เรื่องดีที่ มวล. : ค้นหา Core Competency (๓)


นักบริหารคือผู้นำ ผู้สร้างแรงบันดาลใจ การบริหารจึงไม่มีอะไรมากไปกว่าการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คน

ตอนที่

ก่อนจะพักรับประทานอาหารกลางวัน ดร.เติมศักดิ์ สุวรรณศักดิ์ อดีตผู้บริหารด้าน HR ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และปัจจุบันเป็นกรรมการบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้บรรยายเรื่อง Organization Change Case: PTT Group เล่าว่า core competency สำคัญ เพราะ “คอขาด” = ตาย จากประสบการณ์ในเรื่องนี้ ต้องมีคณะทำงานภายในที่มีความพร้อม ปตท. ก็ได้เรียนรู้จากปูนซีเมนต์ไทย

ดร.เติมศักดิ์เล่าเรื่องการพัฒนาองค์กรของ ปตท. แสดงให้เห็นว่าความต่อเนื่องและการคุยกันรู้เรื่องของผู้บริหารแต่ละสมัย มีผลดีต่อองค์กรอย่างไร ผลการดำเนินงานของ ปตท.มีความก้าวหน้า เป็นที่ยอมรับจากสถาบันต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โครงสร้างการบริหาร ทิศทางและกลยุทธ์ขององค์กร การมุ่งสู่ High Performance Organization การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ....

เครื่องมือการบริหารสมัยใหม่มีหลายอย่าง ได้แก่ การจัดการเชิงกลยุทธ์ การจัดการโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ การจัดการต้นทุนฐานกิจกรรม การรื้อปรับระบบงาน การบริหารวงรอบเวลา การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (คุณภาพเป็นเรื่องสำคัญ และจะสำเร็จได้ต้องผู้นำเท่านั้น) การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารทรัพยากรบุคคล

การบริหารทรัพยากรบุคคลในหลักการของ Performance based Management หัวหน้างานต้องแบ่งให้ได้ว่าใครเป็นนิ้วอะไร ไม่ใช่นิ้วเท่ากันหมด...การประเมินผล ต้องมีวินัยในการประเมิน องค์กรที่มีวินัย ต้องไม่ให้พนักงานฟ้องได้...

Competency concept ส่วนยอดภูเขาน้ำแข็งคือความรู้ที่ต้องการให้พนักงานรู้ ทักษะความสามารถที่ต้องการให้พนักงานทำได้ ส่วนที่อยู่ใต้น้ำเป็นคุณลักษณะบุคคล ทัศนคติ แรงจูงใจ คือลักษณะที่องค์กรต้องการให้พนักงานเป็น (สำคัญที่สุด)

Human resource management มีอะไรบ้าง... ผู้บังคับบัญชาต้องเก่งงาน รู้เรื่องคน สอนงานเป็น รู้ระบบบริหารบุคคล... ต้องแยกคนได้ (ถ้าทำไม่ได้ ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้ ไม่ต้องใช้คน)... นักบริหารคือผู้นำ ผู้สร้างแรงบันดาลใจ การบริหารจึงไม่มีอะไรมากไปกว่าการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คน

ช่วงบ่ายเป็น workshop ค้นหา core competency ที่รับผิดชอบโดยคุณสุทัศน์ นำพลสุขสันต์ แบ่งผู้เข้าประชุมเป็นกลุ่มย่อย ช่วยกัน list และจัดลำดับว่าอะไรที่น่าจะเป็น core competency ของพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไปชาว มวล.

เมื่อเสร็จคุณสุทัศน์นำลำดับ Top 3 ของแต่ละกลุ่มย่อยมาขึ้นจอ ดูว่าอะไรที่ซ้ำกัน อะไรที่รวมกันได้ อะไรที่เป็นเรื่องที่ซ้ำกับ core value อะไรที่ใช้คำกว้างไป....ช่วยกันปรับแต่งถ้อยคำให้ชัดเจน แล้วจึงพิจารณาสมรรถนะลำดับต่อๆ ไปของแต่ละกลุ่ม ได้ core competency ๘ ตัว ได้แก่


๑. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement oriented)
๒. การทำงานเป็นทีม (Team spirit)
๓. มอบใจให้องค์กร (Loyalty)
๔. ใฝ่รู้ (Personal mastery) และสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ (Expertise)
๕. การสื่อสารที่ดี (Communication skills)
๖. จิตสาธารณะ (Public mind)
๗. สื่อสารรอบด้านเชี่ยวชาญไอที (IT and language literacy)
๘. นวัตกรรม (Innovation)

เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๔ เราได้รับทราบความก้าวหน้าต่อจากนั้นว่า คณะทำงานฯ ของมหาวิทยาลัยได้นำผลการระดมความคิดจาก workshop ข้างต้นมาพิจารณาคัดเลือกรายการสมรรถนะ โดยเลือกสมรรถนะหลักที่ตอบสนองและเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ หลักการบริหารงาน แผนยุทธศาสตร์ และวัฒนธรรมองค์กร ของมหาวิทยาลัย คงเหลือจำนวนสมรรถนะหลัก ๕ ตัวคือ
๑. การมุ่งผลสัมฤทธิ์
๒. การสร้างสรรค์สิ่งใหม่
๓. การบริการที่ดี
๔. การสื่อสารที่ดี
๕. การทำงานเป็นทีม

คณะทำงานฯ มีแผนการดำเนินงานในระยะต่อไปคือ การกำหนดคำนิยาม คำจำกัดความ และระดับของสมรรถนะหลักข้างต้น

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 464636เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2011 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท