รับมือ : หน้าน้ำนอง น้ำท่วมอย่างมืออาชีพแบบชาวบ้าน


เรื่องการตระเตรียม เตรียมการ เตรียมตัวเตรียมพร้อมในเรื่องการรับมือกับฤดูกาลต่างๆในแต่ละปีของชาวบ้าน เป็นเรื่องราวอันปรกติธรรมดา ซึ่งอยู่ในวิถีปฏิบัติของเขาอยู่แล้ว จะพูดว่านั่นคืองานประจำของชาวบ้านนั่นเอง

งานประจำที่ว่านี้ก็คืองานนา งานไร่ งานสวน งานเหล่านี้ล้วนอาศัยธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม น้ำคือปัจจัยหลักที่ขาดไม่ได้เลยในงานทั้งหลายที่กล่าวมา

น้ำเป็นทุกสิ่งทุกอย่างในกระบวนการผลิตเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับอาชีพตลอดถึงความเป็นอยู่ น้ำให้ชีวิตและสามารถชี้ชะตาให้เป็นเป็นในแต่ละปีได้เลย เรียกว่าความอยู่รอดความมั่นคงของชีวิต้องมีน้ำนี่แหละเป็นปัจจัยหลัก

เมื่อน้ำมีความสำคัญดังกล่าว ชาวบ้านจึงมีความผูกพันกับฤดูกาลอย่างมาก น้ำมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตต่อการดำรงอยู่ของผู้คน คนจึงให้ความเคารพ ยำเกรง นับถือคุณค่าของน้ำดุจดังเทพ

ด้วยน้ำมีสำคัญอย่างมากดังกล่าว สังมคมชุมชนจึงให้ความสำคัญกับน้ำเป็นผู้มีพระคุณอย่างอนันต์

หลายสิบปีมานี้ จะเห็นได้ทั่วไปว่าชุมชนละเลยที่จะดูแลเรื่องน้ำ ลำคลอง บึง หนอง ฯลฯ ปล่อยให้เน่าเสีย ไม่ใช่เน่าเสียเองตามธรรมชาติด้วย คนในชุมชนนั่นแหละทำให้น้ำเสีย ด้วยการทิ้งสิ่งปฏิกูลสู่ลำน้ำต่างๆ จนน้ำในแหล่งต่างๆที่กล่าวมาใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้เลย

จนเป็นสิ่งปรกติที่จะได้ยินว่าที่นั่น ที่โน่นเกิดน้ำเน่าเหม็น สะสมเชื้อโรค เป็นอันตรายต่อชุมชนผู้คนเต็มไปหมดทุกแห่ง

นี่เรียกว่าไม่ใช่ลืมบุญคุณอย่างเดียว แต่มีการทำลายอย่างชนิดถึงขั้นอกัญญูกันเลยทีเดียวเชียว

สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาตั้งนาน จะรู้ตัวแล้วสำนึกก็ไม่มี มีแต่ปล่อยให้เป็นไปหนักขึ้นๆ

อย่างนี้ถ้าไม่เรียกว่าทุกคนช่วยกันทำให้เกิดขึ้น แล้วก็เร่งรีบให้รับวิบากกันเร็วๆก็ไม่รู้จะเรียกว่าอะไรเหมือนกัน(ถึงแม้จะไม่เต็มใจรับก็ต้องรับ รับกันเป็นหมู่)เป็นวิบากใหญ่ รวมพวก รวมหมู่

กล่าวถึงการเตรียมตัวรับมือหน้าน้ำนอง น้ำท่วมของชาวบ้านในยุคก่อน ลองดูว่ามีอะไรบ้าง (๑)เตรียมฟืน(๒)เตรียมฟาง(๓)เตรียมห้าง(๔)โอ่งอ่าง ฉางยุ้ง เตรียมตอก เกวียน เรือ

เตรียมฟืน-ไฟ(ถ่าน) หน้าแล้งต้องเตรียมฟืนคือถ่านเชื้อเพลิงหุงต้มให้พร้อม เพราะหน้าน้ำจะไปหาที่ไหนได้ ถ้าไม่เตรียมหาไว้ จะเป็นความลำบากและหาได้ยากด้วย

เตรียมฟาง
หน้าน้ำไม่มีแหล่งอาหารหรือพื้นที่เลี้ยงสัตว์งัวควาย จำเป็นต้องเก็บฟางไว้เมื่อเกี่ยวข้าวแล้ว เพื่อให้งัวควายได้ใช้เป็นอาหารในฤดูฝน

                
   ที่มาฟางhttp://www.oknation.net/blog/wunwarinya07/2009/05/18/entry-2

เตรียมห้าง
เมื่อลงทำนา ก็ต้องทำห้างนา เตรียมห้างให้พร้อมเพื่อไว้พักอาศัยร่มอาศัยนอนตอนทำนาหน้าฝน
                       Large_page3659
                      ที่มาhttp://www.gotoknow.org/media/files/755118
เตรียมโอ่ง อ่าง
พอเข้าฤดูฝน ก็เตรียมล้างโอ่ง อ่าง ภาชนะสำหรับเก็บน้ำไว้กินในฤดูแล้ง
                 
                  ที่มา http://www.gotoknow.org/blogs/posts/290168
เตรียมฉาง ยุ้ง เกี่ยวข้าวเสร็จชาวบ้านจะเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้ง ฉาง เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวใหม่ ต้องแน่ใจว่าข้าวใหม่ในนารอดตาย จากน้ำท่วมบ้าง จากภาวะภัยแล้งบ้าง ถูกศัตรูพืชทำลายบ้าง จึงจะขายข้าวในยุ้ง อย่างนี้ถือว่าปลอดภัย ถ้าข้าวในนาเสียหายหมด ก็นำข้าวเก่าในยุ้งไปสี(ปัจจุบันเกี่ยววันเดียว แล้วขายหมดเลย)
            Large_dsc00084
                 ที่มา http://www.gotoknow.org/media/files/742963
เตรียมตอก
ตอกมัดข้าว ต้องเตรียมไว้แต่ตอนหน้าฝนนี้เลย เพราะไม้ไผ่หน้านี้หาง่าย เจริญงอกงามดีตามป่าเขา
                               
                  ที่มา(จากบางทราย)http://lanpanya.com/bangsai/archives/57
เตรียมเกวียน เรือ
พาหนะเหล่านี้ ถือว่ามีความสำคัญต่อการดำรงชีพอย่างมากโดยเฉพาะเกวียนใช้ทั้งฤดูน้ำฤดูแล้ง ส่วนเรือนก็ใช้หน้าน้ำ
     
               
                
                ที่มา http://www.gotoknow.org/blogs/posts/433625
ทั้งหมดนี้ คือความเตรียมพร้อมของชาวบ้านในด้านข้าวของเครื่องใช้ในฤดูหน้าน้ำท่วมที่จะมาถึงในแต่ละปี เมื่อถึงหน้าน้ำท่วมจริงๆ ก็สามารถดำเนินชีวิตได้ต่อไปอย่างไม่ลำบากอะไรมากนัก

นอกจากจะเตรียมข้าวของเครื่องใช้จำเป็นดังกล่าวแล้ว ก็ยังจะมีการเตรียมอาหารเป็นพืชอายุสั้นที่ปลูกตามท้องนาตามหัวปลวกอีกหลายอย่างเลย อาทิ พริก มะเขือ ฟักทอง
ข้าวโพด บวบ ถั่ว มันแกว ผักเหล่านี้ จะมีผลผลิตในหน้าน้ำตลอดไปถึงหน้าเก็บเกี่ยวพอดี

ในหน้าน้ำนองนี้ ก็มีกุ้ง หอย ปู ปลา ชุกชุมมากมาย ชาวบ้านก็หาปลานำมาเป็นอาหารและสามารถทำเป็นผลิตภัณฑ์จากปลาได้หลายอย่างด้วย ปลาร้า ปลาจ่อม ปลาย่าง การถอมอาหารจากปลานี้ ก็สามารถเก็บเอาไว้บริโภคได้ตลอดฤดูแล้งได้อย่างสบายโดยไม่ต้องซื้อหา

ถ้าได้เตรียมตัวไว้ในลักษณะนี้ การพึ่งคนอื่นก็ไม่จำเป็น
แต่ถ้าเตรียมตัวแบบคนยุคใหม่ ก็คือเตรียมการไว้เหมือนกัน
โดยการเตรียมเงินไว้ที่ธนาคารอย่างเดียว ที่บ้านไม่มีอะไรเลย
เตรียมตัวอย่างนี้ พอน้ำมามากๆ ก็พึ่งตนเองไม่ได้เลย
ต้องพึ่งคนอื่นอย่างเดียวเท่านั้น

หมายเลขบันทึก: 465364เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2011 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)
  • นมัสการท่านมหาแล
  • ปัจจุบันไม่ต้องเตรียมรถหรือเกวียนแล้วนะครับ
  • เตรียมเรืออย่างเดียว
  • ที่วัดน้ำท่วมไหมครับ

เจริญพรอาจารย์ขจิต

ที่วัดน้ำไม่ท่วม
ถ้าที่วัดท่วม
แล้วใช้เรือตัวเองก็พายไม่เป็นอีก
ลำบากแน่เลยงานนี้

ขอบคุณสำหรับกำลังใจจากช้างน้อยมอมแมมIco24 ช้างน้อยมอมแมม

ไม่ได้ติดตามข่าวน้ำท่วมเลย(ทีวีเสียตั้งแต่ก่อนเข้าพรรษา)
เลยไม่ทราบว่านครปฐมน้ำท่วมไหมหนอ

เรื่องการตระเตรียม เตรียมการ เตรียมตัวเตรียมพร้อมในเรื่องการรับมือกับฤดูกาลต่างๆในแต่ละปีของชาวบ้าน เป็นเรื่องราวอันปรกติธรรมดา ซึ่งอยู่ในวิถีปฏิบัติของเขาอยู่แล้ว จะพูดว่านั่นคืองานประจำของชาวบ้านนั่นเอง...

กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ

แท้จริงมนุษย์ต้อง "กลมกลืน" กับน้ำ เป็นวิถีธรรมชาติครับ มิใช่ต่อกร หรือ "ขัดขืน" ธรรมชาติ

  • นมัสการท่าน
  • มาแจ้งว่าน้ำท่วมนครปฐมครับ
  • แงๆๆ

มากราบนมัสการหลวงพ่อครับ หลวงพ่อพระมหาสบายดีนะครับ กระผมไม่ค่อยมีโอกาสได้แวะมา ขอบคุณหลวงพ่อที่ไปเยี่ยมกระผมอยู่บ่อยๆ

  • นมัสการท่านมหาแล
  • การใส่รูป
  • ใช้การเปิดสองหน้า
  • copy รูปมาจากไฟล์อัลบั้มแล้วเอามาวางครับ

นมัสการพระคุณเจ้า

ได้ข้อคิดเรื่องการเตรียมการรับสิ่งต่าง ๆ ที่จะเกิดเหตุการณ์ผันแปรในอนาคต

ให้พอเหมาะแก่ตนเอง ด้วยหลักพึ่งตนเองให้มากที่สุด

ประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัย

อย่างน้อยก็เก็บข้าวไว้ในเล้าก่อน ทั้งสำรองกินและเป็น "ข้าวปลูก" ในฤดูหน้า

เจริญพรคุณช้างน้อยมอมแมม

เมื่อวานไปฉันเพลในงานทำบุญที่บ้านโยม ทายกถามอาตมาว่าทำไมกรุงเทพฯน้ำจึงท่วมไม่หยุดเลย
พระเลยตอบเปรียบเทียบไปว่ากรุงเทพฯ มีตรอกซอกซอยเยอะแยะมากมาย ซอยเหล่าต่างๆเหล่านั้นเหมือนบิ้งนา(อันนา) แต่ละบิ้งนา(แต่ละบ้าน)ก็ปิดกั้นน้ำไว้ เหมือนชาวนาปิดหัวคันนาไม่ให้น้ำไปไหน

โยมทายากท่านมีอาชีพทำนา เลยร้องอ๋อ เข้าใจแล้วครับ

เจริญพรอาจารย์ขจิต

ได้ตามไปดูอาจารย์ขจิตเอาของไปช่วยชาวบ้านแล้ว น่าเห็นใจชาวบ้าน
น้ำท่วมนครปฐมเยอะจริงๆ

ขอบคุณอาจารย์ขจิตที่แนะนำการใส่รูป ต้องเปิดสองหน้านี่เอง
เลยดูเหมือนไม่คล่อง เท่ากับการแทรกรูปภาพหน้าก่อนเมื่อนี้หรือเปล่า

สวัสดีท่านมหาวินัยครับ

ผมสบายดีครับ
ผมเห็นท่านมหาเขียนกลอนได้ดีมากๆ
พัฒนาฝีมือได้อย่างยอดเยี่ยมเลยครับ

เจริญพรคุณหมอธิรัมภา

คิดแบบชาวบ้านๆ ก็คือยุคนี้ข้าวของเครื่องใช้ อาหารสำเร็จรูปที่เก็บไว้บริโภคได้นานๆ เป็นเดือนเป็นปีสะดวกสบาย ยิ่งกว่าเมื่อก่อนมากนัก แต่น่าเห็นใจมากๆที่หลายท่านไม่ได้ตระเตรียมอะไรเลย ดูจากข่าวแล้ว แม้แต่ข้าวของยังเก็บไม่ทันเลย

จุดใหญ่น่าจะอยู่ที่ไม่คาดคิดมาก่อน แม้แต่บ้านตัวเองอยู่ในที่ลุ่ม ในที่ที่เคยเป็นทุ่งนามาก่อน ก็ไม่ได้เฉลียวใจว่า ก่อนนั้นในพื้นที่บ้านของตัวมีน้ำท่วมมาก่อน

เรียนท่านพระอาจารย์มหาแล

ท่านอาจารย์ครับบันทึกนี้ อ่านแล้วอยากนำเอาไปถ่ายทอดบวกกับการเรียนการสอนน่าจะเป็นประโยชน์มากเลยนะครับ

นมัสการขอบคุณท่านที่ไปให้ความรู้เรื่องการใช้ชีวิตในยามน้ำท่วมที่บันทึกของโยมด้วย อ่านบันทึกนี้แล้วนึกถึงคำ "กรรมสาธารณะ" ที่สามีของโยมมักใช้เสมอเมื่อกล่าวถึงสิ่งที่เกิดกับคนสมัยนี้ เป็นทั้งการที่สร้างเหตุเองเช่นทิ้งขยะหมักหมม การปลูกสร้างในพื้นที่รับน้ำ และการที่แม้ไม่ได้ทำแต่ก็ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น ไม่ใส่ใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่พยายามช่วยกันแก้ไข ก็เลยต้องรับกรรมไปด้วยกัน

ชีวิตคนกรุงจะปรับตัวยากเพราะไม่มี ทุนธรรมชาติ ให้เรียนรู้ ให้เก็บเกี่ยวมาใช้กับชีวิต ชีวิตชินแต่พึ่งร้านสะดวกซื้อ ห้าง และการใช้เงินซื้อทุกอย่าง คิดว่าระบบรัฐจะต้องอำนวยให้ชีวิตเดินไปได้ พอเกิดความผิดพลาดจึงมักโทษแต่คนอื่น ไม่ค่อยมองตัวเองว่าประมาทในชีวิตเหลือเกินนะคะท่าน

 

ท่านอธิการโชคชัยครับ

ประสบการณ์ของชาวอำเภอหนองบัวปีที่แล้ว(๒๕๕๓) ทำให้ได้บทเรียนของชุมชนอย่างหนึ่งว่า
หนองบัวเป็นบ้านดอน ไม่เคยมีน้ำท่วมมาก่อน แต่ชาวบ้านสมัยก่อนก็มักจะปลูกบ้านใต้ถุนสูงครับ

ระยะหลังๆมานี้ คนรุ่นใหม่นิยมปลูกบ้านชั้นเดียวติดพื้นดิน แถมราคาแพงอีกด้วย เมื่อเจอน้ำท่วมปีที่แล้ว บ้านใต้ถุนสูงรอดปลอดภัย ส่วนบ้านชั้นเดียวเจอไปเต็มๆเสียหายเยอะแยะเลย

เจริญพรคุณโยมยุวนุช

บทเรียนครั้งนี้ สังคมไทยต้องแลกมาด้วยบทเรียนราคาที่แสนแพงและเจ็บปวดไม่น้อยเลย
แต่ถ้าคิดได้แล้วนำบทเรียนไปทบทวนเรียนรู้อย่างรอบด้าน ก็น่าจะคุ้มค่ากับบทเรียนอันยิ่งใหญ่นี้เช่นกัน

ถ้าเป็นเรื่องทางด้านพระศาสนา ก็คือมีเเหตุการณ์เรื่องราวที่ส่งผลกระทบแล้วทำให้คนเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อหลักคำสอน อย่างนี้ต้องรีบสังคายนา

บทเรียนอุกทภัยใหญ่ครั้งนี้ อาจจะถึงคราวสังคายนาสังคมไทยกันสักครั้งก็เป็นได้

ฟืนครับ ท่านอาจารย์ ฟืน เป็นสิ่งที่ต้องเตรียมก่อนน้ำสองเดือน เราจะเตรียมฟืนไว้เต็มใต้ถุนบ้าน บ้านใหนไม่เตรียมฟืน ไม้เรียบนอกชาน ไม้ฝาบ้านต้องเอามาทำฟืน เป็นที่ติฉินนินทา ว่า "ไม่รู้จักหวัน" ไม่เตรียมการ บ้านนี้ถ้ามีลูกชายไปขอลูกสาวเขาตั้งข้อรังเกียจอย่างแรง

เจริญพรท่านวอญ่า

  • เข้ามาตั้งสองเดือนได้แล้วนะเนี่ย ขออภัยที่เล็ดลอดสายตาไป
  • การเตรียมไม้ฟืนนี้ คือการเตรียมเชื้อเพลิงไหม(เตรียมถ่านหุงข้าว หุงต้ม)อันนี้(ถ่าน)เตรียมตั้งแต่หลังการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จใหม่ๆ หรือช้าหน่อยก็ประมาณก่อนลงนา(เดือนห้าเดือนหก ประมาณหลังสงกรานต์)
  • ถ้าพอจำได้นะ แถวบ้านอาตมานั้นบ้านไหนเลี้ยงหมูแล้วละก็ บ้านนั้นจะต้องเตรียมฟืนไว้ให้พร้อมตั้งแต่ก่อนหน้าน้ำเหมือนกัน
  • ได้ความรู้ใหม่ว่า ถ้าหนุ่มคนใดขาดการวางแผนที่ดี จะถูกครหาินินทา"ไม่รู้จักหวัน"
  • ไม่รู้จักหวันนี่ หมายความว่าไม่รู้จักทำมาหากินพอจะได้ไหม หรือหมายความว่าชาดไม่เข้าไหนพรึ๊ด เป็นคนไม่เอาถ่านประมาณนี้ไหม

ตอนเด็กจำได้ว่าไปบ้านแม่เฒ่า บ้านย่า จะมีไม้ฟืนเต็มใต้ถุนครัว ยุ้งจะมีข้าวเปลือก ข้าวสาร

นมัสการขอบพระคุณเจ้าค่ะ

เจริญพรคุณPoo

ขอบคุณคุณPooอย่างมากเลย ที่ำมาให้ข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้นึกได้ว่าในชุมชนรอบนอกอำิเภอหนองบัวนั้น ชาวบ้านจะเตรียมหาฟืนมาไว้แต่ก่อนหน้าน้ำ จะทำกระต๊อบหลังเล็กๆไว้เก็บฟืนโดยเฉพาะเลย อยู่ในบริเวณใกล้ๆบ้าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท