ชาวนาวันหยุด ตอนที่ 8.9 การเเบ่งหน้าที่งานในชุมชนคนทำนาดำแบบร่วมสมัย


การที่ชุมชน คนทำนา มีการแบ่งหน้าที่ ทำด้วยความถนัดและความชำนาญจากการเรียนรู้ นำ เทคโนโลยีที่เหมาะสม มาปฏิบัติและมีความร่วมมือ ร่วมใจ มีเป้าหมายร่วมกัน ก็จะทำให้มีประสิทธิภาพการผลิต สูงขึ้น กว่าต่างคนต่างทำ แน่นอน

วันนี้วันที่ 12 สิงหาคม 2554

วันนี้เป็น "วัน ตกกล้า ข้าวมะลินาปี+ข้าวเหนียว " ที่ลุงมีได้มาจาก บุรีรัมย์ครับ

แม้ว่าข้าวในเเปลงนา จะยังไม่ได้เก็บเกี่ยว(มีนัดเก็บเกี่ยว 19-8-2554) 

ก็ได้วางเเผนการปักดำล่วงหน้า ไปแล้ว คือวันที่ 27-28-29 สิงหาคม 2554 ทำคู่ขนาน ระหว่างรอครับ 

โดยถือเอาฤกษ์ วันแม่ ตกกล้าไว้ในถาดเพาะกล้า และ รออนุบาลอีก 15 วัน

12+15= 27 ครับ 

สิ่งที่ทำ คือ "การวางเเผนการทำงาน ได้อย่างต่อเนื่อง"

เมื่อสามารถกำหนดปัจจัยแวดล้อมในเเปลงนา ได้"

เพราะ ชาวนา คือนายกรัฐมนตรี คือเทวดา ในที่นาของตนเอง ครับ ทำได้แล้ว ทำได้เลย 

รอบนี้ก็ให้ครอบครัวพี่เสน่ห์- บุญยัง เพาะกล้าให้ครับ

การเตรียมดิน ทำเทือก (20-21-22) และ การปักดำ(27-28-29) ก็เป็นทีมงานคนหนุ่มไฟแรงในหมู่บ้านครับ 

 


 

คนส่วนมากเมื่อมารวมกลุ่มกัน และที่เข้ามาตามๆกัน มักคิดว่า

"กลุ่มจะให้อะไรกับเค้าได้บ้าง"

ในทางกลับกัน ถ้าทุกคนช่วยกันคิดว่า

"เราจะให้อะไรกับกลุ่มได้บ้าง"

กลุ่มจึงจะพัฒนารุดหน้าต่อไปได้ 

     

   ชมวิดีโอ ได้ที่นี่ครับ ...

    การทำนาปัจจุบัน ไม่ได้ยากลำบากเหมือนสมัยก่อน มีการปรับปรุง เปลี่ยนเเปลง พัฒนา นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมเข้าสู่ชุมชน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา "แรงงาน"และ "เพิ่มประสิทธิภาพ" ในระบบการผลิตภาคการเกษตร 

 

ซึ่งสิ่งที่ต้องทำควบคู่กับการใช้เครื่องมือเครื่องจักร เหล่านี้ คือ 

ความคิดในการบริหารจัดการ

  "เเหล่งที่มาของรายได้ ต้นทุนการผลิต กำไรสะสม โดยการใช้ปัจจัยการผลิต และความร่วมมือในชุมชน"

1.ผลตอบแทนของชาวนา คือ ผลผลิตข้าวแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยในพื้นที่ที่จำกัด จากการเอา ความเข้าใจ ดูแลเอาใจใส่เเปลงนา ซึ่งจะทำให้สามารถยกระดับการผลิต และคุณภาพผลผลิต กำหนดราคาได้เอง "แบบสวยเลือกได้" 

->จะผลิตข้าวขายโรงสี -ขายคนกินเพื่อพลังงาน ราคาถูกๆ

->จะผลิตเมล็ดพันธุ์ดี  - ขายชาวนาที่ทำเมล็ดพันธุ์เองไม่ได้

->หรือข้าวอินทรีย์/ปลอดสารพิษ -ขายคนกินอร่อย+สุขภาพ

คุณอยู่ในฟังก์ชันการผลิตแบบไหน ??? เอาให้ชัดเจนเพื่อจะได้กำหนดรูปแบบ รายได้และ การลงทุนให้เหมาะสม


2.รายได้จากการบริการเครื่องจักรให้กับเพื่อนบ้าน เป็นเพียงรายได้เสริม ไม่ใช่รายได้หลัก รายได้หลักของชาวนามืออาชีพต้องมาจากข้อ 1.

และต้องมีวินัย แบ่งกองรายได้ค่าบริการมา สำรองสำหรับบำรุงรักษาเครื่องจักรให้พร้อมทำงานอยู่เสมอ" เช่นเดียวกับการสำรองเงินไว้ดูแลตรวจสุขภาพประจำปี 

3."ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของเครื่องจักรเองทั้งหมด" สามารถใช้บริการ จากเพื่อนบ้านที่เป็นเจ้าของได้ ภายใต้เงื่อนไขคุณภาพงานที่ทำ 

การเลือกที่จะ "มี หรือ ไม่มี" อยู่ที่การบริหาร รายได้และสภาพคล่อง 

 

4.เลือกเป็นเจ้าของตามกำลังและความถนัด ของตัวเอง

โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี เมื่อตัดสินใจที่จะมี ก็ต้องมีความรับผิดชอบ  

พิจารณา " ความสามารถในการทำงานของเครื่องจักร กับพื้นที่ให้สอดคล้องกัน" ถ้า Cap เหลือมาก ก็คือ ค่าเสียโอกาส" 

5.บริหารปัจจัย เครื่องจักรให้ครบวงจร ในชุมชน เพื่อให้ทำงานได้อย่างเป็นระบบ ทันต่อการทำงานในแต่ละฤดูกาล และต้องมีวางเเผนการผลิตร่วมกัน ในชุมชน ช่วยลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตโดยรวมของชุมชนได้   

6.ถ้าคุณได้เข้าไป ร่วมบริหาร ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในชุมชนแบบนี้ คุณจะช่วย บริหาร ให้กำลังการผลิตของเครื่องจักร เต็ม Cap ได้อย่างไร??? 

หรือจะเข้าไปแบบว่า ไม่รู้ไม่ชี้ ตัวใคร ตัวมัน ไม่ได้ดูบริบทของชุมชน  แล้วก็ไปทำ 5 ไร่ 10 ไร่ ของตัวเองต่อไป เพราะไม่ใช่หน้าที่ รอให้คนมีหน้าที่ต้องทำ มาทำ??? 

(หมู่บ้านส่วนใหญ่ จะมีพื้นที่การทำนาเฉลี่ย 2 ตร.กม.= 1,250 ไร่)

คนส่วนมากเมื่อมารวมกลุ่มกัน

และที่เข้ามาตามๆกัน มักคิดว่า

"กลุ่มจะให้อะไรกับเค้าได้บ้าง"

ในทางกลับกัน ถ้าทุกคนช่วยกันคิดว่า

"เราจะให้อะไรกับกลุ่มได้บ้าง"

กลุ่มจึงจะพัฒนารุดหน้าต่อไปได้ 



หมายเลขบันทึก: 462861เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2011 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ดำนาข้าวหอมมะลิ ๑๐๕ ไปแล้วตั้งแต่วันที่ ๒๙ สค. ตอนนี้กำลังงาม

...ทำอย่างไร...ทุกภาคส่วนจะเห็นความสำคัญของภาคเกษตร...อย่างจริงใจ...มากกว่านี้...เพราะชาวนาตอบไม่ได้ว่าใครจะสืบทอดอาชีพชาวนา...บางคนก็ชอบที่จะเอาชาวนามาอ้าง...เอาความยากจนของชาวนามาเป็นเครื่องมือ...หนุนนำตัวเองเข้าสู่อำนาจ...อยู่ตลอดเวลา...

การจัดการเป็นระบบดีจังเลยครับ สวยงาม

Ico48 ตอนนี้ ปักดำ แตกกอ ปล่อยเป็ด เรียบร้อยไปแล้วครับ

ลงบันทึก ไม่ทัน ครับ 

 

Ico48 ขอบคุณคุณผึ้งงาน ครับ

ความคาดหวัง ในการเปลี่ยนเเปลง จากคนอื่น คือ "รอ" แล้วก็ไม่รู้เมื่อไหร่ครับ กำหนดไม่ได้ สู้การ "ริเริ่ม" เปลี่ยนเเปลงที่จากภายใน "ตัวเอง"ไม่ได้ครับ ไม่เสียกำลังใจด้วย - - - กำหนดได้ดังใจ

 

Ico48 ขอบคุณครับอ.โสภณ

เพราะตั้งใจทำ จึงได้มา ครับ เรื่องแบบนี้ไม่ "รอ"ใครมาช่วยครับ

     ชอบแนวคิดที่คุณต้นกล้าได้นำเสนอในบันทึกนี้ (ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกอาชีพ ที่ผู้ประกอบการเป็นนายตัวเอง) ได้แก่

          1) แนวคิดทางพุทธศาสนา "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน" และแนวคิดทางจิตวิทยา "ความเชื่ออำนาจในตน (Belief of Internal Locus of Control)" หรือพูดง่ายๆ คือ "อัตลิขิต" (ตรงกันข้ามกับ พรหมลิขิต) คือ เชื่อว่า ตนเองเป็นผู้ที่สามารถบันดาลให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้น ไม่ใช่คนอื่นหรือสิ่งอื่น คนที่เชื่อแบบนี้ จะใช้ความสามารถสูงสุดที่ตนเองมีอยู่เพื่อให้เกิดผลตามที่ต้องการ และจะเรียนรู้ พัฒนาทักษะ แสวงหาทรัพยากรสนับสนุนการทำงาน (5 Ms) เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของงาน

          2) การทำงานระบบกลุ่ม ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่จะมีจุดอ่อนในเรื่องนี้ องค์ประกอบสำคัญของการทำงานระบบกลุ่มที่ดี สมาชิกกลุ่มต้อง (1) มีเป้าหมายร่วมกัน โดยนำเป้าหมายของกลุ่มมาเป็นเป้าหมายของตนเอง ไม่ใช่นำเป้าหมายของตนเองไปเป็นเป้าหมายของกลุ่ม (2) ทุกคนมีส่วนร่วมตามบทบาทที่สอดคล้องกับความถนัดของตน (3) ความสำเร็จหรือผลของงานเป็นความสำเร็จของกลุ่ม ไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง (4) มีกิจกรรมย้อนกลับไปพิจารณาปัญหาอุปสรรคในการทำงานและหาทางป้องกันแก้ไข เพื่อหาทางเพิ่มประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลของงานในโอกาสต่อๆ ไป   

         

Ico48 ขอบคุณครับ ที่มาร่วมเติมเต็มบันทึกนี้ครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท