วิจารณญาณการใช้ยา แบบ "คนปลูกต้นไม้"


ลองหลับตานึกภาพ เวลาท่านจะซื้อต้นไม้ ที่ไม่เคยปลูกมาก่อน 
ยกตัวอย่าง ต้นพีช  ไปเที่ยวดอยอ่างขางมา เห็นเขาปลูกออกผลงามดี 

จึงอยากปลูกบ้าง
ในใจท่านคิดอะไรบ้างคะ..
เป็นคำถามในใจแบบนี้ไหมคะ
ต้นไม้นี้ ใบมีพิษหรือเปล่า..เหมือนดอกลำโพง  ลูกหลานซนๆ กินเข้าไป มีหวังต้องพาไปล้างท้อง 
เราชอบกินผลมันจริงๆ  หรือเอาไว้อวดเพื่อนบ้าน 
ดิน อากาศ พื้นที่ซื้งปลูกงอกงาม ต่างจากบ้านเราตรงไหน
"อะไร" เป็นปัจจัยสำคัญให้มันออกผล
-------------------
สมัยข้าพเจ้าเป็น นศพ. เคยเรียนวิชา Evidence based medicine ว่าด้วย 
การอ่านวิจัยทางการแพทย์ เพื่อเลือกให้ยา การรักษา อย่างมีวิจารณญาณ  
มีระเบียบ ขั้นตอน เป็นเช็คลิสต์  10 ขั้น ให้ง่ายแก่การปฎิบัติตาม
แม้ข้อดีมากมาย.. ข้าพเจ้าก็ไม่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
...
มีคนกล่าวไว้ว่า  "ถ้าให้คนจำเกิน 3 ข้อ มีค่าเท่ากับ 0" 
ถาม  3 ข้อ ตอบกลับฉับพลัน
ถาม 10 ข้อ  มีโอกาสหายจ้อย..
...
ข้าพเจ้าจึง ทำเช็คลิสต์ประจำตัว ในการอ่านข้อมูลเพื่อตัดสินใจดังนี้
_ 0. อ่านข้อมูลที่แย้งกับความเชื่อข้าพเจ้าด้วย
_1.  ผลที่กล่าวถึง คือสิ่งที่เราต้องการจริงๆ 
_2. บอกบริบทชัดเจน
_3. อะไรคือ  "เหตุปัจจัย" ที่ทำให้ผลเกิดบนต้นบริบทนั้น
 
ทั้งหมด 3 ข้อ ;-)
ใช้ในการตัดสินใจ หาข้อมูลยา ผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมไปถึง เวลาดูตัวอย่าง แบบอย่างของสถานบริการสุขภาพ
###
ข้าพเจ้าสังเกตตัวเอง ก่อนจะลงมือหาข้อมูลเกี่ยวกับยา หรือผลิตภัณฑ์ใดๆ ใจไม่ได้ตั้งอยู่ที่ "0"
เบี่ยงไป ลบ - อคติ  บ้าง บวก - ฉันทาคติ บ้าง 
ดังนั้น การอ่านสิ่งที่คัดคานกับความเอียงของเรา จึงเป็นการปรับให้มาอยู่ใกล้เคียง 0 
.
บางครั้ง ในงานวิจัยชั้นยอดจากห้องทดลอง ผลที่นำเสนอ คือ "ผลที่วัดได้ด้วยตา" (objective) 
เช่น ยาชนิดหนึ่ง สรุปว่า ในคนที่ใช้ยานี้ พบว่าเนื้อเยี่อสมองหนาขึ้น..
ดังนั้น ยาอาจมีผลเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสมอง..
ยังไม่สามารถแปล (อย่างที่เราอยากให้เป็น) ว่า ยานี้ลดความจำเสื่อม
ต้องมีหลักฐานชัดเจนว่า บริเวณที่หนาขึ้นสัมพันธ์กับความจำ เป็นข้อต่ออีกชิ้นหนึ่ง
.
"ผลเกิดบนต้นบริบท"  ไม่เห็นบริบท ผลลอยๆ บอกอะไรไม่ได้
 บริบท หมายถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ที่มีต่อ "ผล"
ไม่ว่าจะเป็น อายุ, เพศ วัย , กรรม (พันธ์)  
ที่ลืมไม่ได้คือ ตัวคนปลูก  (คนเขียนบทความ) ก็สำคัญคะ
สิ่งเหล่านี้ ในความเห็นข้าพเจ้า มีความหมายไม่น้อยกว่า ตัวเลขสถิติ 
( หนังสือน่าสนใจวันนี้คะ...How to lie with statistics )
.
เหตุปัจจัย ในความหมายของข้าพเจ้า
คือ สิ่งที่ช่วยให้เกิด  ความเข้าใจแบบลึกๆ หรือ insight (= เห็นด้วยตาใน?)
เปรียบเหมือน "Element/ธาตุ"  ในดิน ที่ต้นไม้ชอบ
เมื่อรู้ว่า ต้นไม้ต้องการ N, P, K
แม้เราไม่มีดินจริง ก็ยังปลูกในดินวิทยาศาสตร์ได้
ดินหน้าตาเหมือนกัน แต่ลึกลงไปแร่ธาตุอาจไม่เท่ากันก็ได้
Element ยิ่งเล็ก..ยิ่งใกล้เคียงความเป็นสัจธรรม..ยิ่งยืดหยุ่น
ดี หรือ ไม่ดี บางทีไม่ใครตัดสินให้ได้ นอกจากลองด้วยตัวเอง 
.
ข้อมูลวิจัย เป็น "ผลเฉลี่ย" จากคนหลายๆ คน 
ใครจะรู้ได้ว่า ตัวเราอยู่ใน 1 หรือ 99 percentile หรือเปล่า
แต่การลอง จำเป็นต้องประกอบด้วย Insight
รู้ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นกับตัวเรา
เมื่อไหร่ควรหยุด เมื่อไหร่ควรเปลี่ยน เมื่อไหร่ควรปรึกษา..

ในโลกนี้ ไม่มีใครบอกกันได้ทุกเรื่อง..วิจารณญาณจึงเป็นเพื่อนที่ซื่อตรงที่สุด

แม้แต่บทความนี้ ก็เป็นเพียงความคิดของคนหนึ่ง มิได้แปลว่าถูกต้อง โปรดใช้วิจารณญาณ :-)  
.
ขอตบท้ายด้วย...
หมายเลขบันทึก: 461858เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2011 10:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 08:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (42)
  • วิจารณญาณสำคัญมาก
  • บางอย่างต้องทดลองเอง
  • เช่นท้องเสีย
  • ผมจะกินนมเปรี้ยวครับ
  • 555

เวลานำไปใช้ อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ "ชาวบ้านเวลากิน/ไม่กินยา ใช้/ไม่ใช้ยา เขาคิดยังไง รู้สึกยังไง?"

เพราะผมพบว่าบางทีเรากับเขามี paradigm การคิด การทำ การใช้ชีวิตต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ขอบคุณค่ะ เรื่องนี้สำคัญมากในการดำเนินชีวิต + ความฉลาด + ความเฉลียวใจ + ความชำนาญ + ฯลฯ

Hilight สีเหลืองแห่งความจดจำ ;)...
คุณหมอบางเวลา ผมมีคำถามเกี่ยวกับ "ยาแก้ปวด" ในท้องตลาด แหม คุยเรื่องยาพอดีเลย ถามว่า "ยี่ห้อเกี่ยวข้องไหม ทานแล้วไม่เป็นผลข้างเคียงต่อกระเพาะจริงไหม แล้วแบบ 4 ชั่วโมง/8 ชั่วโมง ต่างกันแค่ระยะห่างจากการทานแค่นั้นไหม"
เหตุผลคือ ผมเห็นโฆษณาในทีวีเมืองไทยเยอะ จนใช้วิจารณญาณว่า "ถามคุณหมอ" จะดีกว่า ชัดเจนมากขึ้น ;)...
คุณครูถามคุณหมอ ... คุณหมออย่าลืมตอบน๊า เค้ารออยู่ ;)...

สวัสดีครับ

...ตอนนี้ ผมอยากเก็บข้อมูลเล็ก ๆ จังครับ...เพราะเห็นครัวเรือนในหมู่บ้าน....มีจานดาวเทียม...จานที.วี. มากมาย ทำให้ชาวบ้านรับข่าวสารเรื่องการขายยา ผลิตภัณฑ์อาหารและยา และเครื่องมือแพทย์ (ที่ออกจะหายได้ทุกโรคมากมาย) ...วิทยุชุมชน บางคลื่นก็โฆษณาขายยา สมุนไพร และกาแฟ กระหน่ำ....ผมก็ภาวนาเงียบว่า...อยากให้ชาวบ้านคิดให้ดี...เพราะผมเชื่อว่า...ชุดความคิดของแต่ละคนบนโลกไม่เหมือนกัน

.........

ผมสารภาพครับ...อาจารย์หมอ

จะตั้งหน้าตาคอย...อ่านบันทึกของอาจารย์นะครับ

เพราะได้ความรู้ และสาระบันเทิงจากบันทึกของอาจารย์

เหมือนสมัย ผมอยู่ ป.4

ผมจะตั้งหน้าตั้งตา...อ่านนิยายจีน...ที่เขาเอามาลงที่หนังสือพิมพ์ทุกวัน

บางวันแม่เอาไปห่อของขาย...โกธรแม่..ไม่ยอมกินข้าวเย็น

จนโดนแม่ตี...แต่แม่ก็พาไปบ้านที่เขารับหนังสือพิมพ์

แม่ก็รออยู่นั่นแหละ...

จริง ๆ แล้ว ผมรักการอ่านเพราะแม่นะครับ

..........

ตอนแรก ๆ ที่รู้จักอาจารย์หมอผ่านบันทึก....ผมก็แอบเชียร์อยู่

ตอนนี้แฟนคลับคุณหมอ...มีมากมายกว่าผม

ผมก็ยังเชียร์ และตามอ่านตลอด

พร่ำเพ้อจัง

ขอบคุณครับ

ขอบคุณประสบการณ์ที่แบ่งปันคะ

การกินนมเปรี้ยว เป็นไปได้สูงคะ เพราะถ้าไม่ UHT

จะมีจุลินทรีย์ฝ่ายดีแลคโตบาซิลลัส
เพื่อแบคทีเรียฝ่ายอธรรม :-)

 

ขอบคุณคะ ตรึกตรองตามที่อาจารย์กล่าว หมายถึง หากจะแนะนำให้ผู้ป่วยใช้วิจารณญาณในการใช้ยา ควรทำความเข้าใจความคิดเขาก่อนหรือเปล่าคะ ?

หากอาจารย์มีเวลา อยากรบกวนขยายความอีกนิดคะ

น่าสนใจ แต่หนูยังไม่ค่อยเข้าใจ code สี :-) 

.. + ไปยาลใหญ่
 แทนความหมาย ต้องเรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตอีกเยอะคะ :-)

เรียนอาจารย์
ประเด็นยาแก้ปวดที่ขายตามร้าน เภสัชกรอาจชำนาญมากกว่าคะ แต่ขอตอบเท่าที่รู้คือ
ยาแก้ปวด ที่ไม่ใข่พาราเซต จะเป็น NSAIDs คะ กลุ่มนี้ มีทั้งแบบระคาย และ"ไม่ค่อย" มีผลต่อกระเพาะอาหาร

  •  Ibuprofen, Dosanac  ที่ผลทั้ง ระคายเคืองผนังกระเพาะโดยตรง (เลยไม่ควรกินตอนท้องว่าง) กับขัดขวางการสร้างเมือกหุ้มผนังกระเพาะอาหาร (กินยาธาตุน้ำขาวอย่างเดียวจึงไม่ช่วย แพทย์มักสั่ง ยาเม็ด ให้ด้วยคะ) จากประสบการณ์ ถ้ากินระยะสั้นๆ กินพร้อมอาหาร ในคนอายุน้อย ไม่ค่อยมีปัญหาคะ
    -> กลุ่มนี้ มักออกฤทธิ์สั้น 6-8 ชั่วโมง  
  • กลุ่มใหม่ แพงกว่า ที่ลงท้ายด้วย -Coxib  พวกนี้ ตามข้อบ่งชี้คือ หากทานยากลุ่มแรกมีปัญหาคะ  เพราะในความดีก็มีความน่ากลัวนิดๆ แฝงคือ เพิ่มโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือด โดยเฉพาะคนอายุมาก
    -> กลุ่มนี้ มักออกฤทธิ์ยาวกว่า ทานวันละ 1-2 เม็ด เท่านั้นคะ

 

ชุดความคิดของแต่ละคนบนโลกไม่เหมือนกัน

เป็นมุมมอง จากคนทำงานที่ชวนคิด
ปัจจัยในการตัดสินใจ ของชาวบ้านในพื้นที่ อาจต่างกับ มุมมองคนในเมือง
และของผู้ให้บริการสุขภาพแบบคนละขั้ว คนละภาษาเลยก็ได้
เป็นสิ่งน่าหาคำตอบคะ  
คุณหมออดิเรก คิดว่า เรื่องความผูกพัน ทางใจ ทางวัฒนธรรม มีส่วนหรือเปล่าคะ ?

ไม่พร่ำเพ้อหรอกคะ ใครอ่านก็อดปลื้มใจไม่ได้ :-)

มุทิตา เป็นคุณธรรมที่ล้ำลึก และทำให้นับถือหมออดิเรกมากขึ้นทุกวัน จากใจจริงคะ

 

ขอบคุณน้ำใจของคุณหมอบางเวลา CMUpal ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ "ยาแก้ปวด" มานะครับ ;)... เน้นคนอายุมาก ๆๆๆๆๆ ;)...

ขอบคุณคะ เลยได้เพิ่มรูปประกอบ :-) 

เพิ่งเสร็จจากการทบทวนกรณีคนไข้ที่ใช้ยาหลายตัว เตรียมไว้ให้ลุงสอนinternวันจันทร์ก็ได้เข้ามาอ่านบันทึกนี้

เกิดความคิดโผล่แว้บขึ้นมาว่า  เอ น่าจะทำแบบสอบถามง่ายๆ เรื่อง พฤติกรรมการกินยาของคนไข้ที่ OPD อายุรกรรม เอาไว้ "คุย" เวลาคนไข้เข้ามาตรวจ มันน่าจะทำให้เรารู้อะไรๆ ที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังคนที่ต้องกินยาตลอดชีวิตได้บ้าง 

วันก่อน พี่คุยๆ กับคุณหมออภิชาติที่กำลังครุ่นคิดเรื่อง empower คนไข้ พี่บอกว่าว่าพี่แอบแบ่งคนไข้ในใจไว้ ๔ ประเภทนะ แล้วพี่ก็วาดๆๆ ความคิดลงบนกระดาน  หมออภิชาติถามว่า "พี่แบ่งไปทำไม" พี่ตอบว่า  "ก็เพื่อที่เราจะได้คิดวิธี empower เขาได้ถูกไง  แต่ตอนนี้ยังคิดไม่จบนะ" หมออภิชาติว่า  "พี่รีบๆ คิดให้จบนะ"

คุณหมอมีอะไรแนะนำพี่มั๊ยคะ

จริงๆ แล้วบันทึกนี้ต้องให้เครดิต แรงบันดาลใจจากพี่ nui คะ :-)
ดีใจที่ได้คุยต่อยอดความคิดกันต่อ


ทำแบบสอบถามง่ายๆ เรื่อง พฤติกรรมการกินยาของคนไข้ที่ OPD อายุรกรรม เอาไว้ "คุย" เวลาคนไข้เข้ามาตรวจ

เป็นความคิดสร้างสรรค์ มากเลยคะ
เพราะที่ผ่านมา พวกเราพยายามให้คนไข้เข้าใจ สิ่งที่เราคิด
คราวนี้ ลองพยายามเข้าใจ สิ่งที่เขาคิดบ้าง

คนไข้ 4 ประเภท -- น่าสนใจมากคะ พี่ nui ถ้าคิดจบหรือใกล้จบแล้วลองมาแชร์ดูนะคะ
เผื่อมี brain stroming เล็กๆ :-)
ตอนนี้ขอให้กำลังใจไปก่อนนะคะ 

ตอนเป็นเด็ก แม่พาไปหาหมอ แล้วจะเป็นคนกลัวเข็มมากๆ

เวลา คุณหมอ ถามอะไร ก็จะซ่ายหน้า ปฎิเสธ อย่างเดียว

หมอถามว่า ปวดหัวไหม ก็จะซ่ายหัว พร้อมตอบว่าไม่

เจ็บคอไหม ก็ซ่ายหัว แล้วก็ตอบว่า ไม่

เมื่อยเนื้อเมื่อยตัวไหมก็ คำตอบเดิม ซ่ายหัว ไม่

เหตุผล เดียว ที่ตอบว่า "ไม่" ก็คือ ไม่อยากฉีดยา

อย่างนี้เรียกว่า อะไร ดีคะหมอ อิอิ


55 เรียกว่าทักษะการป้องกันตัว ได้ไหมคะ :-)

ผมเคยอ่านหนังสือของสตีเฟน แบทชเลอร์ เรื่องไรจำไม่ได้แล้ว แกเขียนมาสองสามเล่มเกี่ยวกับพุทธศาสนา ในช่วงพุทธประวัติ มีช่วงหนึ่งที่สานุศิษย์ก็เกลียดกลัว "มาร" มาก จนกระทั่งก็มีคนเสนอว่า เราน่าจะ categorize จัดหมวดหมู่มารดูนะ ว่ามีกี่แบบๆ เพื่อที่ว่าพอมาแบบไหนๆ เราจะได้เตรียมต่อสู้ จัดการมันให้หมดไปเลย ดีไหมๆ

ปรากฏว่าความเห็นนี้ถูกระงับไป เพราะ "มาร" นั้นมันเจ้าเล่ห์แสนกลมากนัก ถ้าเราจัดไว้ 10 แบบ และ 10 กลยุทธฺที่จะจัดการกับมาร อุ่นใจ เบาใจ ที่สุดก็ชะล่าใจ และจะพบที่หลังเสมอว่ามารจะมาในแบบที่ 11 แบบที่ 12 ที่เราไม่ได้จัดไว้ในตอนแรก

จริงอยู่ใน concept ของการจัดการ การใช้ color-code แบ่งกลุ่ม มัน speed process และเป็น quality improvement ได้ แต่ระวังการ "แบ่งกลุ่มคน" เพราะมันแบ่งไม่ได้ ที่สำคัญคือ พอแบ่งเสร็จ เราเองที่จะตกเป็นทาสของตารางการแบ่งที่เราคิด หรือพยายามจะยัดคนที่มาเข้าไปใน category ใด category หนึ่งให้ได้ จะหลวมโพรก ฟิตปั๋ง ก็ไม่สน เพราะแบบฟอร์มมันบังคับให้ยัดลงไป

เหมือนการซักประวัติ พอปวด ก็ต้องปวดจี๊ดๆ  ปวดตุ้บๆ ปวดตื้อๆ มีอยู่ไม่กี่ category ที่เราจะนำไปใช้เข้าตารางวินิจฉัยแยกโรค พอคนไข้บอกว่า "ปวดหวิวๆ" หมอก็เริ่มหงุดหงิด เพราะจัดกลุ่มไม่ได้ สุดท้ายบอกเป็น choice ว่า "แล้วไอ้ปวดหวิวๆน่ะ มันจี๊ดๆ ตุ้บๆ หรือตื้อๆ" คนไข้มองหน้าหมอแล้วอาจจะตอบว่า "มันหวิวจี๊ดๆน่ะหมอ!!"

  • เคยฟังบางคนแล้วก็ชอบ "ถ้าโกรธ หรือชอบอยู่ อย่าเพิ่งทำ โอกาสพลาดสูง" 
  • จะตัดสินใจสำคัญอะไรสักอย่าง ต้องละเอียดรอบคอบนะครับ คิดทุกแง่มุมที่เป็นไปได้ ที่เขาว่ากันมาทั้งบ้านทั้งเมือง กับเราหรือกับกาลเทศะอื่นๆ อาจไม่ได้อย่างนั้นก็ได้..
  • ขอบคุณข้อคิดดีๆครับ

 color-code แบ่งกลุ่ม มัน speed process และเป็น quality improvement ได้ แต่ระวังการ "แบ่งกลุ่มคน" เพราะมันแบ่งไม่ได้

ขอบคุณอาจารย์ที่เพิ่มความกระจ่างคะ

  • เคยเห็นการใช้สีแยกผู้ป่วยในห้องฉุกเฉินตามความรุนแรงของโรคคะ  ก็เพื่อคัดแยก ว่าแพทย์พยาบาล ควรเข้าไปดูผู้ป่วยคนไหนก่อน ในภาวะไม่ฉุกเฉิน การคัดแยกจึงไม่มีประโยชน์ข้อนี้..เห็นด้วยคะ
  • แต่อาจมีประโยชน์ ในรวบรวมความรู้ไว้เป็น "concept" ให้ง่ายแก่การจดจำ และการสื่อสารระหว่างกันในทีม ว่า ผู้ป่วยลักษณะนี้ "มีแนวโน้ม" model การคิดแบบนี้ 
    เพียงแต่พึงระลึกว่า เป็นการนำความจริงซึ่งหลากหลายมาก มาอัดใส่ตาราง จึงอาจหลวมไป ฟิตไป ต้องนำมา "นุ่งผ้า" เสียก่อน ตามคำ อาจารย์วิจารณ์ว่าคะ
  • ตัวอย่างที่อาจารย์ยกมาเห็นภาพชัดมากคะ ปวดท้องแบบไหน  -- ที่เรียนมาว่า ปวดตื้อๆ บอกตำแหน่งไม่ชัด มี "แนวโน้ม" เป็น visceral pain  แต่ภาษาที่คนไข้บอก ก็แปรไปตามบริบท เช่น ทางเหนือ บอก "บ่ฮ้าย บ่ดี" ?
  • แต่แบบ "หวิว จี๊ดๆ" นี่ ตกลงเป็นอะไรคะ คนไข้ช่างบูรณาการณ์ดีแท้ :-)

"ถ้าโกรธ หรือชอบอยู่ อย่าเพิ่งทำ โอกาสพลาดสูง"

ข้อความนี้ชัดเจนต่อการปฎิบัติดีมากเลยคะคุณครู

ตาชั่งที่ยังไม่ได้ calibrate ชั่งกี่ทีก็พลาดคะ :-)

ถ้าคนใต้ "สวน" มาแบบนี้อาจจแปลว่าชัก "หวิบ" (เคือง ฉุน ปนรำคาญ) แล้ว ตอบให้ตรงกับในตัวเลือกก็ได้ (วะ)

5555555 นานๆถึงได้ยินอาจารย์ หมอ สกล (วะ่)สักที.......

ลางเนื้อชอบลางยา คำนี้ยังใช้ได้อยู่ ครับคุณหมอ ....

CMUpal

ได้แรงอกน่ะ ท่านวอญ่า อิ อิ

ฟังสองท่านนี้ แหล่งใต้กัน 

ได้ศัพท์วันนี้

หวิบ = ฉุนอย่างแรง
ได้แรงอก (ด้าน-แรง-อ๊อก) = โดนใจ ใช่เลย
 google เจอผิดถูกอย่างไร ชี้แนะด้วยนะคะ

หวังว่า อ.สกล คงไม่ หวิบ หนูนะคะ :-)

ลุ่มลึกเสมอ ซูฮกค่ะ .. หลังจากเคยเป็นตัวแทนขายยา ก็แทบไม่อยากจะแตะยาเลยค่ะ :)

เคยดู พอสว. ผ่านทีวี เสมอ ไว้จะรอ อยากอ่านบันทึกผ่านมุมมอง ของคุณหมอ ช่วงลง พอสว. บ้างจัง ขอบคุณนะคะ

ขอบคุณคะ แต่ครั้งสุดท้ายเกือบสามปีมาแล้ว เลือนลางเต็มที เพราะไปแบบสั้นๆ ไม่ได้สัมผัสลึกซึ้งเหมือนอาสาสมัครที่ลงพื้นที่นานๆ แบบคุณ poo คะ...ทึ่งในความหลากหลายคนๆ นี้จัง :-) 

บ้านปางฝาง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ปี 2552 

 

 

ตอนนี้ก็กำลังใช้วิจารณาญาณและความรู้ที่มีมาในการเลือกวิธีการรักษาตัวเองเช่นกันค่ะคุณหมอ

ขอบคุณที่แบ่งปันเช่นกันคะ
บันทึกคุณยุพา เล่าถึงรายละเอียด ความรู้สึก ความคิด ในการตัดสินใจ เลือกรักษา จากประสบการณ์ตรงของตัวเอง..น่าติดตามอย่างยิ่ง

  • การจำแนกและจัดกลุ่มอย่างที่เรามีความรู้และมีวิธีคิดที่ลงตัวพอจะใช้เป็นเกณฑ์ได้แล้วนั้น ก็คงจะใช้กับความรู้และการปฏิบัติสำหรับเรื่องที่พอแก้ปัญหาทั่วๆไปหรือเปล่านะครับ
  • แต่ถ้าหากเป็นเรื่องที่ได้รับความสำคัญมากในชีวิตของแต่ละคน และถ้าหากเป็นเรื่องของส่วนรวมที่ต้องอยู่ด้วยกันกับผู้อื่นของเรา ที่ต้องการความลงตัวให้กับทุกคน-ทุกความหลากหลายได้อยู่เสมอละก็ อาจจะต้องคิดไว้ก่อนว่าเครื่องมือและวิธีการชั่งตวงวัดต่างๆเท่าที่มีอยู่ รวมทั้งมุมมองและความรู้ที่มีให้ใช้นั้น ไม่พอที่จะใช้เข้าใจและใช้ชี้นำการคิด-ปฏิบัติ
  • ดังนั้น กระบวนการที่เลยไปกว่านำเอากรอบและเกณฑ์มาใช้จำแนก ที่ไม่ได้ใช้และเป็นขั้นที่วางทิ้งไว้เมื่อเราใช้สูตรสำเร็จมาจัดวางลงในเรื่องต่างๆ ก็อาจจะต้องเป็นสิ่งที่ต้องทำและสร้างขึ้นใหม่ให้ลงตัวและจำเพาะเจาะจง
  • เป็นประเด็นที่ผมเองก็เเพิ่งจะได้ลองแตะๆและยกพอเป็นตัวอย่าง เพื่อชวนเข้าไปสังเกตและเล่นกับโลกทรรศน์ต่อสิ่งต่างๆของเรา กับกลุ่มเวิร์คช็อปเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาพอดีครับ ผมชอบผู้เข้าประชุมดูแก้วน้ำ และโยงไปถึงขวดน้ำปลา เพื่อท้าทายให้สรุปให้แน่สักอย่างว่า ขวดและวัตถุดิบที่เป็นแก้วแบบเดียวกันและเท่าๆกัน บางทีก็เป็นขวดน้ำปลา บางทีก็เป็นแก้วน้ำ บางทีก็เป็นขวดยา กระทั่งบางทีก็เป็นขยะ ขวดเปล่าที่ไร้ประโยชน์
  • คำถามก็คือว่า ขวดน้ำปลา แก้วน้ำ หรืออื่นๆที่ผมยกตัวอย่าง นั้น เป็นสิ่งนั้นเพราะอะไรใน Nominal Scale ดังตัวอย่างเหล่านี้ (๑) วัตถุดิบอย่างที่เป็นของมันเอง คือ แก้ว (๒) จะเป็นและเรียกว่าอะไรก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่อยู่ข้างไหน คือ น้ำ น้ำปลา ยาน้ำ  อากาศความว่างเปล่า ฯลฯ (๓) อยู่ที่ฟอร์มของมัน คือ แก้ว ขวด ถ้วย เหยือก  (๔) การบริโภคของมนุษย์ มีของที่รู้จักและบริโภคได้อย่างไรอยู่ในนั้น ก็ให้ความสนใจที่จะให้ความหมายและคุณค่าอย่างที่อยากให้เป็นตามสังคมและวัฒนธรรมนั้นๆ ชาวบ้านยากจนเลยสามารถเรียกน้ำปลาทิพรสเป็นน้ำปลาวิเศษ คลุกกินกับน้ำตาลเหรือปลาป่นแล้วได้ขึ้นสวรรค์ ในขณะที่สังคมที่ไม่กินน้ำปลาและของเค็มมองว่าเป็นสิ่งมีพิษ เป็นโทษ กระทั่งอาจเป็นลูกแอปเปิ้ลที่อาดามกับอีฟไม่ควรเข้าใกล้ (๕) ขึ้นอยู่กับความรู้และวิธีรับรู้ที่สามารถสร้างขึ้นมาใช้ของมนุษย์ รู้จักเลยจำแนกได้ ไม่รู้จักเลยมองไม่เห็น เข้าถึงไม่ได้ (๖) อยู่ที่การพัฒนาด้านในของมนุษย์ ระดับต้องการอยู่รอดและจัดการกับปฏิกริยาสนองตอบต่อแรงกระตุ้น ก็เห็นอีกความหมายหนึ่ง พออิ่มตัวกับบางมิติ สิ่งที่เคยมีความหมายต่อสิ่งนั้นก็หายไป และสามารถเห็นและได้รับรู้คุณค่าและความหมายที่ไม่เคยเห็น อีกทั้งคนอื่นก็ไม่สามารถเข้าถึงได้อย่างที่ตนเองเกิดประสบการณ์(จำเพาะตน)ต่อสิ่งนั้น และ...ฯลฯ
  • พอดีคุยเรื่องนี้เพราะมีสมาชิกท่านหนึ่งชวน เกิดแรงบันดาลใจคุยเรื่อง Zero-Waste ให้เวทีฟังน่ะครับ
  • อยากชวนแวะไปดูเรื่องนี้ครับ แง่มุมอย่างที่อาจารย์หมอ CMUpal และอาจารย์หมอสกลชวนคุยนี่ บางประเด็นที่ผมเห็นนี่ ต้องตั้งคำถามระดับนี้เลยละครับ คือ นอกจากความรู้และวิธีปฏิบัติที่พอทำได้อยู่นั้นอาจจะไม่พอดีแล้ว บางเรื่องเราก็อาจจะต้องสร้างขึ้นจากศูนย์และกล่อมเกลา บ่มสร้างขึ้นมาได้อีก ให้สิ่งต่างๆลงตัว และมีสุขภาวะ อยู่ไปด้วยกันได้อยู่เสมอ หลายเรื่องในชีวิตประจำวันของปัจจุบันนี้ ต้องสามารถคิดและทำอย่างนี้ได้จริงๆครับ ...  http://www.gotoknow.org/blog/wiratkmsr-art/379917

ขอบคุณท่านอาจารย์วิรัตน์คะ ที่ต่อยอดความคิดประเด็นที่คาใจอยู่เช่นกันคะ :-)
ได้อ่าน และพิมพ์บทความที่อาจารย์แนะนำไว้มาค่อยๆ อ่านคะ ยอมรับว่าเรื่องราวที่อาจารย์เขียน มีความลึกซึ้ง ต้องค่อยๆ อ่าน ค่อยๆ ปะติดปะต่อ 
ที่ชอบมากคือ อาจารย์ได้อธิบาย "element ของศิลปะ" ทำให้คนไม่มีพื้นฐานการดูงานศิลปะเลย คิดตามไปด้วยได้
..
เมื่อเฝ้ามองจิตตัวเอง ขณะทำความเข้าใจ ลองดูว่า "Mind model" ตัวเองทำงานอย่างไร 
ก็พบว่า วาดภาพออกมาแบบนี้คะ
สิ่งที่เป็น รูปธรรม คือ "ขวดน้ำปลา"  เหมือนดังสี่เหลี่ยมที่ห่อหุ้มอยู่  -> เป็น context ทำให้เกิด connect กับตัวเองได้ทันที ฐานะคนไทยกินน้ำปลาคนหนึ่ง :-)
แกนในคือ นามธรรม (อาจเป็นสัจธรรม) ว่า คุณค่าสิ่งของ เกิดจากรับรู้ภายในของมนุษย์ ->  เป็น concept/element ทำให้เกิด  ความเข้าใจ/insight เพราะอาจารย์อธิบายไว้  
นามธรรมที่เป็น element นี้ยังเป็นตัวเชื่อมไปยัง รูปธรรม อื่นๆ ที่มี element ร่วมกัน ไม่ว่าจะ ตึกร้าง ขยะอื่นๆ
ยิ่งเมื่อนำประสบการณ์จริงเจอกับตัวเองมาเติม คือ ไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการแยกขยะ ของหอพักตัวเอง  ทำให้ความเข้าใจ "แน่นขึ้น" 
เมื่อแน่น และนิ่งขึ้น  สักพัก ก็เกิดความคิดใหม่ ด้วยการเชื่อมของ element นั่นคือ
"แก้ที่เหตุภายใน คือสร้างแรงบวกที่ตอบสนองต่อแรงกระตุ้น/motivation มาสู้กับ แรงแห่งการอยู่รอด "
แต่ รูปธรรม ที่สามารถ connect กับคนในวงกว้าง อาจไม่พอดีกับทุกคนแต่ "พอรับไหว" กับคนส่วนใหญ่ ยังมองเห็นไม่ชัดคะ เพราะมนุษย์แต่ละคน แต่ละสังคมมีความหลากหลาย เป็นสิ่งท้าทายต่อไป..
...
หลังจากทำการบ้าน ที่อาจารย์กรุณาให้ไว้ เกิดข้อคิดเห็นคะ คือ
1. การแก้ปัญหา โดยเริ่มจากศูนย์และกล่อมเกลา อาจต้องการค้นว่า element/common ground ของปัญหาที่เกิดขึ้นจริงนั้นอะไร
2.เรามี mind model ในการเชื่อมโยงเพื่อสร้างความเข้าใจ และตัดสินคุณค่า เป็นของตนเอง  ซึ่งบางทีเราก็ไม่รู้ตัวว่ามันซับซ้อน ยากที่โครงสร้างนี้จะปรับภายในข้ามวัน
3. ได้เข้าใจตัวเอง ว่า หนังสือที่อ่านแล้วชอบ มักเป็นแนว story (what) ที่เราสัมผัสได้ในชีวิตจริง พอจะจินตนาการตัวเองเป็นนางเอกได้ + insight (why) ชี้แนะให้เราเข้าใจเบื้องหลังพฤติกรรมตัวเองและผู้อื่นมากขึ้นคะ 

 

  • สนุกครับ เป็นกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบที่เป็นตัวของตัวเองดีจังเลยครับ
  • ผมก็ชอบคุยกับข้างในตนเองอยู่เสมอในรูปของการภาวนา ซึ่งก็เข้าใจว่าไม่จำเป็นต้องทำอย่างนี้ในทุกกรณี และคนอื่นๆก็คงไม่จำเป็นต้องทำอย่างนี้ แค่คิดจำเพาะงานในมือ คิดที่จะกินจะอยู่ ก็เมื่อยชีวิตมากแล้ว
  • ผมเองนั้น กระบวนการอย่างนี้ ก็ไม่ได้เป็นไปเองหรอกครับ แต่เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝนตนเองให้เป็นไปตามเหตุปัจจัย ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง และแย่บ้าง ปะปนกันไป แต่ไม่หยุดทำ โดยตระหนักว่า เรื่องต่างๆนั้น จำเป็นมากที่ต้องกำหนดรู้ด้วยความรู้ การเรียนรู้อย่างใคร่ครวญ และการเจริญสติปัญญา ที่ต้องทำให้แยบคายและงอกงามไปได้ด้วยอยู่เสมอ อีกทั้ง การทำงานส่วนรวมและมีแนวโน้มส่วนตัวว่ามีความสุขที่มีชีวิตทุกมิติไปกับผู้คนนั้น จำเป็นมากที่ต้องคิดให้ถึงทั้งหมดไปด้วยอยู่เสมอๆ เพื่อสะท้อนลงไปบนสิ่งที่ตนเองทำและดำเนินชีวิต เข้าใจว่าอจารย์หมอ CMUpal ก็เป็นส่วนหนึ่งของผู้ที่คิดไปทางนี้
  • เรื่องนี้ผมก็ได้คุยกับเวิร์คช็อปของคณาจารย์และพยาบาลภาควิชากุมารฯศิริราชเมื่อเร็วๆนี้ครับ โดยผมยกตัวอย่างกรณีเรื่องราวของเมาคลีลูกหมาป่า เพื่อชวนเวทีคุยกันเรื่อง คน มนุษย์ ปัจเจก บุคคล และตัวตนความเป็นส่วนรวม เพื่อที่จะ Connect ไปสู่ขวดน้ำปลาและน้ำปลาแบบต่างๆ ที่เวทีอยากถักทอจินตภาพให้มีกันและกันอยู่ในใจ
  • เมาคลี เกิดเป็นลูกคนแต่พลัดจากพ่อแม่ไปอยู่กับฝูงหมาป่า กระทั่งเจริญเติบโตและเป็นเจ้าป่า น้ำปลาตัวที่ Connect ให้เมาคลีเป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์โฮโมซาเปียน ซึ่งก็เป็นขวดและภาชนะอย่างหนึ่งนั้น ก็คือ ปัจจัยทางชีววิทยาและการเกิด ได้เป็นมนุษย์โฮโมซาเปียนเพราะเป็นลูกคนผ่านการเกิด ซึ่งก็เป็นวิธีคิด ความเป็นจริง และความรู้ชุดหนึ่ง
  • แต่ไม่ว่าจะเติบโตและอยู่ในสภาพแวดล้อมอย่างไร เมาคลีก็ไม่สามารถเป็น คน : a man เพราะเมาคลีใส่น้ำปลาให้ตนเอง ซึ่งก็คือ เรียนรู้และรับรู้ว่าตนเองเป็นสุนัข และเป็นสมบัติของฝูงพ่อแม่เหล่าหมาป่า กับหมู่สัตว์ในป่า เมื่อไหร่ที่คนไปเห็นกายภาพของเมาคลี ต่างก็บอกว่าเมาคลีเป็นมนุษย์
  • แต่ความเป็นมนุษย์ก็ไม่ใช่เรื่องของเมาคลี ทว่า เป็นการใส่น้ำปลาจากโลกทรรศน์ของคนอื่น เมาคลีไม่รู้จักมนุษย์ เพราะไม่มีความรู้และวิธีคิดเพื่อทำความรู้จัก แสดงว่ามีหลายอย่างต้องสร้างขึ้น และต้นบริบทอย่างหนึ่งก็คือ บาทฐานแห่งสติ จิตใจ วิธีคิด ความรู้ และระบบสะท้อนเชื่อมโยงไปสู่วิถีปฏิบัติในขอบเขตต่างๆ ที่จะได้นำมาใช้
  • ดังนั้น การเป็นคน จึงไม่ใช่การได้หรือการ Connect ได้เองอย่างอัตโนมัติด้วยการเกิดหรืออย่างลอยๆ แต่ตัวที่ Connect คือ กระบวนการเรียนรู้ตนเอง ซึ่งก็สร้างเองหรือ Connect หรือใส่น้ำปลาด้วยตนเองคนเดียวไม่ได้  ต้องร่วมสร้างไปกับฝูงของหมาป่า หรือหมู่คณะของคนด้วยกัน
  • แต่การเป็นปัจเจกนี่ ต้อง Connect และใส่น้ำปลาให้ตนเอง จำเป็นต้องทำเอง เพราะเป็นด้านที่เป็นตนเองและในนามของตัวเอง จะเป็นเมาคลีลูกสุนัขหรือไม่ลูกคนก็ไม่เกี่ยวเช่นกัน
  • ส่วนการเป็นบุคคลนั้น ต้อง Connect ผ่านการปฏิสัมพันธ์กับผู้คนและสังคมรอบข้าง เพราะเป็นด้านที่ผู้คน คนอื่น ระบบ และสังคมรอบข้าง เขาใส่น้ำปลาชนิดนี้ให้ กระบวนการทางการศึกษาเขาใส่น้ำปลาคุณหมอกับอาจารย์แพทย์ และใส่น้ำปลาอาจารย์มหาวิทยาลัยให้ในขวดของอาจารย์และขวดผม บางคนก็ใส่น้ำปลาให้ผมเป็นขวดมือวาดการ์ตูน แม่ผมใส่น้ำปลาในขวดผม ให้ผมเป็นลูก
  • การเป็นสมาชิกของกลุ่มก้อนและองค์กร เช่น เป็นนิติบุคคล (ซึ่งไม่ใช่มิติที่เป็นคน ทว่า เป็นสิทธิหน้าที่เพื่อเป็นคนรับผิดชอบต่อเรื่องต่างๆที่สังคมตกลงกัน หรือใส่น้ำปลาให้ Connect ต่อด้านนี้) เป็นเพื่อนของกลุ่มเพื่อน เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร เหล่านี้ ต้อง Connect และใส่น้ำปลาชนิดนี้ ทั้งด้วยการเรียนรู้ตนเอง เรียนรู้ความคาดหวังของระบบที่สร้างน้ำปลาใส่ขวดเรา และเรียนรู้ปทัสถานของสังคมในการจัดความสมดุลพรมแดนความเป็นส่วนตนกับความเป็นส่วนรวม ในกาลเทศะต่างๆให้เหมาะสม
  • คุณหมอวาดรูปสื่อความคิดได้ดีจังเลยครับ ขอชมอย่างจริงใจ เมื่อตอนที่ผมทำเวิร์คช็อปให้กับภาควิชากุมารฯศิริราชนั้น ต้องแอบกระซิบในภายหลังตอนนี้เลยว่า ผมขำตนเองและคิดว่าได้เลือกกระบวนการที่คิดว่าเหมาะที่สุดกับเรื่องที่เวทีต้องการ พลาดไปอย่างจัง คือ อยากพาทั้งเวทีมีวิธีทำงานและคิดเป็นข้อมูลภาพ เลยใช้วิธีวาดรูปอย่างง่ายที่สุด โดยมีกระดาษอย่างดีแผ่นใหญ่และสีปาสเตลอย่างดี ชนิดที่ในยุคที่ผมเรียนศิลปะก็ไม่มีโอกาสได้ใช้เลยเชียว คิดว่าคณะผู้เข้าประชุมจะได้ประสบการณ์ตรงจากการลงมือ เพื่อเป็นข้อมูลและวัตถุดิบ หรือได้ประสบการณ์ทางสังคมสมมติ เพื่อใช้พาเดินเข้าสู่กระบวนการคิดงาน ต่อไปอีกหลายๆขั้นตอน
  • แต่ปรากฏว่า มากกว่าครึ่งหนึ่ง มักไม่กล้าใช้กระดาษทั้งแผ่นอย่างเต็มที่ กลับเลือกตามมุมเล็กๆมุมใดมุมหนึ่ง แล้วก็เขียนด้วยปากกาและดินสอ เส้นเบาๆ เล็กๆ เหมือนสมุดจดการบรรยายและทำบันทึกส่วนตัวแบบประหยัดกระดาษ ดูไปก็ขำ แต่ก็เป็นเรื่องที่ปรับแต่งกระบวนการได้ไม่ให้เป็นปัญหา เพราะไม่ใช่จุดหมายของกระบวนการ เป็นเพียงวิธีการและทางเดินไปสู่จุดหมายอย่างอื่น  ก็ทำให้ได้การเรียนรู้ในเชิงการจัดกระบวนการที่พอดี-พอดี ไปด้วยอยู่เสมอครับ

อาจารย์ตอบได้อ่านจุใจและกรุณาอธิบายอย่างแยบยล
ช่วยเปิดกะลาให้กบตัวนี้โดยแท้คะ :-)

มนุษย์ (Homosepian) กับ คน (Man)

เมาคลี มีกายภาพภายนอก ที่คนเห็น "ใส่น้ำปลา" ให้ว่าเป็นมนุษย์ (Homosepian)

แต่ น้ำปลา ที่เมาคลีเห็นภายใน เป็นหมาป่า ..เมาคลี เลยไม่สามารถเป็นคน (Man)

เคยอ่านเรื่อง Multiple intelligences ของโฮวาร์ด การด์เนอร์ มี "ความฉลาด" กลุ่มนึงชื่อ Spatial intelligence ว่าด้วย "การสามารถเห็น="ช่องว่าง/ประโยชน์ของช่องว่าง space"= ซึ่งผมว่าน่าสนใจมาก

อาทิ เฟอร์นิเจอร์ทุกชนิด ของใช้ บ้าน ตึก ฯลฯ ในขณะที่เราอาจจะชื่นชม หลงใหล ชมชอบรูปลักษณ์ของสิ่งเหล่านี้ แต่ function ที่แท้จริงอยู่ที่ "ช่องว่าง" ของสิ่งเหล่านี้ที่มีอยู่ ได้แก่ เราวางของ ทำงาน "บน" โต๊ะ นั่ง "บน" เก้าอี้ อาศัย "ใน" บ้าน (ไม่ได้อยู่ในกำแพง แต่อยู่ใน space)

สำหรับคนก็มี space ที่ว่านี้ใน function หลายๆประการ รวมทั้งการสื่อสารและพฤติกรรมอีกหลายๆอย่าง น่าเสียดายที่เรามองไม่ค่อยเห็น space เห็นแต่วัตถุ ตัวบุคคล

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ being นั้นเป็น closed system ในการ "กำหนด" หมายความว่า ช้างเป็นช้าง มดเป็นมด คนเป็นคน จะเพียงพอในการกำหนด ก็ใน "ถุงผิวหนัง รูปร่าง" เหล่านี้ก็พอ ไม่ต้องอาศัยอะไรภายนอกเพื่อที่จะ "เป็น"

แต่ Living นั้นต้องเป็น open thermodynamic system นั่นคือ ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดอยู่ได้ด้วยตนเอง ต้องมีการแลกเปลี่ยนระหว่างภายในกับนอกระบบ (นอกขอบเขตของร่าง) เสมอ เป็น must และเป็น absolute condition

ในการเยียวยาผู้คน เรากำลังทำให้เขาอยู่ในตัวเขา โดยการทำงานแบบ open thermodynamic ซึ่งจะมี "ขอบเขต" หรือ "ด่านหน้า frontier" เกิดขึ้น การทำงานตรงขอบเขตนี้ที่สำคัญมากๆ และละเอียดอ่อน สามารถมีอะไรต่อมิอะไรเกิดขึ้นมากมาย จนถ้าเราทำให้เกิด oversimplification ขึ้น เราอาจจะตกใจกับผลที่ไม่พึงประสงค์เพราะความรู้ไม่เท่า มองไม่เห็น ของเราเอง 

  • ถูกใจมากค่ะ ใช้วิจารณญาณในสิ่งที่ได้อ่านได้ฟังมา โดยทดสอบให้เห็นด้วยตาตัวเองด้วย เป็นข้อเตือนใจที่ดีมากค่ะ เห็นผลทันตา
  • ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณคะอาจารย์สกล ให้เกียรติร่วมวงสุนทรียสนทนา :-)

พอเข้าใจ ความแตกต่างระหว่าง living กับ being มากขึ้นคะ

แต่ยังไม่เข้าใจนักคะตรง

การทำงานแบบ open thermodynamic ซึ่งจะมี "ขอบเขต" หรือ "ด่านหน้า frontier" เกิดขึ้น การทำงานตรงขอบเขตนี้ที่สำคัญมากๆ และละเอียดอ่อน สามารถมีอะไรต่อมิอะไรเกิดขึ้นมากมาย 

อาจารย์พอจะยกตัวอย่างในชีวิตจริง ให้กบน้อย :-} นี้เห็นภาพได้ไหมคะ

สวัสดีคะ  กระบวนการ "รู้ตัวเพื่อพัฒนาจิต" จึงสำคัญ

เพราะการทดสอบกับตัวเองอันตรายหากรับรู้สิ่งที่เกิดกับตัวเองคะ

 

  • แยบยลและลึกซึ้ง
  • ชื่นชมค่ะคุณหมอ

ในโลกนี้ ไม่มีใครบอกกันได้ทุกเรื่อง..วิจารณญาณจึงเป็นเพื่อนที่ซื่อตรงที่สุด

กบในกะลาอย่างผม(ยืมกบคุณหมอมาใช้) เห็นด้วยก็ประโยคนี้ เพราะบทความก่อนหน้าสัก 99 percentile (อันนี้ก็ยืมคุณหมอ) เห็นจะได้ กบในกะลาอย่างผมไม่กระดิกรับรู้อะไรเลย แต่ผมเห็นด้วยกับทั้งหมด ของบทความที่คุณหมออุตส่าห์ ลองหลับตานึกภาพเปรียบเคียงต้นไม้(ต้นอะไรซักอย่าง) กับหน้าที่จริง

คุณเขียบเป็นผู้รู้แล้วละคะ ว่าไม่มีใครรู้ไปทุกอย่าง
เป็นเหมือนกันคะ บางเรื่องก็ไม่กระดิกเลย 
เช่น เรื่องกฎหมายการปกครอง เครื่องยนต์กลไก ..ทำตาปริบๆ :-)

สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ

ชอบค่ะ อ่านแล้วคิดถึงประโยคที่ว่าคนแต่ละคนตอบสนองต่อยาไม่เหมือนกัน ลึกซึ้ง ซับซ้อนเหมือนกันนะค่ะ

นี่คือความซับซ้อนของวิทยาศาสตร์สุขภาพเลยคะ

เวลาผลวิจัยยาออกมา ว่าทำให้ความดันลด มากกว่าอีกตัว 2 mm.Hg  ก็ขายยาได้แล้ว

แต่เวลาคนไข้มา BP 140 กับ 142 mm.Hg เราแทบไม่เห็นความต่าง 

นับครั้งไม่ถ้วนที่ปลอบประโลม เมื่อ LDL 100 ขึ้นมา 105 

เป็นเช่นนั้นจริงคะ :-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท