มารู้จักข้าวมอลต์กันเถอะ


มุมหนึ่งของตลาดนัดวิชาที่แสดงนิทรรศการทางวิชาการที่มีประโยชน์ก็คือ การผลิตข้าวมอลต์หุงรับประทาน

ในเวทีวิชาการส่งเสริมการเกษตร ประจำ๒๕๕๔ ซึ่งได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๔ ณ.ห้องประชุมกรมส่งเสริมการเกษตร(ชั้น๕)  กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีมุมหนึ่งของตลาดนัดวิชาที่แสดงนิทรรศการทางวิชาการที่มีประโยชน์ก็คือ การผลิตข้าวมอลต์หุงรับประทาน 

   

 

      ลองมาทำความรู้จักข้าวมอลต์กันก่อนนะครับ ข้าวมอลต์เป็นผลิตภัณฑ์ข้าวงอกกล้องนึ่ง ที่มีวิตามินบีสูง เมื่อเทียบกับข้าวกล้องงอกทั่วไป จะมีวิตามินบีสูงกว่าถึง ๒0 เท่า และเมื่อนำมาเทียบกับข้าวเคลือบวิตามิน จะมีวิตามินบีสูงกว่า ๒๖ เท่า ข้าวมอลต์ได้มาจากกระบวนการมอลต์ติ้ง โดยเฉพาะข้าวกล้องงอกมาก่อน ซึ่งเป็นระยะที่ข้าวมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีกายภาพในเมล็ดข้าว ทำให้มีปริมาณของสารอาหารรวมทั้งวิตามินและแร่ธาตุในเมล็ดข้าวเพิ่มขึ้น

 

     ประโยชน์ของข้าวมอลต์ เมื่อนำไปหุงรับประทาน ช่วยในด้านการปรับสมดุลของระบบประสาทและระบบความจำของสอง ลดอาการหงุดหงิด อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ลดอาการปวดท้องระหว่างมีประจำเดือน 

 

คุณลักษณะเด่นของข้าวมอลต์หุงรับประทาน มีดังนี้ 

(๑) เมล็ดข้าวจะมีสีและกลิ่นที่หอมเป็นพิเศษ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาเมลลาร์ดของน้ำตาลและปฏิกิริยาคาราเมไรซ์ชั่น ในระหว่างการแปรรูปเป็นข้าวมอลต์ที่มีการให้ความร้อน 

(๒) เมล็ดข้าวมีรสหวานเพิ่มขึ้นจากการสลายของแป้งและน้ำตาลโมเลกุลเล็กระหว่างการงอก ช่วยให้เด็กรับประทานข้าวได้มากขึ้น 

(๓) โครงสร้างของแป้งและโปรตีนในข้าว อยู่ในสภาวะที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ ประโยชน์ได้ทันที ลดการย่อยอาหารลง เหมาะสำหรับเด็กเล็ก คนชรา นักกีฬาและผู้ป่วยในระยะพักฟื้น 

(๔) เมล็ดข้าวมีคุณค่าสารอาหาร ที่เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น พบการเพิ่มขึ้นของวิตามินบี ซึ่งยังคงเหลือในผลิตภัณฑ์สุดท้าย แม้จะผ่านการหุงต้มก่อนการบริโรค จึงสามารถชาวข้าวได้โดยไม่ต้องกลัวการสูญหายของวิตามิน

 

 

 

 

      กระบวนการผลิตข้าวมอลต์สำหรับหุงรับประทาน ที่มีการนำเสนอในเวทีวิชาการส่งเสริมการเกษตรครั้งนี้ โดยการนำเสนอของผู้แทนสำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี มีดังนี้

      ขั้นที่๑ นำเมล็ดข้ามปทุมธานี๑ มาทำความสะอาดในบ่อพัก โดยทำการแช่น้ำไว้ประมาณ ๓ คืน ขณะที่แช่อยู่นั้นให้หมั่นช้อนข้าวที่ลอยน้ำออกและใช้เครื่องเติมอากาศในน้ำเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ ซึ่งจะช่วยให้ข้าวงอกไวและมีคุณภาพดี ควรจะถ่ายน้ำออกทุก ๑๒ ชั่วโมง

 

        ขั้นที่๒ เมื่อครบกำหนดให้ระบายน้ำออกจากบ่อพัก และทำการบ่มข้าวที่อยู่ในบ่อพัก เพื่อให้ข้าวงอก โดยจะทำเหมือนการบ่มข้าวให้งอกก่อนจะนำไปหว่านนั่นเอง  ซึ่งระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ ๓ คืน

 

          ขั้นที่๓ เมื่อข้าวงอกแล้ว ให้นำออกจากบ่อพัก และนำเข้าเครื่องคั่วเพื่อให้ข้าวแห้ง ซึ่งขั้นตอนนี้ต้องดูแลโดยควบคุมอุณหภูมิอยู่ตลอดเวลา ขณะคั่วข้าวจะมีกลิ่นหอมเหมือนน้ำตาล ซึ่งจะใช้เวลาคั่วประมาณ ๗ ชั่วโมง

 

          ขั้นที่๔ เมื่อคั่วแล้วจึงนำมาสี จะได้เมล็ดข้าวที่มีสีน้ำตาล โดยนำเมล็ดข้าวที่ได้มาทำการแยกเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์ออก แล้วนำมาบรรจุใส่ถุงพร้อมจำหน่ายต่อไป

 

          การผลิตข้าวมอลต์สำหรับหุงรับประทาน ดังกล่าวมาข้างต้นเป็นการส่งเสริมการแปรรูปข้าว โดยการเพิ่มมูลค่าข้าวปทุมธานี๑ ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งของการทำงานระหว่างนักวิชาการกับเกษตรกร ที่ได้เรียนรู้และปฏิบัติจริง ที่มีการปรับปรุงและพัฒนามาเป็นลำดับจนประสบผลสำเร็จของกลุ่มเกษตรกรเฉลิมพระเกียรติ บ้านทางยาว หมู่๘ ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

           สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี โทร.0-๒๕๘๑-๗๙๖๗และสำนักงานเกษตรอำเภอสามโคก โทร.0-๒๕๙๓-๑๓๗๔ ครับ…….

เขียวมรกต

๒๔ กย.๕๔

      

หมายเลขบันทึก: 462386เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2011 12:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ มาให้กำลังใจ

ทีแรกนึกว่าเป็นมอลต์ที่ใส่ผสมในนมรสมอลต์

ขอบคุณค่ะที่ทำให้รู้จักข้าวมอลต์

แต่หาซื้อลำบากนะคะ

  • ขอบคุณพี่nana
  • ที่แวะมาเยี่ยมเยียนกัน
  • รู้สึกหายไปนาน สบายดีนะครับ
  • ขอบคุณครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท