทรศัพท์ ๐-๒๑๔๓-๐๓๘๗ ถึง ๘๙

แหล่งข้อมูล: สคบ.สาร ปีที่ ๑๒ ฉบับที่ ๒๙๑ สิงหาคม-กันยายน ๒๕๕๕ หน้า ๑๒

หมายเลขบันทึก: 465502เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2011 08:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท