สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)


สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม

ความเป็นมาของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม( สคส.)

ประวัติความเป็นมา
(อ้างอิง Annual Report 2004-2007)
สถาบัน ส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม หรือ สคส. นั้นกล่าวได้ว่าถือกำเนิดขึ้นนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2545 เป็นต้นมา โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ทุนสนับสนุนในการดำเนินโครงการทดลอง เพื่อการจัดการความรู้ในระยะเริ่มต้น เป็นเวลา 3 ปี แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ สกว. ได้มอบหมายต่อให้ ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช ที่ปรึกษาพิเศษของ สกว. รับผิดชอบบุกเบิกงานจัดการความรู้ (โครงการ นำร่องเครือข่ายการจัดการความรู้) ภายใต้การดำเนินงานของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) และคณะกรรมการนโยบายสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม พ.ศ.2546 (ประกาศแต่งตั้ง 2546) เพื่อการขับเคลื่อนสังคมไทยให้ "มีการจัดการความรู้ในทุกหย่อมหญ้า"
ตั้งแต่ ปี 2546-2548 สคส. เริ่มต้นศึกษาและพัฒนา “ศาสตร์” ด้านการจัดการความรู้ในสังคมไทย โดยผ่านโครงการนำร่อง โครงการให้ทุนต่างๆในประเทศ (โครงการพัฒนาเครือข่ายการจัดการความรู้ใน รพ.ภาคเหนือตอนล่าง, โครงการส่งเสริมการจัดการความรู้เรื่องการทำนาข้าวในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน มูลนิธิข้าวขวัญ) รวมทั้งการศึกษาทฤษฎีจัดการความรู้จากต่างประเทศ จนได้โมเดลการจัดการความรู้ รวมทั้งเครื่องมือการจัดการความรู้ต่างๆที่เหมาะสมกับบริบทของไทย (โมเดลปลาทู - ปลาตะเพียน, เครื่องมือชุดธารปัญญา, การใช้สุนทรียสนทนา)
ปี 2548สคส.ดำเนินงานจัดทำ Workshop มากมายเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของผู้มีบทบาทในการทำการจัดการความรู้ ให้กับกลุ่มและหน่วยงาน/องค์กรต่างๆ จนมีความมั่นใจและเข้มแข็งพอจะทำหน้าที่เผยแพร่การจัดการความรู้ในสังคม ไทย
ปี 2549 สคส.จึงเริ่มงานเปลี่ยนผ่านการทำงานเป็นการผ่องถ่ายหน้าที่ ”การจุดประกายการพัฒนาขีดความสามารถและการเป็นพี่เลี้ยง (จัด KM Workshop)” ให้หน่วยงานต่างๆ ทำหน้าที่นี้ได้เอง โดยที่ สคส.ได้ก้าวขึ้นมาทำหน้าที่เป็น “ตัวเชื่อมร้อยโครงข่ายการจัดการความรู้สำหรับสังคมไทย”
ปี 2550 การทำงานของ สคส. เน้นมาที่บทบาทการเป็นที่ปรึกษา พี่เลี้ยงและแกนนำจุดประกายการจัดการความรู้ของสังคม จนได้รับความเชื่อมั่นและไว้วางใจจากทั้งหน่วยงานราชการ บริษัท กลุ่ม เครือข่าย และชุมชน ได้เข้ามาปรึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำงานผลักดันร่วมกันอย่าง กัลยาณมิตร ซึ่งโดยท้ายที่สุดแล้วก็เพื่อสร้างเสริมการใช้ทุนทางปัญญาในสังคมไทยไป พัฒนาทุกภาคส่วนของสังคมอย่างยั่งยืน ให้มีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในการทำงาน โดยได้ดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนการจัดการความรู้ในสังคมไทย มีมากมายหลายด้าน ได้แก่
  • สคส. เป็นผู้ดำเนินการหลัก ”จัดเวทีขับเคลื่อนการจัดการความรู้" โดย...
  • สคส. เป็นวิทยากรกระบวนการในกิจกรรม KM Workshop ร่วมกับภาคีเครือข่าย
  • การเป็นวิทยากรกระบวนการ KM และการบรรยายให้แก่หน่วยงานต่างๆ
  • ร่วมมือกับภาคีในการจัดเวทีหรือกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อขับเคลื่อนเครือข่าย
  • การเข้าร่วมงานและกิจกรรม KM ที่หน่วยงานภาคีเครือข่ายจัดขึ้น
  • การค้นหา KM ในที่ต่างๆ เพื่อส่งเสริม เผยแพร่ สร้างกระแสการขับเคลื่อน KM
งานของ สคส. ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปี 2550 เพื่อขับเคลื่อนการจัดการความรู้ในสังคมไทย เช่น
  1. สคส. เป็นผู้ดำเนินการหลัก "จัดเวทีขับเคลื่อนการจัดการความรู้" 
  2. สคส.เป็นวิทยากรกระบวนการในกิจกรรม KM Workshop ร่วมกับภาคีเครือข่าย
  3. การเป็นวิทยากรกระบวนการ KM และการบรรยายให้แก่หน่วยงานต่างๆ
  4. การให้ความร่วมมือกับภาคีในการจัดเวทีหรือกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อขับเคลื่อนเครือข่าย
  5. การเข้าร่วมงานและกิจกรรม KM ที่หน่วยงานภาคีเครือข่ายจัดขึ้น
  6. การค้นหา KM ในที่ต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นเอง เพื่อส่งเสริม เผยแพร่ สร้างกระแสการขับเคลื่อน KM

สคส. เป็นผู้ดำเนินการหลัก "จัดเวทีขับเคลื่อนการจัดการความรู้" โดย

  • การประชุมภาคีจัดการความรู้ท้องถิ่น -ภาคประชาชน-ประชาสังคม (ครั้งที่ 20-23)
  • งานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ (ครั้งที่ 3)
  • งานสัมมนา "KM เพื่อการพัฒนาองค์กรอัจฉริยะ"

สคส.เป็น วิทยากรกระบวนการในกิจกรรม KM Workshop ร่วมกับภาคีเครือข่าย

  • การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้บริหารแผนงาน สสส.
  • เวที New School Forum เวทีใหม่แห่งการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน
  • การประชุมเชิงปฏิบัติการ "การสร้างเสริมสุขภาวะในมหาวิทยาลัยราชภัฏ"
  • เวที PM Sharing ครั้งที่ 2 เรื่อง "หลายหลากกลเม็ดผลักดันนโยบายสาธารณะให้ประสบผลสำเร็จ ของ สสส."
  • เวที "เยาวชนจิตอาสา เพื่อพัฒนาตนเอง"

การเป็นวิทยากรกระบวนการ KM และการบรรยายให้แก่หน่วยงานต่างๆ

  • โรงพยาบาลเลิศสิน
  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
  • สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.)
  • ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย (ชสอ.)
  • วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ
  • มูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บวท.)
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • KM Workshop in NSTDA ของ สวทช.
  • กลุ่มนักกิจกรรมบำบัด
  • โครงการนักบริหารทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับกลาง ของนิด้า
  • สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
  • กลุ่มโรงเรียนไชโยบูรพา จ.อ่างทอง
  • กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
  • ส่วน วิจัยและพัฒนายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง กองทัพบก
  • โครงการ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ภายใต้การให้ทุนของ สสส.)
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • การ บรรยายหลักสูตร นบม. สำหรับผู้บริหารระดับสูงมหาวิทยาลัย ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
  • หลักสูตร KM มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยคริสเตียน

การให้ความร่วมมือกับภาคีในการจัดเวทีหรือกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อขับเคลื่อนเครือข่าย

  • การประชุมเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย (UKM) ครั้งที่ 8-10
  • ตลาดนัดเครือข่ายการจัดการความรู้มูลนิธิข้าวขวัญ
  • การต่อยอด GotoKnow.org
  • การสัมมนาภาคีการจัดการความรู้ ภาคราชการ ครั้งที่ 6-7
  • ร่วมมือกับหน่วยงานระดับชาติเพื่อขับเคลื่อน KM ประเทศไทย
  • เวที KM Research Forum ครั้งที่ 2
  • เวที "ปัญญา สัมมนาวาที"
  • เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่กับเบาหวานอย่างมีสุขและพอเพียง

การ เข้าร่วมงานและกิจกรรม KM ที่หน่วยงานภาคีเครือข่ายจัดขึ้น

  • งานประชุมการจัดการความรู้ CoP Event ของ กรมราชฑัณฑ์
  • การประชุม HA Forum ครั้งที่ 8 ของ พรพ.
  • งาน ตลาดนัดความรู้ "พลังแห่งปัญญา ตลาดนัดความรู้สู่ชุมชนเป็นสุข" ของ โครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาสถาบันจัดการความรู้ชุมชนท้องถิ่น (โครงการรับทุนจาก สคส.)
  • งานประชุมประจำปีเพื่อนำเสนอผลงานและการจัดการความรู้ กรมการแพทย์
  • การประชุมกรรมการโครงการกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก – UNDP
  • เวที กลุ่มแม่อาสาและคณะทำงาน โครงการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ภายใต้การให้ทุนของ สสส.)
  • งานมหกรรม ตลาดนัดการจัดการความรู้ 4 ภูมิภาค ของโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรการศึกษาด้วย การจัดการความรู้ (โครงการ EdKM)
  • งานมหกรรมการจัดการความรู้ : ความรู้..สู่ปัญญา..พัฒนาเมืองกาฬสินธุ์ ประจำปี 2550 ของ จ. กาฬสินธุ์
  • ตลาดนัดความรู้สู่เส้นทาง...ภาคีส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ของกรมอนามัย
  • ฯลฯ

การ ค้นหา KM ในที่ต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นเอง เพื่อส่งเสริม เผยแพร่ สร้างกระแสการขับเคลื่อน KM
  • กศน. คลองสาน ซึ่งใช้ KM เพราะต้องการเปลี่ยนการทำงานโดยทำงานให้สอดคล้องกับความ ต้องการของชุมชน มีคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา
  • ชุมชนบ้านหนองจิก จ.อุทัยธานี ที่เริ่มใช้ KM ในการประชุมทุกเดือนเพราะคนในชุมชนต้องการ จะพัฒนาตนเองในทุกๆ ด้านและต้องการพึ่งพาตนเองโดยไม่หวังพึ่งหน่วยงานภายนอก (ซึ่งเดิม นั้นมีปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำ)
  • กฟผ. โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง ซึ่งทำ KM CoPs อย่างเข้มข้น โดยมีผู้บริหารระดับสูงให้การ สนับสนุนทั้งในด้านนโยบาย, ทรัพยากร, และอื่นๆ รวมทั้งมีจุดแข็งคือ ระบบ IT ที่นำมาใช้สนับสนุน การเก็บคลังความรู้เพื่อนำไปใช้และพัฒนา
  • ซีเอ็ดบุ๊คส์ ซึ่งใช้หลักการ talent management มาใช้ในการพัฒนาคน พัฒนางาน ใช้กลยุทธ์การ ทำงานเป็นโครงการ ที่ให้พนักงานใหม่อาสาสมัครเข้ามาเป็นคณะทำงานและพัฒนาโครงการจน ประสบความสำเร็จในเชิงธุรกิจ
  • ศูนย์โรคสมองภาคเหนือ คณะแพทย์ ม.เชียงใหม่ ที่ใช้กับกระบวนการกลุ่มบำบัดของผู้ป่วย โรคสมอง
  • บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด จุดเด่นอยู่ที่การสร้างระบบรองรับกระบวนการแลก เปลี่ยนเรียนรู้ของพนักงานในองค์กร
  • โรงพยาบาลพุทธชินราช นำ KM มาใช้ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้มีความเป็นระบบมากขึ้น ใช้วิธีเพื่อนช่วยเพื่อน
  • โรงพยาบาลเทพา จังหวัดสงขลา นำ KM เพื่อไปเสริมให้ชาวบ้านในพื้นที่รู้ถึงศักยภาพในการ ดูแลตัวเอง มีการดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม
  • กรมอุตุนิยมวิทยา ในกรมอุตุนิยมวิทยา มี CoP 5 กลุ่ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการถ่ายทอดความ รู้จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง ทำ KM มาแล้ว 2 ปี
  • อบต.ท่าข้าม จังหวัดสงขลา ทำการจัดการความรู้ในเรื่อง การพัฒนาการเรียนรู้ของคนมีความ สำคัญกว่าโครงสร้างพื้นฐาน ดึงให้ชาวบ้านบริหารชุมชนกันเอง
  • สถาบันธัญญรักษ์ นำ KM ไปใช้กับผู้ป่วยติดยาเสพติด ให้ผู้ป่วยแลกเปลี่ยนกันเรื่องเทคนิคใน การเลิกยาเสพติด
  • บ้านกาญจนาภิเษก จุดเด่นคือให้เด็กที่ถูกกักขัง รู้จักการบันทึกเรื่องราวประจำวัน ทำให้ครูใน บ้านได้รับรู้ปัญหา เกิดการสื่อสารซึ่งกันและกันได้ดีขึ้น
  • โรงเรียนเพลินพัฒนา ประยุกต์ใช้เครื่องมือ KM ผสมผสานกับเครื่องมือเรียนรู้อื่นๆ ใน โรงเรียนได้อย่างกลมกลืนและมีพลัง มีการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และการทำงานร่วมกัน ที่ เป็นอิสระและเพิ่มความเป็นเจ้าของในกลุ่มครูแต่ละช่วงชั้น อีกทั้งยังมีการทำคลังความรู้ อย่างเป็น ระบบ บุคลากรสามารถเข้าถึงและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันได้ง่าย ส่งผลให้ครูและบุคลากรมีความ สุขกับการใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างมาก ซึ่งล้วนส่งผลถึงเด็กได้โดยตรง
ที่มา : http://www.kmi.or.th/kmi-history.html
หมายเลขบันทึก: 462859เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2011 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 21:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท