หลักในการรับ-ส่งเวร สำหรับนักศึกษาพยาบาล


หลักในการรับ-ส่งเวร สำหรับนักศึกษาพยาบาล
หลักการรับ - ส่งเวรของนักศึกษาพยาบาลใช้ ดี เพ่ (D-PE) ง่ายๆสไตล์อาจารย์ภาณุ
ผมพบว่าในวิชาปฎิบัติการบริหารการพยาบาล นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่มั่นใจในการเป็น Incharge โดยเฉพาะเรื่องการส่งเวร
ผมจึงเขียนหลักการให้นำไปใช้ ๓ หัวข้อสำคัญที่จำเป็นในการส่งเวรให้ได้ภายใน ๑ - ๒ นาที ต่อผู้ป่วย ๑ ราย ต้องส่งเรื่องราว
ให้ครบ ดังนี้ครับ
ดี เพ่ (D-PE)  ๓ หัวข้อสำคัญ
๑. Data การบอกเล่าข้อมูลให้ผู้รับเวรเห็นภาพตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการ การเข้ามาในโรงพยาบาล จนถึงปัจจุบัน เช่น
     - นักศึกษาต้องบอก ซื่อ - สกุลผู้ป่วย เบอร์เตียง Diagnosis
     - อาการสำคัญ ประวัติปัจจุบัน ความเจ็บป่วยในอดีต ประวัติการแพ้ และอื่นๆ
     - ผลการตรวจทางห้องปฎิบัติการที่ผิดปกติ การเอ็กซเรย์ และอื่นๆ
     - การรักษาที่ได้รับตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน
๒. Problem Solving บอกเล่าถึงปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาให้กับผู้ป่วยของบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
     - แพทย์ เล่าให้ผู้รับเวรได้ทราบว่าปัญหา คืออะไร เช่น เสียเลือดมาก แพทย์แก้ไขด้วยการเย็บมัดเส้นเลือด เป็นต้น
    - พยาบาล พบว่าผู้ป่วยไม่สุขสบายเนื่องจากมีไข้จึงเช็ดตัวลดไข้ให้
    - กายภาพบำบัด พบว่าผู้ป่วยมีอาการปวดขณะทำกายภาพให้จึงให้พัก และประคบเย็น เป็นต้น
๓. Evaluation เป็นการประเมินว่าเมื่อแก้ปัญหาในแต่ละเรื่องแล้ว ผลลัพธ์เป็อย่างไร ควรสรุปให้ได้ ใน ๓ ทาง ต่อไปนี้
    - ดีขึ้น
    - เท่าเดิม
   - แย่ลง
และต้องระบุหลักฐานเชิงประจักษ์ประกอบไปด้วย เพียงเท่านี้ นักศึกษาพยาบาลก็จะสามารถทำหน้าที่ในการส่งเวร
ได้อย่างครบถ้วน และมั่นใจมากยิ่งขี้น 
ภาณุ
หมายเลขบันทึก: 462569เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2011 12:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 00:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบพระคุณอาจารย์มากครับ ขณะนี้กำลังฝึกวิชาบริหารครับ ดีเพ่ดีมากเลยครับ

ปล อธิวัฒน์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท