506 ใครน่าไปไทผาเก


ไปเรียนรู้ตัวเอง

 

 

ใครน่าไปหมู่บ้านไทผาเก อัสสัม 

บันทึกต่อเนื่องจาก 505 ผจญภัยในอัสสัม การไปเยือนไทผาเกครั้งที่ 3 ซึ่งผมกลับมาด้วยข้อมูล จปฐ. เบื้องต้นที่ได้มาในช่วงเวลา ครึ่งวัน 1 คืนในหมู่บ้าน ยังขาดการ อสม.อีก (คำเหล่านี้ นักการทูตไม่เคยรู้จัก แต่มาได้ทราบจากกัลยาณมิตรทั้งหลายในโกทูโนนี่เอง)

ทำให้ผมต้องมาเขียนต่อว่า แล้วใครน่าจะไปเยือนหมู่บ้านไทผาเก ลองดูนะครับ

หมออนามัย

พูดถึงหมออนามัย ก็ต้องนึกถึงคุณบุญรุ่ง  ตันติราพันธ์ซึ่งเคยยกมืออาสาไปช่วยงานคลินิควัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์มาแล้ว คราวนี้คุณบุญรุ่งก็ยกมืออาสาเป็นคนแรกอีกเช่นกัน จึงทำให้นึกถึงก่อนว่าหมออนามัยน่าไปหมู่บ้านไทผาเกเพื่อดูเรื่อง อสม.  ซึ่งผมยังมิได้ข้อมูลมามากเท่าใดเลย

เท่าที่เดินดูบริเวณเรือนที่พักในเช้าตรู่ของวันที่ 26 กย. 2554 มีพืชที่กินได้อยู่หลายชนิด ชาวบ้านนำเอาใบมาต้มกินเป็นผักต้ม เอาใบมาห่อข้าว  ใบใส่ในน้ำต้มเป็นแกงจีด เอาดอกมาใส่พริกยำ หน่อไม้ก็เอามาต้มกินกับข้าว รู้สึกว่าอาหารส่วนใหญ่เป็นผักและใช้วิธีต้มกิน

ก็แปลกใจว่า ชาวบ้านมิได้มีจินตนาการกว้างไกลเรื่องอาหารเหมือนบ้านเรา ที่นำมาปรับมาแปลงจนอาหารไทยมีความวิจิตร

การมีหมออนามัยไป อาจจะช่วยเรื่องสาธารณสุขพื้นฐาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ชาวบ้านยังไม่ได้พัฒนาเท่าที่ควร โดยเฉพาะเรื่องห้องน้ำสะอาด หรือการใช้สมุนไพรในการรักษาสุขภาพ 

นักโภชนาการ

พูดถึงเรื่องอาหาร ทำให้นึกถึงนักโภชนาการ ผมสังเกตุว่าชาวบ้านไม่รู้จักการถนอมอาหาร ไม่รู้จักคิดเมนูอาหารใหม่ๆ ที่ทำจากสิ่งที่มีในหมู่บ้านได้ เช่นจากกล้วย สามารถทำเป็นอะไรได้มากมายทั้งของคาวของหวาน มันและเผือก รวมทั้งผลไม่นานาชนิด ก็สามารถปลูกได้เพื่อใช้เป็นคลังอาหารครัวเรือน เท่าที่ได้สนทนากับชาวบ้าน ต่างบอกว่าก็เคยกินมาแบบนี้ ก็สุขภาพดีกันทุกคน และเมื่อไม่มีใครมาแนะนำสิ่งใหม่ๆ ให้ก็เลยเป็นอยู่แบบนี้

ครูสอนหนังสือ

สิ่งที่ทำให้นึกถึงครูสอนหนังสือเพราะว่ามีโรงเรียนประถมและมัธยมต้นในหมู่บ้าน อยู่ไม่ไกลจากวัดพุทธ เดินสัก 5 นาทีก็ถึงแล้ว ครูใหญ่บอกว่าแม่รัฐจะช่วยให้เด็กได้เรียนฟรีแต่ก็ยังขาดอุปกรณ์การเรียนการสอน โดยเฉพาะภาษาไทย ซึ่งครูใหญ่อยากให้เด็กรุ่นใหม่ได้เรียนกัน แม้กระทั่งตัวครูใหญ่เอง ก็เคยสมัครไปเรียนปริญญาเอกที่ ม.เกษตรศาสตร์ซึ่งก็รับแล้วแต่ติดที่ว่าต้องไปเรียนภาษาไทยก่อน 6 เดือน ทำให้อดเรียนปริญญาเอก

นักพัฒนาชุมชนและสังคม

ผู้ที่น่าจะตรงที่สุดคือนักพัฒนาชุมชนและพัฒนาสังคมเพราะชาวบ้านต่างเคยชินกับการอยู่อย่างสมถะ อยู่อย่างพอเพียงและมิได้มีหัวการค้า และที่สำคัญไม่รู้วิธีการว่าต้องทำอย่างไร โครงสร้างของหมู่บ้านมีเพียงหัวหน้าหมู่บ้านคนเดียว นอกนั้นเป็นลูกบ้านหมด ตรงนี้ หากได้มีการจัดระเบียบ ให้ทุกคนได้มีหน้าที่ มีส่วนร่วมในการพัฒนา ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดี

ศิลปิน

หมู่บ้านไทผาเกมีภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่เหมือนกัน ดูได้จากผลงานศิลปะที่วัด การจักทอสานตระกร้าหรือพานไม้ไผ่ การทอผ้าและผ้าลายต่างๆ และโดยเฉพาะศิลปินนักร้องหรือ”หมอคำ” มีนักร้องรุ่นใหม่หนุ่มสาวร้องเพลงพื้นบ้านได้ไพเราะน่าฟัง ผมได้ซีดีมา 1 แผ่น นักร้องล้วนเป้นคนหนุ่มสาว ขับร้องเพลงได้ไม่แพ้นักร้องอาชีพ หากได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน ผมเชื่อว่าจะไปได้ไกล ใครรู้จักแกรมมี่ ลองแนะนำกันหน่อย ใครสนใจจะได้ซีดีเพลงไทผาเกไปฟัง ก็ติดต่อได้โดยตรงได้

 

ช่างทั้งหลาย

ช่างหมายถึงเกษตรกร หมอดิน ปราชญ์ชาวบ้าน ช่างฝีมือ โดยเฉพาะช่างก่อสร้างก็น่าไปไทผาเก จะได้ไปช่วยสอนเทนนิคการเกษตร การพัฒนาดิน และก่อสร้างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจากไม้ไผ่หรือการสร้างด้วยอิฐและปูน ด้วยความที่หมู่บ้านมีต้นไม้เยอะมาก รวมทั้งมีป่าด้วย ถ้าได้ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้น่าจะริเริ่มอะไรได้บ้าง

 

พระสงฆ์

พระสงฆ์เป็นที่เคารพบูชาของชาวไทผาเก เวลามีปัญหาอะไรในหมู่บ้าน ก็มักจะไปจบที่วัด พระสงฆ์จะเป็นผู้ชี้แนะและตัดสินให้ อย่างไรก็ดี เนื่องจากเป็นชุมชนไม่ใหญ่ จึงมีวัดเพียง 2 แห่ง มีพระสงฆ์ เพียงรูปเดียว นอกนั้นเป็นเณร และเท่าที่ดูไม่มีการสอนธรรมะนอกจากพิธีกรรมทางศาสนา ดังนั้น หากพระสงฆ์จากประเทศไทยสามารถไปจำวัดและจำพรรษาที่หมู่บ้านได้ ก็น่าจะช่วยงานด้านศาสนาได้เป็นอย่างดี 

สุดท้ายก็คือนักธุรกิจ

ที่สำคัญก้คือนักจดการนักธุรกิจที่จะไปส่งเสริมให้ชาวบ้านรู้จักคิด รู้จักนำเอาศักยภาพที่มีอยู่ทั้งในตัวเองและในหมู่บ้านออกมาใช้เพื่อผลประโชยน์ของหมู่บ้าน  เช่นที่ผมได้ไปแนะนำเรื่องโฮมเสตย์ให้ชาวบ้านฟัง ก็สนใจกันและอยากจะทำ แต่ก็คงต้องการผู้จัดการผู้ชี้แนะในการปฏิบัติต่อไป

คิดไปเรื่อยๆ เขียนไปเรื่อยๆ ก็หมดเวลาพอดี ก็ฝากช่วยกันคิดต่อไปนะครับ

 

หมายเลขบันทึก: 463046เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2011 17:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีค่ะ

มาตามอ่านว่าหมออนามัยจะมีคุณสมบัติสมควรไปหมู่บ้านไทผาเกหรือไม่

ตามที่บันทึกนี้ แจกแจงได้ละเอียดดีแท้

จนนึกเห็นคณะอาสาสมัครหลากหลายวิชาชีพ ความถนัด และที่สำคัฯมีใจรัก

เดินทางแวะเวัยนกันไป นำสิ่งดีๆไปต่อเติมให้ชาวไทผาเก

เสมือนไปเยี่ยมญาติ ที่จากกันมาเมื่อไม่นานมานี้

เห็นฝันที่แสนงามของพี่โยคีแล้วค่ะ

เชื่อว่า จะต้องมีคนมายกมือสนับสนุนแน่นอน

การสร้าง อสม.นั้น ก็ใช้ได้ทุกสถานการณ์

เพราะอาสาสมัครในชุมชน เขาจะมีระแวกรับผิดชอบ

คอยสอดส่องดูแลสารทุกข์สุกดิบกันไปทุกเรื่อง(เหมือนของไทยเราในปัจจุบัน)

เป็นการสร้างจิตอาสา เป็นแกนนำ และสำนึกรักบ้านเกิดของเขาเอง

แม้นไม่มีเราแล้ว เขาก็ดำเนินการต่อไปได้

ส่วนการให้ความรู้ด้านสุขภาพนั้น

มีสื่อ วิดีโอ มากมายเข้าใจง่าย

ไม่น่าเป็นห่วงเรื่องการให้ความรู้นะคะ

แหม ชักจะฝันไปไกล ไว้มีโอกาสได้ไปจริงๆ จะตระเตรียมให้พร้อมค่ะ

ขอเพียงมีไฟฟ้า ก็ฉายหนังสนุกไปเลย

มายืนยัน ยกมืออีกครั้งนะคะ

  • ช่วยคิดและแลกเปลี่ยนมุมมองไว้ที่นี่ด้วยนะคะ
  • ......
  • ขอเรียนท่านเพิ่มว่า
  • ฐานการพัฒนาด้านสาธารณสุขของบ้านเรา
  • ที่มีจุดแข็งมากมายอยู่ ณ วันนี้
  • เราใช้อินเดียเป็นครูในหลายเรื่อง
  • ทั้งเรื่องของอสม. และ โครงการ 30 บาท
  • อินเดียนั่นแหละที่ทำให้เราปิ๊งพัฒนาขึ้น
  • ......
  • เพียงแต่ชื่อเรียกของบ้านเขา
  • อาจจะเป็นชื่ออื่น
  • ......
  • ตอนที่มาดูงานและได้พบท่าน
  • คนอินเดียที่ได้คุยด้วย
  • บอกว่ามีอสม.
  • ในโครงสร้างของหมู่บ้านอยู่แล้วค่ะ
  • .....
  • เรื่องราวที่ท่านเล่าให้ฟัง
  • ยังไม่ได้ยินในส่วนของ
  • "ผู้นำธรรมชาติ" ที่ชุมชนมีนะคะ
  • ตรงนี้เป็นต้นทุนสำคัญ
  • ของชุมชนที่ควรค้นหา
  • .....
  • บุคคลที่ชุมชนมักแวะไปปรึกษา
  • เวลาทุกข์ร้อน หรือไม่สบายใจ
  • คือ "ผู้นำ" ที่หมอกำลังกล่าวถึง
  • ผู้นำคนนี้ไม่จำเป็นต้องอยู่
  • ในโครงสร้างการปกครองใดๆของหมู่บ้านค่ะ
  • ......
  • ขอบคุณสำหรับเรื่องราวที่นำมาฝาก
  • ......
  • ในส่วนตัวยินดีมาร่วมด้วยช่วยพัฒนา
  • มีเวลาพักร้อนเหลือเฟือค่ะ
  • ......
  • ขอเพียงแต่ท่าน
  • เคาะระฆังล่วงหน้า
  • ให้รู้ตัวแต่เนิ่นๆเพื่อจัดการกับการงาน
  • แนะนำเส้นทางเดินทาง
  • และชี้แนะเรื่องที่พักให้เท่านั้นเองค่ะ
  • ถ้าได้ข้อมูลเพิ่มเรื่องการพึ่งพาป่าด้วย
  • แจ๋วเลยค่ะ
  • สัดส่วนของการพึ่งพาเหล่านี้ค่ะ
  • ฟืน ไม้ไผ่ อาหารจากพืชป่า
  • หาของป่ามาขาย
  • อาหารจากสัตว์ป่า

โยคีน้อย

สาธุ เมื่อถึงเวลาๆ จะได้มีญาติเพิ่มขึ้นอีกในอินเดีย

คิดหนอๆ

 

Ico48

ขอบคุณครับหมอเจ้

สำหรับคำแนะนำที่ชัดเจนทุกครั้ง อยากขอตัวให้หมอเจ้ไปช่วยชาวไทผาเกจัง

กำลังคิดหาทางอยู่ครับ

เรื่องผู้นำธรรมชาติ เท่าที่สังเกตุดูและตามข้อมุลของชาวไทผาเกเอง บอกว่าพระสงฆ์คือผู้นำธรรมชาตินั้น เวลามีเรื่องอะไร หากแก้กันไม่ได้ ก็จะพากันไปหาพระสงฑ์เพื่อให้ชี้แนะและตัดสิน

หัวหน้าหมุ่บ้านซึ่งเป็นตำแหน่างที่สืบทอดจากบรรพบุรุษอัตโนมัติ พ่อเป็นและลูกเป็นต่อ ถ้าลูกแล้วเกิดไม่มีผู้สืบสกุล ก็จะต้องให้น้องชายหรือญาตใกล้ชิดสืบทอดอำนาจต่อ

เช่นหัวหน้าหมู่บ้านคนปัจจุบันอายุ 62 ปี แล้ว แต่งงานแล้วแต่ไม่มีลูก

เท่าที่ดุหัวหน้าหมุ่บ้านก็คือหนึ่งในผู้นำของหมู่บ้าน  ผมไปเยี่ยมหมุ่บ้านทีไร ก็เห็นหัวหน้าหมุ่บ้านคนนี้ จัดการเรื่องการต้อนรับและดูแลเรื่องต่างๆ ส่วนพระสงฆ์นั้น กลับดูไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องแบบนี้เท่าไหร่นัก

จะเคาะระฆังแน่นอนครับ รอหน่อยครับ

 

 

Ico48

อ้าว ลืมตอบเรื่องป่าครับ

ชาวบ้านพึ่งป่าไม้มากครับ ใช้ฟืนกันทุกบ้าน และเอาฟืนมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ร่วมกับไฟฟ้าและแก๊ส

ในครัวมีทั้งเตาดิน เตาแก๊ส

ผักที่เอามาทาน หรือใบไม้ที่เป็นสมุนไพรก็เอามาจากต้นไม้ที่อยู่ในบริเวณบ้านครับ คนที่ทานหมาก ก็เอาหมากจากป่าในหมุ่บ้านซึ่งมีอยู่มาก แต่ผลไม้กลับไม่ค่อยเห็นครับ

ถามชาวบ้านก็บอกว่ามะม่วงก้มี แต่ต้นสองต้นเอง กล้วยจะมีเยอะหน่อยและเอาผลกล้วยไปขาย และไม่เห็นเอาผลกล้วยไปทานหรือแปรรูป

ประเภทมะกรูด ตะไคร้ ไม่เห็นมีเลยครับ มะนาวมีแต่ผลใหญ่มาก

ผมมีความรู้สึกว่าชาวบ้านไม่ค่อยทานของหวาน อาหารก็จืดๆ รสไม่เข้มนัก

เนื้อเห็นแต่ปลา เนื้ออื่นๆ ไม่เห้นครับ

สัตวืเลี้ยง เห็นวัว ควาย แพะ  รวมทั้งลิงซึ่งชาวบ้านบอกว่าลิงมีเยอะเหมือนกันและมักจะมากินพืชผลของชาวบ้านเสียหาย บางคนบอกว่าประชากรลิงอาจมากกว่าขาวบ้านไทผาเกด้วยซ้ำไป

ขอบคุณครับ

ใครน่าไปไทผาเก

ยกมือสองข้างโหวตให้สุดยอด ทั้งสองท่านนี้คะ :-)

 

 

Ico48

คุณหมอครับ แหม ถูกใจครับ มาร่วมยกมือโหวตให้ด้วยครับ

คุณหมอเอง หากมีเวลา ก็อยากโหวตให้ไปในโอกาสที่เหมาะสมนะครับ

ขอบคุณสำหรับการโหวตครับ :)

 

  • แวะมาแจ้งข่าวว่า
  • ถ้าจะเคาะระฆังเมื่อไร
  • บอกกันเนิ่นๆ
  • ล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือนค่ะ
  • เผื่อว่าเพื่อนพยาบาล
  • ที่อยากจะมาร่วมด้วยช่วยกัน
  • จะได้มีเวลาจัดการเรื่องการ "ขึ้นเวร"
  • ขอบคุณค่ะ
Ico48

หมอเจ้ครับ ยินดีครับ

กำลังหาข้อมูลเรื่องการเดินทางและค่าใช้จ่ายครับ แล้วจะแจ้งให้ทุกท่านทราบครับ

 

สวัสดีค่ะ

ดีจังเลยค่ะ

มีการไปทีละคณะ

ก็จะได้ความหลากหลายกลับมา

และชาวไทผาเกก็คงรู้สึกอบอุ่น ที่เราจะแวะเวียนผลัดกันไปเยี่ยม

ขอบคุณคุณหมอ ป CMUpal ที่มายกมือสนับสนุนนะคะ

Ico48

ลุงเอกกำลังสนใจจะพาคณะนักศึกษา สสสส. 30 คนไปอัสสัมเป็นแผนที่สองหากไม่สามารถไปทางแคชเมียร์ได้ ลองถามไปที่ลุงเอก

ถ้าไม่ได้ ในโอกาสหน้าจะได้เสนอลุงเอกให้จัดคณะเฉพาะจากพระปกเกล้าไปอัสสัม

ขอบคุณค่ะ

นี่ลองเล่าให้เพื่อนๆฟัง

ยังมีคนอย่ากไปท่องเที่ยวเลยค่ะ

ไทผาเก คงเป็นUnseenแห่งใหม่ของนักท่องเที่ยวค่ะ

โยคีน้อย

กำลังให้ทัวร์แห่งหนึ่งลองคำณวนดูว่าหากจัดไปอัสสัมและหมู่บ้านไทผาเกจะเป็นไปได้ไหมและค่าใช้จ่ายเท่าใด

 

  • ลุงเอกติดต่อท่านเร็วทันใจดีจัง
  • เรื่องแคชเมียร์นี่ยังเป็นที่หมายอยู่ค่ะ
  • เพราะเป็นโรงเรียนที่ดีสำหรับหลักสูตร สสสส.
  • ท่านจัดทัวร์สำรองไว้ดีแล้วค่ะ
  • เผื่อว่า สสสส. จะไม่แวะอัสสัม
  • ขอบคุณค่ะ
Ico48

หมอเจ้ครับ

ครั้งนี้คงไม่ทัน

หากเจอลุงเอก คงจะเสนอให้สถาบันพระปกเกล้าจัดอีกคณะเพื่อไปสำรวจอัสสัมและหมู่บ้านไทผาเกโดยเฉพาะครับและน่าจะเป็นกลุ่มเล็ก

และเป็นการไปสำรวจและช่วยเหลือ(โดยนำความรู้ด้านต่างๆ ไปให้ชาวบ้าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท