ครูส.บ้านนอก
รองผู้อำนวยการโรงเรียน ชำนาญการพิเศษ สุพินธ์ ม้อน ฟุ่มเฟือย

กิจกรรมพอเพียงสู่ชุมชนโดยโครงงานอาชีพ


กิจกรรมแนะแนวโครงงานอาชีพระดับม้ธยมศึกษาตอนต้น นำสู่ชุมชนพอเพียงบ้านอัมพวัน ตำบลเตาปูน อำเภอสอง จังหวัดแพร่

 กิจกรรมพอเพียงสู่ชุมชนโดยโครงงานอาชีพ

 ความเป็นมา 

กิจกรรมพอเพียงสู่ชุมชนโดยโครงงานอาชีพเป็นกิจกรรมที่ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากสถานศึกษาสู่ชุมชน  โดยได้จัดกิจกรรมกลุ่มสนใจสมุนไพร  และนำสมาชิกในกลุ่มได้จัดทำโครงงานน้ำยาล้างอเนกประสงค์จากมะกรูด (โดยได้รับงบประมาณภายนอก  ของชุมชนบ้านอัมพวันจำนวน  50,000  บาท)  นำผลผลิตออกจำหน่ายให้เด็กได้มีรายได้ระหว่างเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และเป็นโครงงานที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของสถานศึกษา  ได้นำไปขยายผลสู่ผู้ปกครองนักเรียนเครือข่าย (ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน)  ในปีการศึกษา  2552  และทำต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ได้นำไปนำเสนอและจัดนิทรรศการหลายแห่ง ทั้งในสถานศึกษา  องค์การบริหารส่วนตำบล,สำนักงานจัดหางานจังหวัดแพร่  จากนั้นได้คิดเพิ่มเติมต่อยอดเป็นโครงงานอื่น ๆ  อีกมากมาย  เช่นจัดทำโครงงานเจลล้างมือสมุนไพร  โครงงานแปรรูปหม่อน  โครงงานน้ำส้มสายชูพร้อมดื่ม(ไวน์เปรี้ยว)  ทำยาไล่ยุงตะไคร้หอม โครงงานทำขนมไทยสมุนไพร  โครงงานการจักสานไม้ไผ่เป็นของใช้  การถักใบเตยตั้งโต๊ะ  ส่งเสริมการปลูกผัก การทำน้ำหมักชีวภาพจากขยะผลไม้และการแยกขยะเพื่อเป็นรายได้ของเด็ก ซึ่งมีพื้นฐานประยุกต์การใช้จุลินทรีย์ E M และให้คนในชุมชนรู้จักการประหยัดและรักษาสิ่งแวดล้อม

ความมุ่งหมาย

1.  การประชาสัมพันธ์ข่าวสารความเคลื่อนไหวทางโรงเรียนให้ชุมชนได้รับทราบ

2.  การบริหารงบประมาณ , ทรัพยากรในชุมชนและใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

3.  การติดตามพฤติกรรมนักเรียนโดยทุกคนมีส่วนร่วม ไม่ออกกลางคัน

4.  ในชุมชนรู้จักพอเพียงในชีวิตประจำวัน

ขอบข่าย

 1.  นักเรียนที่จัดทำโครงงานอาชีพอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นสมาชิกกลุ่มสนใจสมุนไพร  จำนวน  17  คน(เป็นนักเรียนที่มีฐานะทางครอบครัวยากจน  มีความขยัน  ตั้งใจทำงาน  ไม่ยุ่งเกี่ยวสารเสพติด  มีจิตอาสาสละเวลาหลังเลิกเรียนและในวันหยุด)

 2.  เป็นลักษณะโครงงานอาชีพ  สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  ลดรายจ่าย
เพิ่มรายได้  โดยมีพื้นฐานประยุกต์การใช้จุลลินทรีย์ E M,สมุนไพรบางชนิด และให้คนในชุมชนรู้จักการประหยัดและรักษาสิ่งแวดล้อม โครงงานที่ประสบผลสำเร็จสู่ชุมชนคือน้ำยาล้างอเนกประสงค์มะกรูดและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากหม่อน

 3.  ผลผลิตจากโครงงานอาชีพสามารถเป็นสินค้าจำหน่ายในชุมชนหรือร้านค้าสหกรณ์โรงเรียน ได้อย่างต่อเนื่อง

 4.  กิจกรรมโครงงานของนักเรียนขยายผลไปสู่ผู้ปกครองนักเรียน ,ชุมชนบ้านอัมพวัน , องค์การบริหารส่วนตำบลเตาปูน ,นำไปจัดนิทรรศการให้สาธารณชนได้รับรู้และทุกคนที่ได้เรียนรู้กิจกรรมนำไปทำเองที่บ้านได้

วิธีดำเนินการ 

 1.  ศึกษาหลักสูตร  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน  หลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้  ซึ่งการพัฒนานักเรียนให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดนั้น  จะช่วยให้นักเรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ  5  ประการ คือ 1.  สมรรถนะในการสื่อสาร  2.  สมรรถนะในการคิด  3.  สมรรถนะในการแก้ปัญหา  4. สมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต  5.  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี  โครงงานอาชีพจึงได้สอดแทรกในกิจกรรมแนะแนว  เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต  ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

     สมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต  เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน  การเรียนรู้ด้วยตนเอง  การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  การทำงานและการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล  การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม  การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงและสภาพแวดล้อมและการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น 

     มาตรฐานการแนะแนว  ด้านคุณภาพผู้เรียน  มาตรฐานที่  2  ผู้เรียนสามารถวางแผนชีวิตในด้านการศึกษา  ด้านอาชีพ  ด้านส่วนตัวและสังคม  มาตรฐานที่  4  สถานศึกษามีการบริหารและการจัดการงานแนะแนวอย่างเป็นระบบ 

 2.  แสวงหาครูภูมิปัญญาท้องถิ่น  ได้มามีส่วนร่วมจัดกิจกรรมในโรงเรียน  (จัดกิจกรรมแบบฐานเรียนรู้  ทั้งนี้ได้มีบทบาทในหลักสูตรสถานศึกษา  สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น)และการต่อยอดพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้  โดยไปแหล่งเรียนรู้หรือหาความรู้เพิ่มเติมจากผู้ที่สามารถผลิต  ผู้เชี่ยวชาญ  ชำนาญด้านกิจกรรมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์   ประยุกต์ใช้วัตถุในท้องถิ่น ฯลฯ

 3.  ได้นำกิจกรรมแปรรูปสมุนไพรมาปฏิบัติในห้องเรียน  ในกิจกรรมแนะแนวจัดเป็นการสอนแบบโครงงานต่าง ๆ  และผลิตภัณฑ์ให้นักเรียนได้ไปทดลองใช้ , ผู้ปกครองได้ร่วมใช้  เมื่อทุกคนที่ใช้ตอบรับว่าพึงพอใจในผลงาน  จึงจัดทำขยายผลปริมาณมากขึ้น  มีนักเรียนสนใจทำหลายคน  ฝึกคิดค้นเพิ่มเติมสร้างสรรค์  นำเสนอในแบบเอกสารและจัดเป็นนิทรรศการโครงงานอาชีพ

 4.  โครงงานอาชีพมีองค์กรในชุมชน  หน่วยงานทางราชการจากอำเภอ  ให้ไปจัดนิทรรศการเช่น การประเมินกำนันตำบลเตาปูนดีเด่น,เทศบาลตำบลห้วยหม้าย,โรงเรียนไทยรัฐวิทยา  31,การประเมินครูสอนดีประจำตำบลเตาปูน,การประกวดโครงงานอาชีพในจัดหางานจังหวัดแพร่,โรงเรียนแกนนำเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา  ของสพป.แพร่ เขต 1 และได้รับการตรวจเยี่ยมจากคณะปลัดจังหวัดแพร่ ปลัดอำเภอสอง,ศึกษานิเทศน์ ของสพป.แพร่ เขต 1

 5.  การได้สร้างความเป็นผู้นำให้นักเรียน  มีความรู้ความสามารถที่จะถ่ายทอดให้ผู้อื่นรับรู้ในกิจกรรมที่ดำเนินงานและนำไปสู่ชุมชนพอเพียง  และนักเรียนมีจิตอาสา ในปีการศึกษา  2553 ครูและนักเรียนได้เป็นวิทยากรด้านโครงงานอาชีพและการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปขยายผลในชุมชน ให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของสพป.แพร่ เขต 1 ,โรงเรียนบ้านดอนแก้ว  ตำบลห้วยหม้าย,โรงเรียนบ้านท่าวะ  ตำบลสะเอียบ และองค์การบริหารส่วนตำบลเตาปูน

 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 

 1.  ครู  ที่ทุ่มเท  เสียสละเวลาการทำงานให้แก่เด็กเพราะการสอนกิจกรรมโครงงานต้องใช้เวลาจึงจะเห็นผลและมีความเป็นไปได้  สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้หรือจัดทำเป็นรายได้เสริมและตัวครูต้องเป็นที่รู้จัก ยอมรับของคนในชุมชน ซึ่งต้องไปเป็นวิทยากรขยายผลให้คนในชุมชนได้ 

 2.  นักเรียนมีจิตอาสา  ต้องมีความขยัน  ติดตาม เอาใจใส่ผลงาน และสละเวลาในช่วงวันหยุดได้

 3.  โครงงานอาชีพขยายผลเข้าสู่ชุมชน  มีจุดเน้นที่การประหยัด  ใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นและมีตามฤดูกาล ซึ่งจะลดรายจ่ายของครอบครัวลงได้  เมื่อได้เรียนรู้สามารถที่จะทำเองได้

 4.  งบประมาณที่สนับสนุน  สามารถนำไปลงทุนเป็นสินค้าที่จำหน่ายได้และมีทุนหมุนเวียน  รายได้ส่วนหนึ่งแบ่งปันให้สมาชิกในกลุ่ม

 5.  ตลาดนัดวิชา  เพื่อเผยแพร่ผลงาน  สินค้าในโครงการเพื่อการจำหน่ายสู่ตลาดที่กว้างขึ้นหรือเป็นที่ต่อสาธารณชน

ผลการดำเนินงาน  ความสำเร็จและความภาคภูมิใจ

 1.  การประชาสัมพันธ์ของทางโรงเรียน โครงงานอาชีพกิจกรรมเป็นที่รู้จัก

 2.  การบริหารงบประมาณไม่สูญเปล่า  ลงไปสู่นักเรียน/คนในชุมชนมีส่วนร่วม

 3.  ชุมชนบ้านอัมพวัน  มีการลดรายจ่ายในครอบครัว รู้จักรักษาสุขภาพของตน 
รักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นชุมชนพอเพียงใน อำเภอสองที่ได้รับการคัดเลือกชุมชนดีเด่น

4.  การสร้างความเป็นผู้นำให้กับนักเรียน  สามารถเป็นวิทยากรให้กับชุมชนได้

5.  การได้รับรางวัล ระดับสพฐ. การจักสานไม้ไผ่เป็นของใช้  ปีการศึกษา 2552

ระดับสพป. แพร่  เขต 1 ,ระดับภาคเหนือ(มีโครงงานหลากหลายกิจกรรม)/การชื่นชมผลงานของนักเรียน

 

                            

 

 

 

 

                                                   

                                                               

 

 

 

                               

                                                                 

 

 

 

                                               

                                         

 

           

คำสำคัญ (Tags): #สพป.แพร่ เขต 1
หมายเลขบันทึก: 461927เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2011 17:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 02:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท