วิกฤติหนี้ยุโรป เจ็บนี้อีกนานไหม


นักข่าว Business Insider & The Street Light ตีพิมพ์เรื่อง 'Everyone realizing that Europe has a bigger problem than debt' = "ทุกคนรู้ว่า ยุโรปมีปัญหามากกว่าหนี้", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

.
.
ภาพจาก 'The Street Light': คอลัมน์ซ้าย - แสดงดุลงบประมาณ; คอลัมน์ขวา - แสดงดุลชำระเงิน (ยอดเงินตราต่างประเทศ); แต้มสีแดงกลุ่มประเทศพีคส์ที่มีวิกฤติหนี้-ขาดเงินตราต่างประเทศสำรองรุนแรง [Kash Mansouri (via Krugman)]
.
ฉากหน้าของวิกฤติหนี้ยุโรปอยู่แถบซ้าย คือ ประเทศที่มีหนี้ภาครัฐมากถูกบีบให้ลดหนี้ ผ่านการลดค่าใช้ภาครัฐ และต้องปรับไปใช้งบประมาณขาดดุล (เก็บภาษีมากกว่าใช้จ่าย+ใช้หนี้+ดอกเบี้ย)
.
เบื้องหลังของวิกฤติหนี้ยุโรปอยู่แถบขวา คือ ประเทศกลุ่ม PIIGS ทุกประเทศขาดดุลชำระเงิน หรือซื้อสินค้า-บริการมากกว่าขายสินค้า-บริการ
.
วิกฤติยุโรปใต้-ชายขอบ (ประเทศด้านนอก) โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ "พีคส์ (PIIGS / Portugal, Italy, Ireland, Greece, Spain - โปรตุเกส อิตาลี ไอร์แลนด์ กรีซ สเปน)" ไม่ได้เป็นเพียงวิกฤติหนี้ (debt crisis), ทว่า... โครงสร้างพื้นฐานมาจากการค้าที่ไม่สมดุล (trade imbalances)
.
อ.ไซมอน จอฮ์นซัน อธิบายเรื่องนี้ไว้ในบล็อก NYT Economix ว่า ตอนที่เม็กซิโกขาดดุลชำระเงิน (ขาดเงินตราต่างประเทศ) อย่างหนัก (mid-90s) และได้รับการช่วยเหลือจาก IMF นั้น
.
เม็กซิโกทำการลดค่าเงินเปโซ (peso devaluation) ทำให้สินค้าส่งออกราคาถูกลง ส่งออกได้มากขึ้น, สินค้านำเข้าแพงขึ้น นำเข้าน้อยลง, ผลคือ ได้เปรียบดุลการค้าภายในไม่กี่ปี
.
การรวมกลุ่มยูโรโซน (ใช้เงินสกุลยูโรร่วมกัน) ทำให้ประเทศยุโรปเหนือ-กลาง ซึ่งพัฒนาไปไกลกว่า มีทุนทรัพย์-ทรัพย์สินปัญญา-แรงงานฝีมือ-บุคลากรวิชาชีพมากกว่าได้เปรียบ
.
กลไกคล้ายกับเป็นการลดค่าเงินของประเทศที่รวยกว่า-ก้าวหน้ากว่า, เพิ่มค่าเงินของประเทศที่จนกว่า-ล้าหลังกว่า ทำให้กลุ่มประเทศยุโรปเหนือ-กลาง โดยเฉพาะเยอรมนี ฝรั่งเศส ฯลฯ ส่งสินค้าออกไปยังยุโรปใต้-ประเทศชายขอบยุโรป (ไอร์แลนด์) ได้มากขึ้น, ดูดเงินออกจากยุโรปใต้-ไอร์แลนด์มากขึ้นเรื่อยๆ
.
การรวมกลุ่มยูโรโซนทำให้ประเทศกลุ่ม PIIGS ลดค่าเงินไม่ได้, แถมค่าแรง-ค่าครองชีพแพงกว่ายุโรปตะวันออก ทำให้โอกาสค้าแข่งกับยุโรปเหนือ-กลางยากมาก  
.
รัฐบาลโปรตุเกสประกาศทำการลดค่าการคลัง (fiscal devaluation) โดยการลดภาษีเงินได้ เพื่อให้แรงงานมีเงินเหลือใช้มากขึ้น และเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แทน 
.
แนวคิดนี้มีส่วนดี ทว่า... ไม่น่าจะแก้ไขปัญหาเรื่องการค้าไม่สมดุลได้
.
แน่นอนว่า คนในประเทศที่ได้กำไรจากการรวมกลุ่มยูโรโซน โดยเฉพาะเยอรมนี ฟินแลนด์ คงจะไม่พอใจที่ต้องเสียภาษีไปช่วยประเทศกลุ่ม PIIGS
.
เรื่องนี้บอกเราว่า วิกฤติหนี้ยุโรปคงจะยืดเยื้อ เรื้อรัง ไม่จบลงง่ายๆ เพราะแม้จะได้รับเงินช่วยเหลือแล้วก็ยังแก้ไขเรื่องการขาดดุลชำระเงินไม่ได้ 
.
ทางฝั่งสหรัฐฯ... ปัญหาหนี้ภาครัฐก็พบร่วมกับการขาดดุลชำระเงินเช่นกัน โดยเฉพาะการขาดดุลการค้ากับจีน ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า สหรัฐฯ คงต้อง "ลด-ละ-เลิก" การเข้าสู่สงครามแบบยืดเยื้อ พร้อมกับต่อรองเรื่องขาดดุลการค้ากับจีน จึงจะแก้วิกฤตินี้ได้
.
สหรัฐฯ มีต้นทุนทั้งทางการเงินการคลัง ทรัพย์สินปัญญา และทรัพยากรมนุษย์ที่เหนือกว่ากลุ่ม PIIGS มาก จึงน่าจะเอาตัวรอดได้ดีกว่า
.
ถ้าไทยยังรักษามิตรภาพกับเพื่อนบ้าน ค้าขายกับประเทศในเอเชียและอาเซียนได้แบบเข้มข้น พร้อมกับรีบพัฒนา "คน" โดยเฉพาะการเพิ่มการผลิตสาขาขาดแคลนได้แก่ หมอฟัน นักบิน พยาบาล นักบัญชี สถาปนิก-วิศวกรบางสาขา ช่างอาชีวะได้... เราน่าจะก้าวไปได้อีกไกล
.
ทั้งนี้และทั้งนั้น... จะต้องรักษาวินัยทางการเงินการคลังให้ดี เน้นสร้างคน-สร้างโครงสร้างพื้นฐาน และระวังหนี้เกินตัวไว้เป็นดีที่สุด
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • Thank > 'The Street Light' blog; 'Business Insider'
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 2 ตุลาคม 2554. ยินดีให้ท่านนำบทความทั้งหมดไปใช้ได้ > CC: BY-NC-ND.
หมายเลขบันทึก: 463810เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2011 13:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท