พัฒนา System manager โรคเรื้อรัง (๔)


วิธีการค้นหา best practice มักเป็นการตั้งรับ ทำอย่างไรจะตามรอยสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นให้ครอบคลุมกว้างขวางและในเชิงรุก คล้ายๆ การ surveillance และ monitor

ตอนที่

วันนี้เราให้ทีมแต่ละจังหวัดเอาการบ้านที่มอบหมายเมื่อวานมาทำงาน เริ่มต้นด้วยการให้สรุปก่อนว่าในจังหวัดของตนเองมีเรื่องดีๆ (การจัดการโรคเรื้อรัง) อะไร อยู่ที่ไหนบ้าง ปัจจัยและเงื่อนไขอะไรที่ทำให้เรื่องดีๆ แต่ละเรื่องเกิดขึ้นได้ เขียนลงใน Flip chart แบบฟรีสไตล์ของใครของมัน เสร็จแล้วเอามาแบ่งปันให้ได้เห็นกันทั่วหน้า

 

สิ่งดีๆ ที่จังหวัดของเรามี

หลังพักรับประทานอาหารว่าง เราแบ่งกลุ่มผู้เข้าประชุมเป็น ๓ กลุ่มย่อย (แบ่งตามจังหวัด) คละจังหวัดใหม่ไม่เหมือนเมื่อวาน เพื่อให้ได้เรียนรู้จากกันหลายจังหวัดมากขึ้น

ในวงของแต่ละกลุ่ม ทีมแต่ละจังหวัดผลัดกันเล่าและจดบันทึก (ลงในบัตรคำ) ตามคำถาม ๓ ข้อคือ (๑) มีวิธีการอย่างไรที่จะค้นหาว่าในพื้นที่มี best practice อะไร อยู่ที่ไหน อย่างไร (๒) ปัจจัยหรือเงื่อนไขใดที่ทำให้เรื่องนั้นๆ เกิดความสำเร็จ ใช้วิธีการหรือมีวิธีการรู้ได้อย่างไร (๓) จะเอาบทเรียนที่สรุปได้นี้ไปหมุนต่ออย่างไร

ในคำถามข้อ ๒ กลุ่มของดิฉันและมด ใช้เวลาค้นหาปัจจัยและเงื่อนไขเสียมากกว่า ในขณะที่กลุ่มของหมอฝนค้นไปจนถึงวิธีการที่จะรู้ถึงปัจจัยเหล่านั้น ซึ่งจำเป็นต้องยกเอาเรื่องเล่าความสำเร็จเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมา

พอทุกจังหวัดได้เล่าเรื่องของตนครบหมดแล้ว เราเอาบัตรคำที่เป็นคำตอบของคำถามแต่ละข้อติดใน Flip chart เดียวกัน ในภาคบ่ายเราให้แต่ละกลุ่มเลือกเอาไปวิเคราะห์กลุ่มละ ๑ ข้อ พร้อมนำเสนอในที่ประชุม

 

๒ กลุ่ม ๒ สไตล์

กลุ่มนี้มีบัตรคำจำนวนมาก ช่วยกันดู และ ๒ หมอช่วยกันเขียน

เป็นที่น่าสังเกตว่าวิธีการค้นหา best practice ของทุกจังหวัดจะคล้ายๆ กัน วิธีการที่ใช้มากที่สุดคือการจัดเวทีการประชุม รองลงไปคือรู้จากการนิเทศ การรายงานในที่ประชุม...บางคนก็สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต

ปัจจัยหรือเงื่อนไขที่ทำให้เกิด best practice คงเป็นสิ่งที่เราคิดว่าน่าจะใช่ มีมากมาย ที่ระบุถึงมากที่สุดคือการมีภาคี การใช้นโยบาย การทำเรื่องที่สอดคล้องกับวิถีชุมชนและตรงกับความต้องการของเขา ฯลฯ ส่วน how to ในการค้นหาปัจจัยหรือเงื่อนไขดังกล่าว ได้จากการวิเคราะห์ตนเอง มีคนอื่นช่วยวิเคราะห์/ประเมิน เช่น NCD Board ผู้ทรงคุณวุฒิ รู้จากเวที KM เป็นต้น

การจะเอาเรื่องดีๆ ไปหมุนหรือเคลื่อนต่ออย่างไรนั้น มีหลายจังหวัดจะจัดตั้งให้หน่วยงานหรือพื้นที่ที่มีเรื่องราวดีๆ เป็นศูนย์เรียนรู้หรือแหล่งเรียนรู้ของจังหวัด ขยายบริการนั้นๆ ไปสู่ รพสต. พัฒนาศักยภาพของ รพสต. จัดเวทีให้เกิดการ ลปรร. ผลักดันสู่นโยบาย ปรับแผนการทำงาน เป็นต้น คล้ายๆ จะตกร่องเดิมหรือเปล่าเนี่ย

ผู้เข้าประชุมได้ทั้งคำถามและข้อเสนอแนะจากทีมวิทยากร อาทิ พญ.สุพัตรา ศรีวณิชชากร นพ.สมเกียรติ โพธิสัตย์ นพ.ภูวนนท์ เอี่ยมจันทร์ ฯลฯ เช่น

  • วิธีการค้นหา best practice มักเป็นการตั้งรับ ทำอย่างไรจะตามรอยสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นให้ครอบคลุมกว้างขวางและในเชิงรุก คล้ายๆ การ surveillance และ monitor
  • คิดอย่างไรกับการมี best practice และการสร้างเวที ลปรร....best practice เป็นเรื่อง comprehensive หลายเรื่องเราทำไม่เป็น... การเคลื่อนเรื่อง best practice เวลามาคุยกัน ได้กำลังใจ ได้อารมณ์ร่วม ได้ tactic ได้ network
  • การจะใช้ best practice เข้ามา ใช้ได้ในกรณีใด ต้องมีอย่างอื่นด้วยหรือไม่ ส่วนใหญ่เราจะจัดเวทีประชุมวิชาการ มีคนนำเสนอ มีคนฟัง แต่ได้เรียนรู้หรือเปล่า... ขึ้นอยู่กับคุณภาพของกระบวนการ... บางทีได้ของแถม ได้อย่างอื่นด้วย
  • ต้องมีเป้าในการขับเคลื่อนอย่างชัดเจน ต้องถอดบทเรียนให้ลึก เพื่อเอาไปเคลื่อนงานต่อ เป็นต้น

กิจกรรมต่อจากนั้นจะเป็นการให้ความรู้และทำงานกลุ่มในเรื่อง Strategic planning (พญ.สุพัตรา วณิชชากร) การใช้ข้อมูลเพื่อการกำหนดนโยบาย (ดร.ศุภวรรณ มโนสุนทร) และทีมวิทยากร ตอนค่ำมีรายการบรรยายเรื่องโครงการวิจัยประเมินผลการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ ๒และความดันโลหิตสูงฯ ของเครือข่ายวิจัยคลินิกสหสถาบัน

หลังเวลา ๑๕.๓๐ น. ดิฉันต้องกลับก่อนเพราะต้องเดินทางกลับนครศรีธรรมราชตอนเช้าตรู่พรุ่งนี้ เสียดายที่ไม่ได้อยู่เรียนรู้ในเรื่องที่น่าสนใจต่อ เรื่องราวหลังจากนี้ต้องรออ่านบันทึกของ ภญ.ปราณี ลัคนาจันทโชติ (มด)

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 462572เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2011 12:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 10:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ตามไปอ่านต่อครับ เนื่องจากไม่ได้อยู่วันสุดท้าย กลับไปจังหวัด ช่วยพี่เขาเดินเรื่องเข็มมุ่งจังหวัด เขาเอา NCD เริ่มเรื่องเหมือนกันครับ แต่ยังไม่รู้จะหมู่หรือจ่าครับ ขยับภาพจังหวัด ที่มากฝ่าย มากคน

ขอเอาใจช่วยคุณหมอตี๋และหมอเบริด์ ให้นำพางาน NCD ของจังหวัดสระบุรีก้าวไปข้างหน้าได้ตามเป้าหมายค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท