คนเราอารมณ์ดีตอนไหนกัน


สำนักข่าว nytimes ตีพิมพ์เรื่อง 'Twitter study tracks when we are :)' = "(การศึกษาโดยติดตามทวิตเตอร์พบเวลาที่คนเราอารมณ์ดี (:) = smiley = เครื่องหมายยิ้ม อารมณ์ดี", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
การศึกษาโครงสร้างข้อความที่คนทั่วโลกอัพโลด (นำขึ้น) ทวิตเตอร์พบว่า ช่วงเวลาอารมณ์ดีคล้ายกันทั่วโลก คือ ตอนตื่นนอน-อาหารเช้า
.
หลังจากนั้นอารมณ์จะค่อยๆ ดีน้อยลงไปจนถึงช่วงบ่ายแก่ๆ และกลับไปดีขึ้นอีกครั้งตอนก่อนนอน
.
ทีมวิจัยจากมาหวิทยาลัยคอร์เนลล์ (ตีพิมพ์ใน Science) ทำโดยการวิเคราะห์ข้อความ (text analysis) ที่โพสต์ (post) ขึ้นทวิตเตอร์ จากกลุ่มตัวอย่าง 2.4 ล้านคน ใน 84 ประเทศ พบว่า คนเรามีช่วงเวลาอารมณ์ดีคล้ายกัน
.
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตื่นนอน-เข้านอนคล้ายคนทั่วไป โดยมีกลุ่ม "นกฮูก (night owls)" ที่นอนดึก-ตื่นสาย ส่งข้อความหลังเที่ยงคืน 7%, และกลุ่ม "นกตื่นเช้า (early birds)" ที่นอนเร็ว-ตื่นเช้า ส่งข้อความตั้งแต่เช้ามืด 16%
.
ช่วงเวลาอารมณ์ดีของคนทั่วโลกได้แก่ 6.00-9.00 น. หลังจากนั้นจะค่อยๆ หงอยลงไปทีละน้อยจนแย่มากหน่อยตอน 15.00-16.00 น. อารมณ์จะดีขึ้นเร็วหลังอาหารเย็นไปจนถึงก่อนนอน
.
ภาพรวม คือ คนส่วนใหญ่มีช่วงเวลาอารมณ์ดีตอนเช้า กับตอนกลางคืน-หลังอาหารเย็น
.
ทีนี้ถ้ามองเป็นรอบสัปดาห์พบว่า คนส่วนใหญ่มีอารมณ์ดีที่สุดช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ และแย่ที่สุดตอนเริ่มวันทำงาน (จันทร์)
.
ประเทศที่ไม่ได้หยุดงานวันเสาร์-อาทิตย์พบว่า คนส่วนใหญ่มีช่วงอารมณ์ดีกว่าวันอื่นๆ ตอนวันหยุดเช่นกัน
.
ช่วงอารมณ์ดีวันหยุดมักจะเลื่อนไป 2 ชั่วโมง คือ ดีที่สุดตอนใกล้ 9.00 น. และตอนกลางคืนหลัง 21.00 น.
.
กลไกที่เป็นไปได้ คือ คนส่วนใหญ่มักจะนอนนานขึ้น ตื่นสายขึ้นในวันหยุด ทำให้ช่วงเวลาอารมณ์ดีช้าลงตามไปด้วย
.
เหตุที่วันหยุดมีโอกาสอารมณ์ดีมากกว่าวันทำงาน-ไปเรียน อาจเป็นเพราะได้พักผ่อนนอนหลับมากกว่า
.
ทีมวิจัยวิเคราะห์ว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนเรามีความสุขในช่วงเช้า-ค่ำ คือ นาฬิกาเวลาตามธรรมชาติ (biological / circadian factors)
.
ชาวตะวันตก (ฝรั่ง) จำนวนมากจะมีอารมณ์ไปทาง "เศร้า-เหงา-เซง" ตอนหน้าหนาว (winter blues)
.
ลักษณะเช่นนี้ไม่พบในโลกออนไลน์ (จากการวิเคราะห์ทวิตเตอร์) ทว่า... พบข้อความที่แสดงออกในแง่ดี (สะท้อนถึงการมองโลกในแง่ดี) มากขึ้นก่อนช่วงที่กลางวันยาว (ฤดูใบไม้ผลิ-ก่อนฤดูร้อน), และน้อยลงก่อนช่วงที่กลางวันสั้นลง (ฤดูใบไม้ร่วง-ก่อนฤดูหนาว)
.
นักสื่อสารมวลชนหลายท่านมีธรรมเนียมที่จะไม่นำเสนอเรื่องร้ายๆ ตอนเช้า เนื่องจากเชื่อว่า ตื่นเช้าขึ้นมา... ถ้าเริ่มต้นดีมักจะช่วยให้ผู้ชมผู้ฟังอารมณ์ดีไปทั้งวัน ถ้าเริ่มต้นร้ายอาจจะทำให้ผู้ชมผู้ฟังอารมณ์เสียไปทั้งวัน
.
เพียงแสดงความชื่นชมการทำดีของคนอื่น โดยเฉพาะคนที่อยู่ใกล้เรา เช่น คนหุงข้าว คนซักผ้า คนทำความสะอาดบ้าน ฯลฯ เช้าสักครั้ง-เย็นสักครั้ง จะทำให้คลื่นความสุขแผ่ไปได้อย่างน่าชื่นใจทีเดียว
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 1 ตุลาคม 2554. ยินดีให้ท่านนำบทความทั้งหมดไปใช้ได้ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 463812เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2011 13:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท