ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง


ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากร (Population) ในความหมายที่นำมาใช้ในการวิจัย หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของหรือเหตุการณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาและมีคุณลักษณะตรงตามขอบข่ายที่ผู้วิจัยกำหนดในงานวิจัย การสุ่มตัวอย่างจากประชากร (Random Selection) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดีของประชากร เพื่อให้ผลการวิจัยมีความตรงภายนอก สามารถสรุปอ้างอิงไปยังประชากรของงานวิจัย กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง (Samples) หมายถึง ส่วนหนึ่งของประชากรที่ผู้วิจัยเลือกหรือสุ่มมาเป็นตัวแทนสำหรับศึกษา เพื่ออธิบายคุณลักษณะของประชากรเป้าหมายหรือประชากรของงานวิจัย สมมติฐานได้ดีที่สุด สมมติฐานในการวิจัย แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. สมมติฐานการวิจัย (Research Hypothesis) เป็นสมมติฐานที่เขียนคาดเดา คำตอบของการวิจัยในรูปของการบรรยาย หรือเปรียบเทียบความแตกต่าง หรืออธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษาสมมติฐานประเภทนี้ใช้ในการเขียนรายงานวิจัย ตัวอย่างสมมติฐาน การวิจัย เช่น ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นโรคมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ (เขียนสมมติฐานในเชิงเปรียบเทียบความแตกต่าง ) การสูบบุหรี่ มีความสัมพันธ์ทางบวก กับ การเป็นมะเร็งในปอด (เขียนสมมติฐานในเชิงความสัมพันธ์ ) 2 สมมติฐานเชิงสถิติ (Statistical Hypothesis) เป็นสมมติฐานที่นำสมมติฐานการวิจัยมาเขียนเพื่อใช้ในการทดสอบทางสถิติ โดยเขียนในรูปของสัญลักษณ์ที่ใช้แทนค่าพารามิเตอร์(parameter) หรือค่าที่ได้จากประชากรทั้งหมดที่สนใจศึกษา การเขียนสมมติฐานเชิงสถิติ จะเขียนในรูปของสมการทางคณิตศาสตร์ การเขียนสมมติฐานเชิงสถิติจะเขียนในรูปสมมติฐานศูนย์ซึ่งโดยทั่วๆ ไป ใช้สัญลักษณ์แทนด้วย และสมมติ ฐานเลือกซึ่งใช้แทนด้วย หรือ

หมายเลขบันทึก: 462380เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2011 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท