หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

เรียนรู้อินเดียอีกมุมหนึ่ง(๒) : แกะรอยข้อมูลเท่าที่พอเห็น


การไม่ผลิตสินค้าเพื่อตลาดภายนอกหรือธุรกิจ ในส่วนตัวกลับหนุน เพราะมีอีกหลายเรื่องที่เป็นต้นทุนพึ่งตัวเองได้ หากพวกเขาเข้าถึงฐานความรู้ ที่ไม่หนุนเพราะเห็นว่า เป็นเรื่องค่อยเป็นค่อยไปจะให้คุณกว่าสำหรับการดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมที่งดงามอยู่แล้วของชุมชนแห่งนี้

บันทึกนี้ขอมาต่อหลัก 2 "สิ่งแวดล้อม" หลัก 3 "ความสัมพันธ์" และเรื่อง "คน" ที่ยังคงค้างค่ะ

ขนาดครอบครัวที่เป็นจริง มีคน 3 วัยอยู่ด้วยกัน และใหญ่กว่าที่คาดไว้เล็กน้อย

ที่ติดใจคือจากภาพชาวบ้านที่เห็น บุรุษฉกรรจ์มีน้อยมาก สตรีวัยทำงานก็มีน้อยกว่าผู้สูงอายุ 

แปลว่ารายได้ส่วนใหญ่มาจากแรงงานของบุรุษวัยฉกรรจ์หรือเปล่า ความปรารถนาจะมีทายาทจึงมุ่งไปที่ลูกชายมากกว่าลูกสาว  สามีไม่อยากมีลูกเพิ่ม หรือว่าตรงนี้มีเรื่องของประเพณีการแต่งงานแบบอินเดียเข้ามามีอิทธิพลด้วย แล้วน้ำหนักด้านไหนมีมากกว่า

ทัศนคติในมุมนี้สำคัญในแง่การสืบทอดทายาทของชุมชน หากเปลี่ยนมุมมองได้ ชุมชนนี้ก็จะมีขนาดขยายขึ้นได้ ไม่เล็กลงๆอย่างที่ได้เจอ

ต้นทุนทำกินของแต่ละครอบครัวมีเยอะทีเดียว เฉลี่ยคนละไร่ครึ่งนี่อ่ะ ที่สนใจกลับเป็นเรื่องของผู้มีฐานะดี บริหารที่ดินอย่างไร ทิ้งเฉยๆหรือหารายได้ผ่านการให้เช่า หรือจ้างคนมาทำให้

มีต้นไม้ใช้เป็นฟืนได้ มีต้นไม้ใกล้บ้าน มีป่าใกล้เคียง มีต้นน้ำอยู่ใกล้หมู่บ้าน มีแม่น้ำอยู่ใกล้บ้าน อนาคตเรื่องการมีไฟฟ้าใช้ไม่น่าเป็นห่วง ต้นทุนมีเพียบ

ที่ควรค้นหาต่อ คือ เรื่องความเป็นเจ้าของพลังงานไฟฟ้าเอง กฎหมายอินเดียเปิดกว้างและเอื้อให้แค่ไหน 

ไปเปิดดูแผนที่ของกูเกิล พื้นที่ของเมืองนี้มีสถาบันการศึกษามากมาย มีรพ.มากมาย มีบ้านพักฟื้นด้วย

ในส่วนตัวเห็นว่าอย่างหลังนี้เหมาะสำหรับรูปแบบโฮมเสตย์ของที่นี่มากๆ ต้นทุนไฟฟ้าพลังน้ำเป็นต้นทุนของหมู่บ้านที่สร้างได้ ต้นทุนวิศวกรน่าจะมีอยู่ที่มหาวิทยาลัยของเมืองนี้บ้างละน่า ไม่มีก็ชวนคนไทยไปช่วยกัน

ความเป็นคนกลุ่มน้อย มีหมอลูกหลานชุมชนเป็นต้นทุนอยู่แล้ว 2 คน นี่แหละต้นทุนที่ชักนำให้กลับมาช่วยหมู่บ้านได้ หากเขาทั้ง 2 เข้าใจ ภูมิปัญญาด้านสมุนไพรช่วยได้มากมายนี่ก็เป็นต้นทุนที่มีอยู่แล้ว   

 วิธีการได้น้ำมาใช้ ใช้บาดาล น่าจะเป็นเหตุผลเรื่องภัยธรรมชาติด้วยหรือเปล่า แหล่งน้ำของอินเดียที่เป็นแม่น้ำ หากจะใช้สอยแบบประปาบ้านเรามีหลายเรื่องที่ต้องพึ่งพาสำหรับหมู่บ้านนี้ ที่แน่ๆก็พึ่งพาปัญญาคนหนุ่ม และต้นทุนการสร้างประปา มีรายได้ขนาดที่เป็นอยู่ เป็นไปได้ยากสำหรับการลงทุนเรื่องประปา หากงบประมาณท้องถิ่นไม่มีลงมาช่วย

ในส่วนตัวหมอมองเห็นว่า เรื่องหลักที่ควรพัฒนาเพื่อสร้างฐานของชุมชนไว้หนุนให้กับจุดแข็งที่มี เป็นเรื่องของสุขาภิบาลน้ำและการจัดการของเสียในชุมชนให้ได้สุขลักษณะคืนมา

ถ้าทำตรงนี้ให้ดีในระดับครัวเรือน ชุมชนได้ต้นทุนคืนมาอีกมากมายทีเดียว ทั้งเรื่องสุขภาพที่ดีขึ้นลดรายจ่ายครัวเรือน เพิ่มรายได้

พวกเขายังเลี้ยงวัว นี่ก็เป็นต้นทุนทางการเกษตรและพลังงานที่ดีสำหรับครัวเรือนค่ะ 

การแต่งงานในเครือญาติ ส่งสัญญาณอีกมุมเกี่ยวกับสังคม มีบางอย่างสะกิดใจเกี่ยวกับความยอมรับที่ชุมชนรอบข้าง มีต่อชุมชนแห่งนี้  ที่สะกิดใจกับเรื่องนี้ เพราะเรื่องชนชั้นในอินเดียเป็นอะไรที่ยังซ่อนลึกอยู่ในสังคมอย่างเงียบๆ  ชุมชนนี้ถูกจัดเป็น "หริชน" ในสายตาคนส่วนใหญ่หรือเปล่า

การแต่งงานกันเองในเครือญาติ อาจจะเป็นต้นเหตุที่ทำให้อัตราเกิดต่ำอย่างที่เป็นอยู่ และมีเหตุซ่อนลึกเชื่อมไปหาความไม่ต้องการบุตรสาวของพ่อแม่ก็เป็นได้

คนและสัตว์เลี้ยงอยู่ใกล้กันมาก น่าสนใจเรื่องการให้วัคซีนป้องกันโรคที่ได้รับจากรัฐบาลอินเดียว่าครอบคลุมขนาดไหน และให้ข้อมูลแหล่งแพร่โรคทางเดินอาหารและทางเดินหายใจที่อยู่ใกล้ตัวมาก

ชุมชนนี้นับถือพุทธ คงจะไม่มีเรื่องของสุรา แต่เรื่องยาสูบน่าจะไม่ต่างจากคนอินเดียทั่วไปหรือเปล่า

เรื่องของการทำนา น่าสนใจเรื่องพันธุ์ข้าวที่ปลูก และผลผลิตที่ได้ เพื่อนำมาใช้ต่อในการช่วยคิดเรื่องฐานพึ่งพิงตนเองต่อประเด็นโฮมเสตย์

การไม่ผลิตสินค้าเพื่อตลาดภายนอกหรือธุรกิจ ในส่วนตัวกลับหนุน เพราะมีอีกหลายเรื่องที่เป็นต้นทุนพึ่งตัวเองได้ หากพวกเขาเข้าถึงฐานความรู้

ที่ไม่หนุนเพราะเห็นว่า เป็นเรื่องค่อยเป็นค่อยไปจะให้คุณกว่าสำหรับการดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมที่งดงามอยู่แล้วของชุมชนแห่งนี้

ในภาพที่เห็นเด็กฟ้อนรำให้ชม มีเด็กๆนั่งลุ้น และภาพอุ๊ยที่มาเข้าแถวต้อนรับบ่งบอกว่าเรื่องของต้นทุนด้านอาหารและเติมเต็มความรู้เพื่อไม่ให้เกิดภาวะขาดอาหารและอาหารเกินเป็นเรื่องควรหยิบจับขึ้นพัฒนาอีกเรื่อง

คอมพิวเตอร์มี 5 เครื่อง ในส่วนตัวคิดว่า ใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ได้เมื่อไร ยิ่งทำให้ต้นทุนชุมชนสูงขึ้นไปอีก

จะว่าไปแล้วการพัฒนาชุมชนที่นี่ เห็นด้วยว่าต้องการภาคีจากทุกภาคอย่างที่ท่านเอ่ยถึง

ทั้งหมดนี้คือเรื่องช่วยคิดเบื้องต้น มีข้อมูลเพิ่มเติมจากเจ้าบ้านคือชุมชนเมื่อไร จะมาช่วยคิดต่อค่ะ

28 กย.54

หมายเลขบันทึก: 463065เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2011 21:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 23:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

พร้อมกับมาเรียนรู้ค่ะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกนี้นะคะ

ขอบคุณค่ะ

หมอเจ้ครับ

รีบตอบเลยเพราะกำลังจำได้ดี

เรื่องไม่อยากมีลูก ก็ถามว่าทำไม่ลูกน้อยจัง 1-2 คนเท่านั้นเอง ทุกคนบอกว่าในสภาพเศรษฐกิจที่ไม่ดีแบบนี้ การมีลูกมากเป็นปัญหาและภาระ

ที่เห็นผู้ชายน้อย น่าจะมาจากการที่เวลามีคนมาเยี่ยมหมู่บ้าน ผู้หญิงจะเป็นฝ่ายต้อนรับ ผู้ชายไม่ค่อยแสดงตัว ที่ผมเห็นมีแต่ผู้หญิงและเด็กๆ ที่มาคอยต้อนรับ  

ธรรมเนียมอีกอย่างก็คือ เมื่อเลี้ยงอาหารแขกผู้มาเยือน เขาจะปล่อยให้เราทานโดยมาคอยดู เพื่อท จะบริการ แม้จะเชื้อเชิญว่าทานด้วยกัน หนุ่มสาวก็จะบอกว่าเป็นธรรมเนียมให้แขกทานก่อน

ที่ดินมีไว้ทำนา โดยจ้างคน"กุลี" มาทำซึ่งเป็นคนท้องถิ่น โดยชาวไทผาเกควบคุมอีกที เช่นเดียวกับงานที่ไร่ชา จะมีคนท้องถิ่นตัวดำๆ เด็ดใบชา คนคุมคือคนไทหรือไทอาหม

การทำนาถามว่าทำไมไม่ทำให้มากขึ้น แทนที่จะเป็นปีละครั้ง คำตอบก็คือ ครั้งเดียวพอเพียงแล้ว  ใช้นำฝนหน้าฝนนั่นแหละ เออ พอเพียงดีจัง

หัวหน้าหมู่บ้านบอกว่า มีที่ดินว่างที่อยากจะให้ทำเป็นสวน ก็อยากให้คนมาช่วยแนะนำ

เรื่องเลี้ยงวัว แสดงถึงฐานะของคนได้ดี แต่ที่ไม่เหมือนพวกฮอนดูก็คือ เขาไม่เอาขี้วัวไปทำเป็นเชื้อเพลิงเหมือนคนฮินดูทั่วไป เพราะใช้ฟืนสะดวกกว่า ซึ่งถ้าเป้นคนฮินดู ที่ไหนมีขี้วัวที่นั้นคือเชื้อเพลิงที่นำไปผสมกับหญ้าฟางไปตากแห้งกลายเป้นเชื้อเพลิงอย่างดี

เรื่องน้ำดูเหมือนไม่มีปัญหา เพราะน้ำบาดาลมีเหลือใช้ ไม่จำเป็นต้องใช้น่ำจากแม่น้ำหรือเก็บน้ำใส่ตุ่มแบบบ้านเราเลย

เรื่องไฟฟ้า รัฐบาลไม่สามารถจัดไฟฟ้าให้กับทุกคนได้อย่างเพียงพอจึงเปิดให้คนมีเครื่องผลิตไฟฟ้าเองได้ ในเมืองหลวงแม้แต่สถานทูตก็ต้องมีเครื่องปั่นไฟสำรองเอง

เท่าที่ดูหมู่บ้านนี้ไม่เดือดร้อนเรื่องไฟฟ้า เพราะอยู่อย่างพอเพียง ในห้องประชุม สนทนากันไป ก็ไฟดับ ก็จุดเทียน ก็สนทนากันต่อไม่มีปัญหา เคยชินกันแล้ว

เรื่องชนชั้น สังคมของชาวไทผาเก เหมือนสังคมปิดคือแต่งงานกันเฉพาะในกลุ่ม ในหมุ่บ้านก็ไม่มีคนกลุ่มอื่นอยู่ปะปนเลย หมู่บ้านก็อยู่โดด มีกลุ่มเรือน ห้อมล้อมด้วยนาและป่า จึงยากที่คนกลุ่มอื่นจะมาปะปน

เรื่องสุราไม่เห็นครับ มีแต่คนทานหมาก ติดหมาก ที่น่าสังเกตุก็คือไม่เห็นมีร้านค้าในหมู่บ้าน เข้าใจว่าเวลาจะซื้อของ คงออกไปนอกหมู่บ้าน ที่ชุมนุมของชาวบ้านคือริมแม่น้ำ จะมีแคร่สร้างไว้ให้คนมานั่งเล่นยามเย็นและมีการเล่นฟุตบอลที่สนามหญ้าหน้าโรงเรียน

เอาเท่าที่จำได้ครับ

ขอบคุณครับ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท